น่าน - ระดมตัวแทนหน่วยงานทั่วจังหวัดน่าน เตรียมพร้อมรับมือธรณีพิบัติ ดินถล่ม หลุมยุบ และรอยแยกของแผ่นดิน เผยเมืองน่านมีจุดเสี่ยง 15 อำเภอ 70 ตำบล 403 หมู่บ้าน
วันนี้ (26 พ.ค.) นายเกรียงศักดิ์ เจดีย์แปง ประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน กล่าวว่า น่านเป็นอีกจังหวัดที่มีปัญหาดินถล่ม หลุมยุบ และรอยแยกของแผ่นดิน ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง และประกอบไปด้วยหินแกรนิต หินภูเขาไฟ หินทราย และหินโคลน ทำให้มีพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม กระจายตัวครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัดใน 15 อำเภอ 70 ตำบล 403 หมู่บ้าน โดยเฉพาะใน ต.บ่อเกลือใต้ ต.ดงพญา ต.บ่อเกลือเหนือ อ.บ่อเกลือ ต.ขุนน่าน ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นพื้นที่ภูเขาสูง และมีความเสี่ยงดินถล่มเมื่อมีฝนตกหนัก
ทั้งนี้ วิกฤตที่เกิดขึ้นมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติมีหลากหลายรูปแบบ มักพบอยู่ในท้องถิ่นที่อยู่ตามที่ลาดเชิงเขา ดินถล่มหรือโคลนถล่มมักเกิดขึ้นในช่วงที่มีฝนตกหนัก และน้ำที่ไหลมาจากภูเขา พัดพาเอาดินโคลนมารวมกันไว้มากๆ และเมื่อถึงระดับหนึ่งบริเวณที่รองรับทนน้ำไม่ไหว เกิดการถล่มสร้างความเสียหายให้กับชีวิตทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่จำนวนมาก
ดังนั้น สำนักงานจึงได้ระดมตัวแทนจากหน่วยงานด้านประชาสัมพันธ์ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชนและสื่อมวลชน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แกนนำชุมชน เครือข่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งเครือข่ายด้านการประชาสัมพันธ์ภัยพิบัติในพื้นที่เสี่ยงภัย เข้าร่วมรับฟังการบรรยายให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดินถล่ม หลุมยุบ และรอยแยกของแผ่นดินไหวใน จ.น่าน แนวทางการปฏิบัติและการจัดทำแนวทางป้องกันพื้นที่ประสบภัย เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานภาครัฐให้แก่ประชาชน รวมถึงแนวทางปฏิบัติในการเตรียมความพร้อม ตลอดจนเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เครือข่ายประชาสัมพันธ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการเตรียมความพร้อมกับมือกับธรณีพิบัติภัยต่อไป
วันนี้ (26 พ.ค.) นายเกรียงศักดิ์ เจดีย์แปง ประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน กล่าวว่า น่านเป็นอีกจังหวัดที่มีปัญหาดินถล่ม หลุมยุบ และรอยแยกของแผ่นดิน ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง และประกอบไปด้วยหินแกรนิต หินภูเขาไฟ หินทราย และหินโคลน ทำให้มีพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม กระจายตัวครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัดใน 15 อำเภอ 70 ตำบล 403 หมู่บ้าน โดยเฉพาะใน ต.บ่อเกลือใต้ ต.ดงพญา ต.บ่อเกลือเหนือ อ.บ่อเกลือ ต.ขุนน่าน ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นพื้นที่ภูเขาสูง และมีความเสี่ยงดินถล่มเมื่อมีฝนตกหนัก
ทั้งนี้ วิกฤตที่เกิดขึ้นมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติมีหลากหลายรูปแบบ มักพบอยู่ในท้องถิ่นที่อยู่ตามที่ลาดเชิงเขา ดินถล่มหรือโคลนถล่มมักเกิดขึ้นในช่วงที่มีฝนตกหนัก และน้ำที่ไหลมาจากภูเขา พัดพาเอาดินโคลนมารวมกันไว้มากๆ และเมื่อถึงระดับหนึ่งบริเวณที่รองรับทนน้ำไม่ไหว เกิดการถล่มสร้างความเสียหายให้กับชีวิตทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่จำนวนมาก
ดังนั้น สำนักงานจึงได้ระดมตัวแทนจากหน่วยงานด้านประชาสัมพันธ์ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชนและสื่อมวลชน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แกนนำชุมชน เครือข่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งเครือข่ายด้านการประชาสัมพันธ์ภัยพิบัติในพื้นที่เสี่ยงภัย เข้าร่วมรับฟังการบรรยายให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดินถล่ม หลุมยุบ และรอยแยกของแผ่นดินไหวใน จ.น่าน แนวทางการปฏิบัติและการจัดทำแนวทางป้องกันพื้นที่ประสบภัย เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานภาครัฐให้แก่ประชาชน รวมถึงแนวทางปฏิบัติในการเตรียมความพร้อม ตลอดจนเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เครือข่ายประชาสัมพันธ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการเตรียมความพร้อมกับมือกับธรณีพิบัติภัยต่อไป