ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - กรรมการที่ปรึกษาอุทยานดอยสุเทพ-ปุย ลงมติดีเดย์เคลียร์แผงลอย-ที่จอดรถหน้าวัดพระธาตุดอยสุเทพ หลังวันวิสาขบูชานี้ ก่อนของบรัฐ 100 ล้าน สร้างข่วงพระเจ้ากือนา-ลานค้าใหม่ พร้อมเดินหน้าจับพิกัด ดำเนินคดีคนรุกป่า
วันนี้ (10 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกมลไชย คชชา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวานนี้ (9 พ.ค.) เพื่อติดตามความคืบหน้าการจัดระเบียบร้านค้าแผงลอย และการจอดรถ หลังจากประชุมหาแนวทางแก้ปัญหาไปแล้วเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2555 เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมถึงติดตามความคืบหน้าการตรวจพิสูจน์การถือครองที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
สำหรับแก้ปัญหาร้านค้าแผงลอยหน้าวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร คณะทำงานมีมติแก้ปัญหาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นกำหนดสถานที่จอดรถให้รถยนต์สาธารณะ และรถยนต์ส่วนบุคคล โดยรถทุกคันเมื่อส่งผู้โดยสารแล้วให้นำรถไปจอดบริเวณที่จอดรถด้านล่าง มีการกำหนดจุดห้ามจอดรถ (ขาว-แดง) ที่จอดรถชั่วคราวเพื่อส่งผู้โดยสารลง (ขาว-เหลือง) โดยเทศบาลตำบลสุเทพเป็นผู้สนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ทาสี รวมทั้งกำหนดมาตรการดำเนินการกับรถที่ฝ่าฝืนจอดรถในที่ห้ามจอด จอดรถซ้อนคัน ทำให้การจราจรติดขัด เช่น การออกใบสั่ง การล็อกรถ, แก้ไขปัญหาร้านค้าแผงลอย ที่ขายของในบริเวณผิวจราจร ทางเท้า หรือเกะกะการจราจรของรถ ทางเดินของประชาชน การจัดระเบียบร้านค้าแผงลอยให้มีความสะอาด มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามตามสมควร
แต่เบื้องต้นขอใช้สถานที่เดิมไปก่อนเป็นการชั่วคราว หากอนาคตมีพื้นที่รองรับให้ร้านค้าแผงลอยไปขายของได้ ตัวแทนผู้ประกอบการร้านค้าแผงลอยแจ้งว่ายินยอมจะย้ายไปขายในจุดที่กำหนดให้ต่อไป โดยจะเริ่มดำเนินการหลังจากเสร็จสิ้นการจัดงานวิสาขบูชาแล้ว
ส่วนระยะยาวจะจัดหาสถานที่รองรับร้านค้าแผงลอยที่ขายของอยู่ในเขตรับผิดชอบของแขวงการทาง และอุทยายานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ซึ่งอยู่ริมถนนฝั่งทิศตะวันตกประมาณ 150 แผง บริเวณตีนบันไดริมถนนฝั่งทิศตะวันออก หรือตีนบันไดนาคประมาณ 30 แผง รวมทั้งเสนอโครงการก่อสร้างข่วงพระเจ้ากือนา โดยขอใช้พื้นที่ของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ประมาณ 4 ไร่ ซึ่งวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารจะเป็นเจ้าภาพในการของบประมาณจากรัฐบาลประมาณ 100 ล้านบาท
ส่วนการใช้พื้นที่ด้านล่างส่วนหนึ่งจัดเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้า เพื่อรองรับร้านค้าแผงลอยของประชาชน ที่ไม่มีสถานที่จำหน่ายสินค้า รวมทั้งมีการร่างกฎชุมชนบ้านหมู่ 9 ต.สุเทพ ใช้ควบคุมร้านค้าแผงลอย และกำหนดพื้นที่จอดรถให้เป็นระเบียบ รวมถึงมีบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนต่อไป
ขณะที่การบุกรุกบริเวณป่าเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ได้ดำเนินการตามมติที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีชมรมพารามอเตอร์จังหวัดเชียงใหม่ ได้บินสำรวจพบว่ามีการบุกรุกพื้นที่ป่าเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า จึงได้จับค่าพิกัดรอบแปลงพื้นที่การถือครอง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ของราษฎรบ้านขุนช่างเคี่ยน หมู่ 4 ต.ช้างเผือก อ.เมือง และอ.แม่ริม 604 แปลง ซึ่งได้ดำเนินคดี 4 คดี 5 แปลง เนื้อที่ 3 ไร่ 33 ตารางวา รวมทั้งติดตั้งป้ายเหล็กข้อความ “ห้ามบุกรุก” ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก นอกจากนั้นยังได้ปลูกป่า 200 ไร่ เพื่อฟื้นฟูสภาพป่า
ส่วนอัตราค่าบริการสำหรับบุคคลที่เข้าไปในอุทยานแห่งชาตินั้น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ออกประกาศผ่อนผันการกำหนดอัตราค่าบริการ โดยคงค่าบริการเดิม คือ คนไทย ผู้ใหญ่คนละ 70 บาท เด็ก 20 บาท ต่างาติ ผู้ใหญ่คนละ 100 คน เด็ก 50 บาท ขณะที่ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้บริการนำเที่ยวโดยรถจักรยานเสือภูเขา ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย กำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตไม่เกิน 20 คัน ฉบับละ 30,000 บาทต่อปี ค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 1,000 บาท อายุใบอนุญาตไม่เกิน 3 ปี
วันนี้ (10 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกมลไชย คชชา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวานนี้ (9 พ.ค.) เพื่อติดตามความคืบหน้าการจัดระเบียบร้านค้าแผงลอย และการจอดรถ หลังจากประชุมหาแนวทางแก้ปัญหาไปแล้วเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2555 เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมถึงติดตามความคืบหน้าการตรวจพิสูจน์การถือครองที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
สำหรับแก้ปัญหาร้านค้าแผงลอยหน้าวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร คณะทำงานมีมติแก้ปัญหาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นกำหนดสถานที่จอดรถให้รถยนต์สาธารณะ และรถยนต์ส่วนบุคคล โดยรถทุกคันเมื่อส่งผู้โดยสารแล้วให้นำรถไปจอดบริเวณที่จอดรถด้านล่าง มีการกำหนดจุดห้ามจอดรถ (ขาว-แดง) ที่จอดรถชั่วคราวเพื่อส่งผู้โดยสารลง (ขาว-เหลือง) โดยเทศบาลตำบลสุเทพเป็นผู้สนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ทาสี รวมทั้งกำหนดมาตรการดำเนินการกับรถที่ฝ่าฝืนจอดรถในที่ห้ามจอด จอดรถซ้อนคัน ทำให้การจราจรติดขัด เช่น การออกใบสั่ง การล็อกรถ, แก้ไขปัญหาร้านค้าแผงลอย ที่ขายของในบริเวณผิวจราจร ทางเท้า หรือเกะกะการจราจรของรถ ทางเดินของประชาชน การจัดระเบียบร้านค้าแผงลอยให้มีความสะอาด มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามตามสมควร
แต่เบื้องต้นขอใช้สถานที่เดิมไปก่อนเป็นการชั่วคราว หากอนาคตมีพื้นที่รองรับให้ร้านค้าแผงลอยไปขายของได้ ตัวแทนผู้ประกอบการร้านค้าแผงลอยแจ้งว่ายินยอมจะย้ายไปขายในจุดที่กำหนดให้ต่อไป โดยจะเริ่มดำเนินการหลังจากเสร็จสิ้นการจัดงานวิสาขบูชาแล้ว
ส่วนระยะยาวจะจัดหาสถานที่รองรับร้านค้าแผงลอยที่ขายของอยู่ในเขตรับผิดชอบของแขวงการทาง และอุทยายานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ซึ่งอยู่ริมถนนฝั่งทิศตะวันตกประมาณ 150 แผง บริเวณตีนบันไดริมถนนฝั่งทิศตะวันออก หรือตีนบันไดนาคประมาณ 30 แผง รวมทั้งเสนอโครงการก่อสร้างข่วงพระเจ้ากือนา โดยขอใช้พื้นที่ของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ประมาณ 4 ไร่ ซึ่งวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารจะเป็นเจ้าภาพในการของบประมาณจากรัฐบาลประมาณ 100 ล้านบาท
ส่วนการใช้พื้นที่ด้านล่างส่วนหนึ่งจัดเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้า เพื่อรองรับร้านค้าแผงลอยของประชาชน ที่ไม่มีสถานที่จำหน่ายสินค้า รวมทั้งมีการร่างกฎชุมชนบ้านหมู่ 9 ต.สุเทพ ใช้ควบคุมร้านค้าแผงลอย และกำหนดพื้นที่จอดรถให้เป็นระเบียบ รวมถึงมีบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนต่อไป
ขณะที่การบุกรุกบริเวณป่าเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ได้ดำเนินการตามมติที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีชมรมพารามอเตอร์จังหวัดเชียงใหม่ ได้บินสำรวจพบว่ามีการบุกรุกพื้นที่ป่าเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า จึงได้จับค่าพิกัดรอบแปลงพื้นที่การถือครอง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ของราษฎรบ้านขุนช่างเคี่ยน หมู่ 4 ต.ช้างเผือก อ.เมือง และอ.แม่ริม 604 แปลง ซึ่งได้ดำเนินคดี 4 คดี 5 แปลง เนื้อที่ 3 ไร่ 33 ตารางวา รวมทั้งติดตั้งป้ายเหล็กข้อความ “ห้ามบุกรุก” ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก นอกจากนั้นยังได้ปลูกป่า 200 ไร่ เพื่อฟื้นฟูสภาพป่า
ส่วนอัตราค่าบริการสำหรับบุคคลที่เข้าไปในอุทยานแห่งชาตินั้น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ออกประกาศผ่อนผันการกำหนดอัตราค่าบริการ โดยคงค่าบริการเดิม คือ คนไทย ผู้ใหญ่คนละ 70 บาท เด็ก 20 บาท ต่างาติ ผู้ใหญ่คนละ 100 คน เด็ก 50 บาท ขณะที่ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้บริการนำเที่ยวโดยรถจักรยานเสือภูเขา ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย กำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตไม่เกิน 20 คัน ฉบับละ 30,000 บาทต่อปี ค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 1,000 บาท อายุใบอนุญาตไม่เกิน 3 ปี