xs
xsm
sm
md
lg

รพ.ชลบุรี ร่วมกับคณะแพทย์ฯ จุฬาลงกรณ์ จัดงาน “รวมพลัง สร้างสรรค์รักษาสิทธิ์ พิชิตเหล็ก”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รพ.ชลบุรี ร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์ จัดงาน “รวมพลัง สร้างสรรค์รักษาสิทธิ์ พิชิตเหล็ก”
ศูนย์ข่าวศรีราชา-รพ.ชลบุรี ร่วมกับ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ เตรียมจัดงาน “รวมพลัง สร้างสรรค์รักษาสิทธิ์ พิชิตเหล็ก” เพื่อให้ความรู้และช่วยเหลือผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ในส่วนภูมิภาคเป็นครั้งแรก

วันนี้ ( 7 พ.ค.) นางศศิธร ปรีชาวิทย์ รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดชลบุรี โรงพยาบาลชลบุรี จัดแถลงข่าว เตรียมจัดงานรวมพลัง สร้างสรรค์ รักษาสิทธิ์พิชิตเหล็ก ในส่วนภูมิภาคเป็นครั้งแรก ณ โรงพยาบาลชลบุรี

โดยมีนายแพทย์เกศดา จันทร์สว่าง รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลชลบุรี และหัวหน้ากลุ่มงานกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลชลบุรี , ผศ.พญ.ปราณี สุจริตจันทร์ สาขาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะกรรมการบริหารมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย แห่งประเทศไทยและนางสาวชุติกร พูลทรัพย์ ประธานคณะทำงานภายใต้ชมรมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย แห่งประเทศไทย ร่วม แถลงข่าวในครั้งนี้

โครงการดังกล่าว โรงพยาบาลชลบุรีร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย แห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ชมรมโรคโลหิตจากธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทยและสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดชลบุรี ได้จัดกิจกรรมภายนอกสถานที่เป็นครั้งแรก

ทั้งนี้ เพื่อรณรงค์ให้ความรู้โรคธาลัสซีเมียกับประชาชนอย่างใกล้ชิดในลักษณะของการจัดขบวนประชาสัมพันธ์ โดยนำตัวแทนผู้ป่วยจากชมรมโรคโลหิตจางธาลัศซีเมียแห่งประเทศไทยจำนวน 20 - 30 คนเดินให้ความรู้ในพื้นที่ย่านต่างๆของกรุงเทพฯ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีและได้เริ่มการจัดในส่วนภูมิภาคเป็นปีแรก โดยจัดที่โรงพยาบาลชลบุรีเป็นโรงพยาบาลนำร่องเป็นจังหวัดแรก ในวันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2556 ณ ห้องประชุมเฉลิมราชสมบัติ ชั้น 9 อาคารเฉลิมราชสมบัติ โรงพยาบาลชลบุรี ที่จะสร้างกลุ่มเครือข่ายพื้นที่ให้ความรู้และช่วยเหลือผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่มาจากจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดตราด ปราจีนบุรี จันทบุรี และระยองอีกด้วย

นางศศิธร กล่าวว่า สำหรับการรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการและความรุนแรงของโรคผู้ที่ต้องให้เลือดเป็นประจำ หรือที่เรียกว่าโรคธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือดนั้นผู้ป่วยมักจะมีภาวะเหล็กเกินต้องให้ใช้ยาขับเหล็กควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้ในผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียแบบไม่พึ่งพาเลือด คือไม่ต้องรับการให้เลือดนั้น ก็อาจมีภาวะเหล็กเกิดขึ้นได้ จากกระบวนการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารทางสำไส้ได้เช่นกัน โดยผู้ป่วยควรได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

ส่วนการป้องกันโรคนี้ไม่ให้ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานทำได้โดยวิธีง่าย ๆคือ เข้ารับการตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยธาลัสซีเมียทางห้องปฏิบัติการ ก็สามารถทราบว่าเป็นคู่เสี่ยงในการมีบุตรเป็นโรคหรือไม่ เพราะหากคู่สมรสมียีนธาลัสซีเมียทั้งคู่ แสดงว่าเป็นคู่เสี่ยงในการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย จะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชียวชาญ เพื่อหาทางเลือกในการหลีกเลี่ยงการมีบุตรเป็นโรคดังกล่าวต่อไป
เจ้าหน้าที่ ร่วมมอบของขวัญ เพื่อเป็นกำลังใจกับเด็กที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น