ASTVผู้จัดการออนไลน์ -ซีพีเอฟ มั่นใจไก่สดไทยปลอดภัยจากเชื้อไข้หวัดนก และได้มาตรฐานการส่งออก โดยคาดว่าหลังญี่ปุ่นส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบระบบฟาร์ม และการผลิตหลายครั้ง ไทยสามารถส่งออกไก่สดแช่แข็งไปญี่ปุ่นได้เร็วๆ นี้
นายธีรศักดิ์ อุรุนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดเผยว่า จากความร่วมมืออย่างเคร่งครัดระหว่างภาครัฐและเอกชนในการควบคุมโรคระบาดไวรัสไข้หวัดนกแบบครบวงจร ตั้งแต่โรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์ม และการผลิตอาหารในประเทศ ทำให้ไก่ไทยปลอดจากเชื้อโรคดังกล่าว
ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า ญี่ปุ่นอาจจะพิจารณานำเข้าไก่สดจากประเทศไทยภายในปีนี้ โดยญี่ปุ่นได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบระบบฟาร์ม และการผลิตที่เกี่ยวข้องในไทยอย่างเข้มงวดอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจ โดยล่าสุด เจ้าหน้าที่จากญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาตรวจสอบประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และจะส่งผลการตรวจสอบมาให้กรมปศุสัตว์ในเร็วๆ นี้ ซึ่งหากผ่านการพิจารณาจะทำให้ไทยสามารถส่งออกไก่สดแช่แข็งได้ในอนาคตอันใกล้นี้
นายธีรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ซีพีเอฟ ใส่ใจและให้ความสำคัญกับคุณภาพและความปลอดภัยในทุกกระบวนการผลิต มีการควบคุมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ในทุกขั้นตอน เลี้ยงในฟาร์มระบบโรงเรือนปิดทั้ง 100% มีการควบคุมการเข้าออกอย่างเข้มงวด โดยต้องมีการฆ่าเชื้อทั้งบุคลากร และพาหนะก่อนเข้าฟาร์ม ซึ่งบริษัทดำเนินการในระบบนี้มากว่า 20 ปี
นอกจากนี้ ยังมีห้องแล็บสำหรับตรวจสอบวัตถุดิบทั้งก่อน และหลังกระบวนการผลิต ฉะนั้น ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าสินค้า และผลิตภัณฑ์ทุกตัวที่ผลิตจากซีพีเอฟปลอดภัยต่อการบริโภค 100% อย่างแน่นอน
“ทุกขั้นตอนการผลิตล้วนแล้วแต่ปลอดภัย ปลอดสาร และปลอดโรค จะเห็นได้จากการรับรองมาตรฐานสากลจากสถาบันต่างๆ ทั้งใน และต่างประเทศ เช่น GMP, HACCP, ISO9002, ISO14001, TIS18001, ISO/IEC17025, BRC รวมถึง HALAL และที่สำคัญ ซีพีเอฟ ยังเป็นบริษัทแรกนอกเขตยุโรปที่ได้รับการรับรองมาตรฐานตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ หรือ Animal Welfare โดยได้ดำเนินการตามหลักปฏิบัติขององค์การระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organization for Animal Health หรือ Office International des Epizooties หรือ OIE) ด้วยการนำระบบคอมพาร์ตเมนต์เข้ามาใช้ในระบบการเลี้ยงอย่างเคร่งครัดเต็มรูปแบบ ตั้งแต่โรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์ม โรงฟัก (ตั้งแต่พ่อแม่พันธุ์และไก่เนื้อ) ตลอดจนถึงโรงเชือด” นายธีรศักดิ์ กล่าวและว่า
ระบบคอมพาร์ตเมนต์สัตว์ปีกของ OIE ให้ความสำคัญการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพที่เชื่อมโยงภายในหน่วยงาน และสถานประกอบการอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมโรคเพื่อให้ฝูงสัตว์ปีกมีสถานะปลอดจากโรคไข้หวัดนก
โดยจะเข้มงวดการจัดใน 4 เรื่องหลัก คือ มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับสถานประกอบการ ตามหลักการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม หรือ HACCP สำหรับโรคไข้หวัดนก, การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในฟาร์มและพื้นที่กันชนในรัศมี 1 กิโลเมตรรอบฟาร์ม ตามข้อกำหนดของกรมปศุสัตว์, การควบคุมโรคไข้หวัดนกในฟาร์มและพื้นที่กันชนในรัศมี 1 กิโลเมตรรอบฟาร์ม ตามข้อกำหนดของกรมปศุสัตว์ และการตรวจสอบย้อนกลับ ทำให้สามารถติดตามข้อมูลการผลิตได้ตลอดห่วงโซ่อาหาร เริ่มจากโรงงานอาหารสัตว์ ถึงโรงงานอาหารแปรรูป
ในส่วนของภาครัฐได้ออกระเบียบในการควบคุม และตรวจสอบอย่างเข้มงวดระบบการจัดการภายในฟาร์ม โดยเฉพาะมีการเข้มงวดสูงสุดในการเคลื่อนย้ายสัตว์ ต้องแจ้งให้กรมปศุสัตว์รับทราบ และได้รับอนุญาตก่อนจึงจะสามารถเคลื่อนย้ายสัตว์ได้ รวมถึงการควบคุมระบบการเลี้ยงไก่บ้าน และไก่พื้นเมือง และเป็ดไล่ทุ่งโดยการจำกัดบริเวณการเลี้ยง และห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์อย่างเสรี ซึ่งจะต้องมีการควบคุมโดยเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวดเช่นกัน
นายธีรศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามระบบดังกล่าวจะสร้างความมั่นใจ และความพึงพอใจให้แก่คู่ค้าได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ หากญี่ปุ่นอนุญาตให้มีการนำเข้าไก่สดแช่แข็งจากประเทศไทยแล้ว จะทำให้ราคาไก่ไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น และสามารถส่งออกได้ดีขึ้น ขณะเดียวกัน จะเป็นการแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาดได้ด้วย
นายธีรศักดิ์ อุรุนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดเผยว่า จากความร่วมมืออย่างเคร่งครัดระหว่างภาครัฐและเอกชนในการควบคุมโรคระบาดไวรัสไข้หวัดนกแบบครบวงจร ตั้งแต่โรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์ม และการผลิตอาหารในประเทศ ทำให้ไก่ไทยปลอดจากเชื้อโรคดังกล่าว
ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า ญี่ปุ่นอาจจะพิจารณานำเข้าไก่สดจากประเทศไทยภายในปีนี้ โดยญี่ปุ่นได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบระบบฟาร์ม และการผลิตที่เกี่ยวข้องในไทยอย่างเข้มงวดอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจ โดยล่าสุด เจ้าหน้าที่จากญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาตรวจสอบประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และจะส่งผลการตรวจสอบมาให้กรมปศุสัตว์ในเร็วๆ นี้ ซึ่งหากผ่านการพิจารณาจะทำให้ไทยสามารถส่งออกไก่สดแช่แข็งได้ในอนาคตอันใกล้นี้
นายธีรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ซีพีเอฟ ใส่ใจและให้ความสำคัญกับคุณภาพและความปลอดภัยในทุกกระบวนการผลิต มีการควบคุมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ในทุกขั้นตอน เลี้ยงในฟาร์มระบบโรงเรือนปิดทั้ง 100% มีการควบคุมการเข้าออกอย่างเข้มงวด โดยต้องมีการฆ่าเชื้อทั้งบุคลากร และพาหนะก่อนเข้าฟาร์ม ซึ่งบริษัทดำเนินการในระบบนี้มากว่า 20 ปี
นอกจากนี้ ยังมีห้องแล็บสำหรับตรวจสอบวัตถุดิบทั้งก่อน และหลังกระบวนการผลิต ฉะนั้น ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าสินค้า และผลิตภัณฑ์ทุกตัวที่ผลิตจากซีพีเอฟปลอดภัยต่อการบริโภค 100% อย่างแน่นอน
“ทุกขั้นตอนการผลิตล้วนแล้วแต่ปลอดภัย ปลอดสาร และปลอดโรค จะเห็นได้จากการรับรองมาตรฐานสากลจากสถาบันต่างๆ ทั้งใน และต่างประเทศ เช่น GMP, HACCP, ISO9002, ISO14001, TIS18001, ISO/IEC17025, BRC รวมถึง HALAL และที่สำคัญ ซีพีเอฟ ยังเป็นบริษัทแรกนอกเขตยุโรปที่ได้รับการรับรองมาตรฐานตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ หรือ Animal Welfare โดยได้ดำเนินการตามหลักปฏิบัติขององค์การระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organization for Animal Health หรือ Office International des Epizooties หรือ OIE) ด้วยการนำระบบคอมพาร์ตเมนต์เข้ามาใช้ในระบบการเลี้ยงอย่างเคร่งครัดเต็มรูปแบบ ตั้งแต่โรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์ม โรงฟัก (ตั้งแต่พ่อแม่พันธุ์และไก่เนื้อ) ตลอดจนถึงโรงเชือด” นายธีรศักดิ์ กล่าวและว่า
ระบบคอมพาร์ตเมนต์สัตว์ปีกของ OIE ให้ความสำคัญการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพที่เชื่อมโยงภายในหน่วยงาน และสถานประกอบการอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมโรคเพื่อให้ฝูงสัตว์ปีกมีสถานะปลอดจากโรคไข้หวัดนก
โดยจะเข้มงวดการจัดใน 4 เรื่องหลัก คือ มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับสถานประกอบการ ตามหลักการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม หรือ HACCP สำหรับโรคไข้หวัดนก, การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในฟาร์มและพื้นที่กันชนในรัศมี 1 กิโลเมตรรอบฟาร์ม ตามข้อกำหนดของกรมปศุสัตว์, การควบคุมโรคไข้หวัดนกในฟาร์มและพื้นที่กันชนในรัศมี 1 กิโลเมตรรอบฟาร์ม ตามข้อกำหนดของกรมปศุสัตว์ และการตรวจสอบย้อนกลับ ทำให้สามารถติดตามข้อมูลการผลิตได้ตลอดห่วงโซ่อาหาร เริ่มจากโรงงานอาหารสัตว์ ถึงโรงงานอาหารแปรรูป
ในส่วนของภาครัฐได้ออกระเบียบในการควบคุม และตรวจสอบอย่างเข้มงวดระบบการจัดการภายในฟาร์ม โดยเฉพาะมีการเข้มงวดสูงสุดในการเคลื่อนย้ายสัตว์ ต้องแจ้งให้กรมปศุสัตว์รับทราบ และได้รับอนุญาตก่อนจึงจะสามารถเคลื่อนย้ายสัตว์ได้ รวมถึงการควบคุมระบบการเลี้ยงไก่บ้าน และไก่พื้นเมือง และเป็ดไล่ทุ่งโดยการจำกัดบริเวณการเลี้ยง และห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์อย่างเสรี ซึ่งจะต้องมีการควบคุมโดยเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวดเช่นกัน
นายธีรศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามระบบดังกล่าวจะสร้างความมั่นใจ และความพึงพอใจให้แก่คู่ค้าได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ หากญี่ปุ่นอนุญาตให้มีการนำเข้าไก่สดแช่แข็งจากประเทศไทยแล้ว จะทำให้ราคาไก่ไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น และสามารถส่งออกได้ดีขึ้น ขณะเดียวกัน จะเป็นการแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาดได้ด้วย