เชียงราย - แขวงการทางเชียงราย ตั้งโต๊ะแจงยิบโชว์ผลงานปรับปรุงถนนทั่วเมืองพ่อขุนฯ วงเงิน 5.6 พันล้าน แต่ยอมรับเส้นทางผ่ากลางเมืองรถยังติดหนึบ แถมแผนเจาะอุโมงค์-ทางยกระดับติดปัญหา ต้องรอทางเลี่ยงเมืองช่วยบรรเทาเป็นหลัก
นายจิระพงศ์ เทพพิทักษ์ ผอ.แขวงการทางเชียงรายที่ 1 ได้จัดแถลงผลการดำเนินโครงการที่ได้ทำในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทั้งที่แล้วเสร็จ และกำหนดจะแล้วเสร็จว่า มีมูลค่ารวมกันประมาณ 5,600 ล้านบาท ประกอบด้วย ถนนสาย อ.เมืองเชียงราย-อ.เชียงของ 110 กิโลเมตร โดยระยะแรก 29.9 กิโลกรัม งบประมาณ 984 ล้านบาท แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 55 ส่วนระยะที่สอง ระยะทาง 25 กิโลเมตร งบประมาณ 850 ล้านบาท กำลังหาผู้รับจ้าง ขณะที่ระยะสุดท้าย ระยะทาง 46 กิโลเมตร อยู่ระหว่างออกแบบในแผน 5 ปี
นายจิระพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับถนน 4 ช่องจราจรสายเลาะชายแดน อ.แม่สาย-เชียงแสน-เชียงของ ช่วงแม่สาย-เชียงแสน ระยะแรก 27 กิโลเมตร งบประมาณ 598 ล้านบาท แล้วเสร็จตั้งแต่เดือนกันยายน 55 และระยะที่สอง 8.9 กิโลเมตร งบประมาณ 222 ล้านบาท แล้วเสร็จเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ส่วนช่วงเชียงแสน-เชียงของ เลาะแม่น้ำโขงระยะแรก 10.022 กิโลเมตร งบประมาณ 204.98 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน 57 ระยะที่สอง 20.10 กิโลเมตร งบประมาณ 555 ล้านบาท อยู่ระหว่างหาผู้รับจ้าง และระยะสุดท้าย 21 กิโลเมตร งบประมาณ 950 ล้านบาท ได้เสนอเข้าสู่งบประมาณปี 2557
นายจิระพงศ์ กล่าวต่อว่า ด้านถนนเชื่อมจาก อ.แม่จัน-อ.เชียงแสน ระยะทาง 30.24 กิโลเมตร งบประมาณ 1,168 ล้านบาทนั้น ระยะแรก 19.20 กิโลเมตร งบประมาณ 631 ล้านบาท แล้วเสร็จไปแล้วตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย.55 ส่วนระยะที่สอง 11.04 กิโลเมตร งบประมาณ 537 ล้านบาท กำลังก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนเมษายน 56
นอกจากนี้ ในปี 2556 ยังมีโครงการที่กำลังดำเนินการอีกหลายโครงการ เช่น ฉาบผิวถนนทางขึ้นพระธาตุดอยตุง วงเงิน 9.97 ล้านบาท เริ่มดำเนินการ 15 ม.ค.-14 พ.ค.นี้ งานเสริมผิวจราจรในเขตเทศบาลนครเชียงมาบรรจบถนนพหลโยธิน วงเงิน 9.949 ล้านบาท เริมดำเนินการ 30 ม.ค.-20 พ.ค.นี้ การซ่อมผิวจราจร อ.แม่จัน-ห้วยมะหินฝน วงเงิน 9.949 ล้านบาท เริ่มดำเนินการ 30 ม.ค.-20 พ.ค.นี้ เป็นต้น
นายจิระพงศ์ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม แม้จะมีโครงการมากมายดังกล่าว แต่ปัจจุบันก็ถือว่าน้อย และเมื่อเปรียบเทียบกับการจราจรที่คับคั่งขึ้นทำให้มีแนวโน้มจะแออัดมากขึ้น ดังนั้น ตนจึงได้ประสานคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ศึกษาถนนพหลโยธินที่ผ่าใจกลางเมืองเชียงราย และกำลังเป็นปัญหาเรื่องรถติดอยู่ในขณะนี้ ช่วงตั้งแต่สี่แยกแม่กรณ์ ผ่านตัวเมืองไปจนถึงหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ระยะทาง 12 กิโลเมตร แต่มีทางกลับรถ หรือยูเทิร์นมากถึง 9 จุด และมีจุดทางแยกทั้งที่มีสัญญาณไฟจราจร และไม่มีรวมกันกว่า 20 จุด หรือเรียกได้ว่าทุกๆ 300-400 เมตรก็จะต้องหยุดรถตามจุดต่างๆ ตลอด
“หลายคนเสนอให้ขุดอุโมงค์ที่แยกสำคัญกลางเมือง แต่กรณีนี้ต้องใช้วงเงินจุดละกว่า 400-600 ล้านบาท เกรงว่าจะต้องผลักดันกันในระดับนโยบาย ขณะเดียวกัน พื้นที่ที่จะก่อสร้างก็คับแคบ เช่น ห้าแยกพ่อขุนฯ เพราะการจะสร้างอุโมงค์จะต้องมีที่ด้านข้างกว้างขวางแต่ถนนผ่านตัวเมืองเชียงรายมีแต่อาคารบ้านเรือน นอกจากนี้ แต่ละแยกบนถนนสายนี้อยู่ใกล้กันมากเมื่อทำอุโมงค์จุดใดแล้วรถที่ขับลอดอุโมงค์ก็จะไปติดในแยกถัดไป ดังนั้น การสร้างอุโมงค์จึงไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องแก้ปัญหารถติดในตัวเมืองเชียงรายแต่อย่างใด”
สำหรับการสร้างทางยกระดับนั้นตนเกรงว่าจะเกิดปัญหาเหมือนที่เชียงใหม่ ซึ่งชาวบ้านไม่ต้องการให้มีการบดบังทัศนียภาพ หรือถ้าจะปิดทางกลับรถก็จะมีประชาชนที่ใช้ประโยชน์จากทางกลับรถนั้นร้องเรียนเข้าไปอีกแน่นอน
ดังนั้น แนวทางแก้ไขก็คือ การก่อสร้างถนนเลี่ยงเมือง แต่ทั้งฝั่งตะวันตก และตะวันออกก็ยังไม่แล้วเสร็จ โดยทางเลี่ยงเมืองที่กรมทางหลวงรับผิดชอบอยู่ทางฝั่งตะวันตก ระยะทาง 18 กิโลเมตร เริ่มต้นตั้งแต่โรงเรียนอนุบาลเชียงรายทางไป อ.แม่ลาว อ้อมตัวเมืองฝั่งตะวันตกไปบรรจบกับถนนพหลโยธินพื้นที่ ต.นางแล ใช้งบประมาณ 1,300 ล้านบาท ปัจจุบัน สถานะโครงการอยู่ระหว่างออกแบบโครงการ และจะเสนอของบประมาณดำเนินการในปี 2558
ส่วนฝั่งตะวันออกนั้น กรมทางหลวงชนบทอยู่ระหว่างดำเนินการ รวมทั้งได้มีการศึกษาเรื่องถนนวงแหวนรอบนอกเอาไว้รองรับแล้ว ขั้นตอนกำลังศึกษา วางแผน แนวทางของเส้นทาง งบประมาณ ฯลฯ เมื่อแล้วเสร็จก็ต้องมีการนำแบบเสนอของบประมาณ ซึ่งอย่างเร็วที่สุดคือปี 2558
นายจิระพงศ์ เทพพิทักษ์ ผอ.แขวงการทางเชียงรายที่ 1 ได้จัดแถลงผลการดำเนินโครงการที่ได้ทำในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทั้งที่แล้วเสร็จ และกำหนดจะแล้วเสร็จว่า มีมูลค่ารวมกันประมาณ 5,600 ล้านบาท ประกอบด้วย ถนนสาย อ.เมืองเชียงราย-อ.เชียงของ 110 กิโลเมตร โดยระยะแรก 29.9 กิโลกรัม งบประมาณ 984 ล้านบาท แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 55 ส่วนระยะที่สอง ระยะทาง 25 กิโลเมตร งบประมาณ 850 ล้านบาท กำลังหาผู้รับจ้าง ขณะที่ระยะสุดท้าย ระยะทาง 46 กิโลเมตร อยู่ระหว่างออกแบบในแผน 5 ปี
นายจิระพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับถนน 4 ช่องจราจรสายเลาะชายแดน อ.แม่สาย-เชียงแสน-เชียงของ ช่วงแม่สาย-เชียงแสน ระยะแรก 27 กิโลเมตร งบประมาณ 598 ล้านบาท แล้วเสร็จตั้งแต่เดือนกันยายน 55 และระยะที่สอง 8.9 กิโลเมตร งบประมาณ 222 ล้านบาท แล้วเสร็จเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ส่วนช่วงเชียงแสน-เชียงของ เลาะแม่น้ำโขงระยะแรก 10.022 กิโลเมตร งบประมาณ 204.98 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน 57 ระยะที่สอง 20.10 กิโลเมตร งบประมาณ 555 ล้านบาท อยู่ระหว่างหาผู้รับจ้าง และระยะสุดท้าย 21 กิโลเมตร งบประมาณ 950 ล้านบาท ได้เสนอเข้าสู่งบประมาณปี 2557
นายจิระพงศ์ กล่าวต่อว่า ด้านถนนเชื่อมจาก อ.แม่จัน-อ.เชียงแสน ระยะทาง 30.24 กิโลเมตร งบประมาณ 1,168 ล้านบาทนั้น ระยะแรก 19.20 กิโลเมตร งบประมาณ 631 ล้านบาท แล้วเสร็จไปแล้วตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย.55 ส่วนระยะที่สอง 11.04 กิโลเมตร งบประมาณ 537 ล้านบาท กำลังก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนเมษายน 56
นอกจากนี้ ในปี 2556 ยังมีโครงการที่กำลังดำเนินการอีกหลายโครงการ เช่น ฉาบผิวถนนทางขึ้นพระธาตุดอยตุง วงเงิน 9.97 ล้านบาท เริ่มดำเนินการ 15 ม.ค.-14 พ.ค.นี้ งานเสริมผิวจราจรในเขตเทศบาลนครเชียงมาบรรจบถนนพหลโยธิน วงเงิน 9.949 ล้านบาท เริมดำเนินการ 30 ม.ค.-20 พ.ค.นี้ การซ่อมผิวจราจร อ.แม่จัน-ห้วยมะหินฝน วงเงิน 9.949 ล้านบาท เริ่มดำเนินการ 30 ม.ค.-20 พ.ค.นี้ เป็นต้น
นายจิระพงศ์ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม แม้จะมีโครงการมากมายดังกล่าว แต่ปัจจุบันก็ถือว่าน้อย และเมื่อเปรียบเทียบกับการจราจรที่คับคั่งขึ้นทำให้มีแนวโน้มจะแออัดมากขึ้น ดังนั้น ตนจึงได้ประสานคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ศึกษาถนนพหลโยธินที่ผ่าใจกลางเมืองเชียงราย และกำลังเป็นปัญหาเรื่องรถติดอยู่ในขณะนี้ ช่วงตั้งแต่สี่แยกแม่กรณ์ ผ่านตัวเมืองไปจนถึงหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ระยะทาง 12 กิโลเมตร แต่มีทางกลับรถ หรือยูเทิร์นมากถึง 9 จุด และมีจุดทางแยกทั้งที่มีสัญญาณไฟจราจร และไม่มีรวมกันกว่า 20 จุด หรือเรียกได้ว่าทุกๆ 300-400 เมตรก็จะต้องหยุดรถตามจุดต่างๆ ตลอด
“หลายคนเสนอให้ขุดอุโมงค์ที่แยกสำคัญกลางเมือง แต่กรณีนี้ต้องใช้วงเงินจุดละกว่า 400-600 ล้านบาท เกรงว่าจะต้องผลักดันกันในระดับนโยบาย ขณะเดียวกัน พื้นที่ที่จะก่อสร้างก็คับแคบ เช่น ห้าแยกพ่อขุนฯ เพราะการจะสร้างอุโมงค์จะต้องมีที่ด้านข้างกว้างขวางแต่ถนนผ่านตัวเมืองเชียงรายมีแต่อาคารบ้านเรือน นอกจากนี้ แต่ละแยกบนถนนสายนี้อยู่ใกล้กันมากเมื่อทำอุโมงค์จุดใดแล้วรถที่ขับลอดอุโมงค์ก็จะไปติดในแยกถัดไป ดังนั้น การสร้างอุโมงค์จึงไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องแก้ปัญหารถติดในตัวเมืองเชียงรายแต่อย่างใด”
สำหรับการสร้างทางยกระดับนั้นตนเกรงว่าจะเกิดปัญหาเหมือนที่เชียงใหม่ ซึ่งชาวบ้านไม่ต้องการให้มีการบดบังทัศนียภาพ หรือถ้าจะปิดทางกลับรถก็จะมีประชาชนที่ใช้ประโยชน์จากทางกลับรถนั้นร้องเรียนเข้าไปอีกแน่นอน
ดังนั้น แนวทางแก้ไขก็คือ การก่อสร้างถนนเลี่ยงเมือง แต่ทั้งฝั่งตะวันตก และตะวันออกก็ยังไม่แล้วเสร็จ โดยทางเลี่ยงเมืองที่กรมทางหลวงรับผิดชอบอยู่ทางฝั่งตะวันตก ระยะทาง 18 กิโลเมตร เริ่มต้นตั้งแต่โรงเรียนอนุบาลเชียงรายทางไป อ.แม่ลาว อ้อมตัวเมืองฝั่งตะวันตกไปบรรจบกับถนนพหลโยธินพื้นที่ ต.นางแล ใช้งบประมาณ 1,300 ล้านบาท ปัจจุบัน สถานะโครงการอยู่ระหว่างออกแบบโครงการ และจะเสนอของบประมาณดำเนินการในปี 2558
ส่วนฝั่งตะวันออกนั้น กรมทางหลวงชนบทอยู่ระหว่างดำเนินการ รวมทั้งได้มีการศึกษาเรื่องถนนวงแหวนรอบนอกเอาไว้รองรับแล้ว ขั้นตอนกำลังศึกษา วางแผน แนวทางของเส้นทาง งบประมาณ ฯลฯ เมื่อแล้วเสร็จก็ต้องมีการนำแบบเสนอของบประมาณ ซึ่งอย่างเร็วที่สุดคือปี 2558