ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - สคร.5 โคราชห่วงเด็กจมน้ำพุ่งช่วงปิดเทอม เตือนผู้ปกครองดูแลอย่าให้อยู่ตามลำพัง เผยแต่ละปีมีเด็กต่ำกว่า 15 ปีจมน้ำเกือบ 1,400 คน เด็กอีสานจมน้ำตายมากสุดเหตุแอบหนีไปเล่นน้ำและมักตายหมู่เหตุไม่รู้วิธีเอาตัวรอด และช่วยเหลือไม่ถูกต้อง
วันนี้ (20 มี.ค.) นพ.ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา กล่าวถึงสถานการณ์เด็กจมน้ำว่า การตกน้ำจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ในแต่ละปีมีเด็กจมน้ำมากถึงเกือบ 1,400 คน เฉลี่ยวันละ 4 คน ซึ่งในช่วงปิดเทอม คือเดือน มี.ค.-พ.ค.ของทุกปีเป็นช่วงที่มีเด็กจมน้ำมากที่สุด โดยเฉพาะในภาคอีสานช่วงเวลาที่เกิดเหตุมักเป็นช่วงเที่ยงวันจนถึงช่วงเย็นเพราะมีอากาศร้อนทำให้เด็กแอบไปเล่นน้ำ และในแต่ละครั้งเด็กมักจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันครั้งละหลายคนเนื่องจากไม่รู้วิธีเอาตัวรอด และวิธีช่วยเหลือคนจมน้ำไม่ถูกต้อง
สำหรับปี 2556 นี้ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดประเด็นรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำว่า “หนูไม่จมน้ำแน่...ถ้าพ่อแม่ป้องกัน” เพื่อเตือนพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรให้เด็กอยู่ตามลำพัง เพราะระดับน้ำเพียง 1-2 นิ้ว เด็กก็จมน้ำเสียชีวิตได้
“วิธีการช่วยเหลือเด็กที่จมน้ำที่ถูกต้องนั้น ห้ามจับเด็กที่จมน้ำอุ้มพาดบ่าหรือวางบนกระทะคว่ำเพื่อเอาน้ำออก เพราะเป็นวิธีที่ผิด และทำให้เด็กขาดอากาศหายใจนานยิ่งขึ้น ควรรีบช่วยด้วยการเป่าปากและนวดหัวใจ สำหรับแหล่งน้ำสาธารณะในหมู่บ้านชุมชนต้องมีระบบป้องกันและดูแลความปลอดภัยแก่เด็ก เช่น ป้ายเตือนอันตรายอุปกรณ์ชูชีพ ห่วงยาง เชือก เป็นต้น เพื่อช่วยเหลือเด็กหรือคนจมน้ำได้อย่างทันที” นพ.ธีรวัฒน์กล่าว
วันนี้ (20 มี.ค.) นพ.ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา กล่าวถึงสถานการณ์เด็กจมน้ำว่า การตกน้ำจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ในแต่ละปีมีเด็กจมน้ำมากถึงเกือบ 1,400 คน เฉลี่ยวันละ 4 คน ซึ่งในช่วงปิดเทอม คือเดือน มี.ค.-พ.ค.ของทุกปีเป็นช่วงที่มีเด็กจมน้ำมากที่สุด โดยเฉพาะในภาคอีสานช่วงเวลาที่เกิดเหตุมักเป็นช่วงเที่ยงวันจนถึงช่วงเย็นเพราะมีอากาศร้อนทำให้เด็กแอบไปเล่นน้ำ และในแต่ละครั้งเด็กมักจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันครั้งละหลายคนเนื่องจากไม่รู้วิธีเอาตัวรอด และวิธีช่วยเหลือคนจมน้ำไม่ถูกต้อง
สำหรับปี 2556 นี้ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดประเด็นรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำว่า “หนูไม่จมน้ำแน่...ถ้าพ่อแม่ป้องกัน” เพื่อเตือนพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรให้เด็กอยู่ตามลำพัง เพราะระดับน้ำเพียง 1-2 นิ้ว เด็กก็จมน้ำเสียชีวิตได้
“วิธีการช่วยเหลือเด็กที่จมน้ำที่ถูกต้องนั้น ห้ามจับเด็กที่จมน้ำอุ้มพาดบ่าหรือวางบนกระทะคว่ำเพื่อเอาน้ำออก เพราะเป็นวิธีที่ผิด และทำให้เด็กขาดอากาศหายใจนานยิ่งขึ้น ควรรีบช่วยด้วยการเป่าปากและนวดหัวใจ สำหรับแหล่งน้ำสาธารณะในหมู่บ้านชุมชนต้องมีระบบป้องกันและดูแลความปลอดภัยแก่เด็ก เช่น ป้ายเตือนอันตรายอุปกรณ์ชูชีพ ห่วงยาง เชือก เป็นต้น เพื่อช่วยเหลือเด็กหรือคนจมน้ำได้อย่างทันที” นพ.ธีรวัฒน์กล่าว