เปิดท็อปไฟว์อุบัติเหตุสูงสุดช่วงปิดเทอม พบ อุบัติเหตุจากมอเตอร์ไซค์พุ่งอันดับ 1 ส่วนสาเหตุการตายเกิดจากการจมน้ำมากที่สุด รวมถึงตกจากที่สูง สิ่งของล้มทับ สัตว์มีพิษกัด และไฟดูด สพฉ. ย้ำผู้ปกครองดูแลใกล้ชิด สอนวิธีเอาตัวรอด
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ช่วงเวลาปิดเทอมมักเป็นช่วงที่เด็กได้รับอุบัติเหตุจนบาดเจ็บ หรือถึงขั้นเสียชีวิตมากช่วงหนึ่ง โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุระหว่าง 1 - 14 ปี เนื่องจากเป็นวัยของการอยากรู้อยากเห็น ดังนั้น ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้ปกครอง ต้องดูแลอย่าให้คลาดสายตา และอยู่ในระยะที่มือคว้าถึงเสมอ และที่สำคัญควรสอนเด็กให้รู้จักวิธีการเอาตัวรอดต่อภัยชนิดต่างๆ เพื่อป้องกันไว้ด้วย สำหรับสถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเด็กในช่วงปิดเทอม ระหว่าง มี.ค.- เม.ย. ที่ผ่านมา พบว่า ที่น่าห่วงมี 5 เรื่อง คือ 1. อุบัติเหตุยานยนต์ เกิดขึ้นกว่า 3,520 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์ ดังนั้น ผู้ปกครองควรสวมหมวกกันน็อกให้ทุกครั้ง ซึ่งต้องได้มาตรฐานและมีขนาดเหมาะสม นอกจากนี้ ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ขับขี่รถทุกประเภทเด็ดขาด
นพ.อนุชา กล่าวว่า 2. พลัดตกหกล้มจากที่สูง หรืออุบัติเหตุสิ่งของล้มทับ เกิดขึ้นกว่า 2,155 ครั้ง ดังนั้น เมื่อเด็กอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น สนามเด็กเล็ก บ้านที่มีระเบียง บันได หรืออาคารสูง ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด และทำที่กั้นเพื่อป้องกันเด็กพลัดตกด้วย 3. สัตว์มีพิษกัด ซึ่งช่วงหน้าร้อนผู้ปกครองมักจะพาเด็กไปเที่ยวทะเล ทำให้มีความเสี่ยงที่จะถูกแมงกะพรุน เม่นทะเล หรือ สัตว์มีพิษอื่นๆ กัด โดยมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุกว่า 500 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กอายุ 2 - 8 ปี ทั้งนี้ เมื่อถูกแมงกะพรุนควรใช้น้ำส้มสายชูล้างแผล และรีบไปให้แพทย์ทำการตรวจรักษา หากหนามเม่นตำให้รีบถอนหนามออก หรือแช่แผลในน้ำร้อนเพื่อช่วยให้หนามย่อยสลายเร็วขึ้น
นพ.อนุชา กล่าวว่า 4. ตกน้ำ จมน้ำ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของเด็กไทย โดยช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา มีเด็กจมน้ำกว่า 100 ครั้ง ผู้ปกครองควรดูแลเด็กไม่ให้ไปเล่นใกล้แหล่งน้ำ หากบริเวณบ้านมีบ่อหรือตุ่มจะต้องปิดฝาไว้เสมอ ทำรั้วกั้นสระน้ำ หรือ บ่อน้ำ ที่สำคัญควรสอนให้เด็กว่ายน้ำและลอยตัวให้เป็น ห้ามกระโดดน้ำลงไปช่วยเพื่อนที่จมน้ำ แต่ควรรีบเรียกผู้ใหญ่ให้มาช่วยแทน และ 5. อุบัติเหตุจากไฟดูด ไฟช็อต เกิดขึ้น 86 ครั้ง เกิดจากเด็กนำนิ้วหรือวัตถุอื่นๆ แหย่รูปลั๊กไฟ จึงควรหาอุปกรณ์มาครอบปลั๊กไฟ ส่วนการช่วยเหลือผู้ถูกไฟดูด ไฟช็อตให้หาวัสดุที่เป็นฉนวน ผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบเหตุให้หลุดออกมา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ช่วงเวลาปิดเทอมมักเป็นช่วงที่เด็กได้รับอุบัติเหตุจนบาดเจ็บ หรือถึงขั้นเสียชีวิตมากช่วงหนึ่ง โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุระหว่าง 1 - 14 ปี เนื่องจากเป็นวัยของการอยากรู้อยากเห็น ดังนั้น ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้ปกครอง ต้องดูแลอย่าให้คลาดสายตา และอยู่ในระยะที่มือคว้าถึงเสมอ และที่สำคัญควรสอนเด็กให้รู้จักวิธีการเอาตัวรอดต่อภัยชนิดต่างๆ เพื่อป้องกันไว้ด้วย สำหรับสถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเด็กในช่วงปิดเทอม ระหว่าง มี.ค.- เม.ย. ที่ผ่านมา พบว่า ที่น่าห่วงมี 5 เรื่อง คือ 1. อุบัติเหตุยานยนต์ เกิดขึ้นกว่า 3,520 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์ ดังนั้น ผู้ปกครองควรสวมหมวกกันน็อกให้ทุกครั้ง ซึ่งต้องได้มาตรฐานและมีขนาดเหมาะสม นอกจากนี้ ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ขับขี่รถทุกประเภทเด็ดขาด
นพ.อนุชา กล่าวว่า 2. พลัดตกหกล้มจากที่สูง หรืออุบัติเหตุสิ่งของล้มทับ เกิดขึ้นกว่า 2,155 ครั้ง ดังนั้น เมื่อเด็กอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น สนามเด็กเล็ก บ้านที่มีระเบียง บันได หรืออาคารสูง ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด และทำที่กั้นเพื่อป้องกันเด็กพลัดตกด้วย 3. สัตว์มีพิษกัด ซึ่งช่วงหน้าร้อนผู้ปกครองมักจะพาเด็กไปเที่ยวทะเล ทำให้มีความเสี่ยงที่จะถูกแมงกะพรุน เม่นทะเล หรือ สัตว์มีพิษอื่นๆ กัด โดยมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุกว่า 500 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กอายุ 2 - 8 ปี ทั้งนี้ เมื่อถูกแมงกะพรุนควรใช้น้ำส้มสายชูล้างแผล และรีบไปให้แพทย์ทำการตรวจรักษา หากหนามเม่นตำให้รีบถอนหนามออก หรือแช่แผลในน้ำร้อนเพื่อช่วยให้หนามย่อยสลายเร็วขึ้น
นพ.อนุชา กล่าวว่า 4. ตกน้ำ จมน้ำ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของเด็กไทย โดยช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา มีเด็กจมน้ำกว่า 100 ครั้ง ผู้ปกครองควรดูแลเด็กไม่ให้ไปเล่นใกล้แหล่งน้ำ หากบริเวณบ้านมีบ่อหรือตุ่มจะต้องปิดฝาไว้เสมอ ทำรั้วกั้นสระน้ำ หรือ บ่อน้ำ ที่สำคัญควรสอนให้เด็กว่ายน้ำและลอยตัวให้เป็น ห้ามกระโดดน้ำลงไปช่วยเพื่อนที่จมน้ำ แต่ควรรีบเรียกผู้ใหญ่ให้มาช่วยแทน และ 5. อุบัติเหตุจากไฟดูด ไฟช็อต เกิดขึ้น 86 ครั้ง เกิดจากเด็กนำนิ้วหรือวัตถุอื่นๆ แหย่รูปลั๊กไฟ จึงควรหาอุปกรณ์มาครอบปลั๊กไฟ ส่วนการช่วยเหลือผู้ถูกไฟดูด ไฟช็อตให้หาวัสดุที่เป็นฉนวน ผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบเหตุให้หลุดออกมา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่