อุบลราชธานี - เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเผย ยกเครื่องการศึกษาระบบทวิภาคีเพิ่มทักษะการทำงานให้กับนักศึกษาเป็นมืออาชีพระหว่างเรียนก่อนจบเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพให้มีงานทำทุกคนที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษากล่าวถึงรูปแบบการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2556 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนการสอนระบบทวิภาคี ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการเรียนการสอนของอาชีวศึกษาโดยมีภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการจัดระบบการศึกษาในสถานศึกษาทั้ง 5 ภูมิภาคของประเทศโดยศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี ได้วางโมเดลจัดการศึกษาไว้ให้เลือกจำนวน 5 แบบ คือ มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่ศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนทุกสาขาวิชาเข้าฝึกอาชีพได้ตลอดการเรียน อีกรูปแบบหนึ่งคือไม่มีสถานประกอบการในพื้นที่ตั้งสถานศึกษาแต่ผู้เรียนทุกสาขาวิชาจะเข้าฝึกอาชีพในสถานประกอบการโดยมีการจัดที่พักใกล้กับสถานประกอบการที่ไปฝึกมีครูผู้สอนเป็นผู้ควบคุมดูแลใกล้ชิด หรือการจัดศึกษาทวิภาคีบางสาขาวิชา
“ซึ่งการจัดระบบศึกษาแบบนี้เพื่อให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริงในสถานประกอบการกับผู้เชี่ยวชาญก่อนจบการศึกษาออกไป จะทำให้นักศึกษามีประสบการณ์สามารถเข้าทำงานอย่างมีคุณภาพตามที่สถานประกอบการแต่ละแห่งต้องการไม่ต้องเสียเวลาไปฝึกฝนเพิ่มเติมอีก”
ดร.ชัยพฤกษ์ยังกล่าวอีกว่า สำหรับปีการศึกษาประจำปี 2556 ตั้งเป้าให้มีผู้เรียนในระบบทวิภาคีทั้งระดับ ปวช. ปวส. และปริญญาตรี ประมาณ 1 แสนคน และมั่นใจนักศึกษาที่ผ่านการเรียนการสอนในระบบนี้จะมีงานทำหลังจบการศึกษาทุกคน
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษากล่าวถึงรูปแบบการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2556 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนการสอนระบบทวิภาคี ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการเรียนการสอนของอาชีวศึกษาโดยมีภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการจัดระบบการศึกษาในสถานศึกษาทั้ง 5 ภูมิภาคของประเทศโดยศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี ได้วางโมเดลจัดการศึกษาไว้ให้เลือกจำนวน 5 แบบ คือ มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่ศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนทุกสาขาวิชาเข้าฝึกอาชีพได้ตลอดการเรียน อีกรูปแบบหนึ่งคือไม่มีสถานประกอบการในพื้นที่ตั้งสถานศึกษาแต่ผู้เรียนทุกสาขาวิชาจะเข้าฝึกอาชีพในสถานประกอบการโดยมีการจัดที่พักใกล้กับสถานประกอบการที่ไปฝึกมีครูผู้สอนเป็นผู้ควบคุมดูแลใกล้ชิด หรือการจัดศึกษาทวิภาคีบางสาขาวิชา
“ซึ่งการจัดระบบศึกษาแบบนี้เพื่อให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริงในสถานประกอบการกับผู้เชี่ยวชาญก่อนจบการศึกษาออกไป จะทำให้นักศึกษามีประสบการณ์สามารถเข้าทำงานอย่างมีคุณภาพตามที่สถานประกอบการแต่ละแห่งต้องการไม่ต้องเสียเวลาไปฝึกฝนเพิ่มเติมอีก”
ดร.ชัยพฤกษ์ยังกล่าวอีกว่า สำหรับปีการศึกษาประจำปี 2556 ตั้งเป้าให้มีผู้เรียนในระบบทวิภาคีทั้งระดับ ปวช. ปวส. และปริญญาตรี ประมาณ 1 แสนคน และมั่นใจนักศึกษาที่ผ่านการเรียนการสอนในระบบนี้จะมีงานทำหลังจบการศึกษาทุกคน