ตราด - ศูนย์อนุรักษ์ฯ ระยองออกตรวจเรือประมงทำผิดกฎหมาย พบเรืออวนลาก 30-40 ลำทำผิด แต่จับดำเนินคดีได้แค่ 3 ลำ ด้านชาวประมงเผยต้องทำกินแม้เข้าโครงการเลิกแต่งบน้อย ไม่มีความรู้
วันนี้ (19 ก.พ.) นายกฤตยชณ์ ชำนาญช่าง หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 จังหวัดระยอง และเจ้าหน้าที่รวม 5 คน นำเรือตรวจการณ์ออกทำการตรวจสอบการทำประมงของเรือประมงอวนลาก อวนรุนในทะเลอ่าวตราด หลังได้รับแจ้งจากชาวประมงในพื้นที่ว่า มีเรือประมงอวนรุนขนาดเล็ก 30-40 ลำ จากชุมชนประมงบ้านแหลมหิน ต.หนองคันทรง อ.เมือง จ.ตราด ได้ลักลอบทำประมงในพื้นที่ 3,000 เมตร จึงได้นำเรือตรวจการณ์ออกตรวจสอบ
ระหว่างการเดินทางห่างจากฝั่งทะเล ต.แหลมกลัด อ.เมือง จ.ตราด ได้พบเรือประมงอวนรุนกว่า 30 ลำ กระจายทำประมงในพื้นที่ใกล้ชายฝั่งเพียง 1,500 เมตร จึงเข้าทำการจับกุม แต่เรือประมงอวนรุนส่วนใหญ่เร่งเครื่องหลบหนีออกไปนอกพื้นที่ 3,000 เมตร หลายลำปลดคานรุนทิ้งแล้วขับเรือหนีไปในความมืด
อย่างไรก็ตาม สามารถจับกุมได้ 3 ลำ พร้อมชาวประมง 3 คน มีปลา ปูม้า และกุ้งอยู่ในเรือประมงทั้ง 3 ลำจำนวนหนึ่ง จึงควบคุมเรือประมงมาขึ้นที่ท่าศาลเจ้าแม่พิกุล ต.แหลมกลัด อ.เมือง จ.ตราด ในเวลา 04.00 น. และทำการสอบสวนบันทึกปากคำ เพื่อส่งดำเนินคดี ซึ่งได้ผู้ต้องหาประกอบด้วย นายสาลี่ พูลเกษม อายุ 54 ปี นายแรงฤทธิ์ ท่าชลา อายุ 45 ปี และนายจำแลง ท่าชลา อายุ 52 ปี ทั้งหมดเป็นชาวประมงจากบ้านแหลมหิน ต.หนองคันทรง อ.เมือง จ.ตราด
นายกฤตยชณ์ กล่าว่า เรือประมงอวนรุนทั้ง 3 ลำ ทำผิดกฎหมายที่ห้ามไม่ให้เข้าทำการประมงในเขตพื้นที่ 3,000 เมตร รวมทั้งใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งเครื่องมือประมงอวนรุนทางสำนักงานประมงจังหวัดตราด ได้ทำโครงการยกเลิก และปรับเปลี่ยนอาชีพใหม่ไปแล้ว แต่เรือประมงอวนรุนเหล่านี้ยังไม่ยอมเลิกอาชีพ ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการทำงาน เนื่องจากอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผู้อำนวยการสำนักงานอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งหัวหน้าศูนย์อนุรักษ์ฯ จ.ระยอง ได้มีคำสั่งและนโยบายในการดำเนินการจับกุมเรือประมงที่ทำผิดกฎหมาย และเรือประมงที่จับโลมาอิรวดีในอ่าวตราด เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง
นายสาลี่ พูลเกษม ชาวประมงที่ถูกจับกุม ยอมรับว่า เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนอาชีพจากการทำประมงอวนรุนมาทำการเลี้ยงปลา และอาชีพอื่นโดยได้เงิน 3-40,000 บาท แต่ประสบความล้มเหลว ไม่สามารถดำรงชีพได้ เพราะไม่มีความรู้และไม่มีงบมากพอจึงต้องหันมาทำประมงอวนรุนอีก เพราะมีรายได้ดีกว่า แม้รู้ว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมายก็ตาม
วันนี้ (19 ก.พ.) นายกฤตยชณ์ ชำนาญช่าง หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 จังหวัดระยอง และเจ้าหน้าที่รวม 5 คน นำเรือตรวจการณ์ออกทำการตรวจสอบการทำประมงของเรือประมงอวนลาก อวนรุนในทะเลอ่าวตราด หลังได้รับแจ้งจากชาวประมงในพื้นที่ว่า มีเรือประมงอวนรุนขนาดเล็ก 30-40 ลำ จากชุมชนประมงบ้านแหลมหิน ต.หนองคันทรง อ.เมือง จ.ตราด ได้ลักลอบทำประมงในพื้นที่ 3,000 เมตร จึงได้นำเรือตรวจการณ์ออกตรวจสอบ
ระหว่างการเดินทางห่างจากฝั่งทะเล ต.แหลมกลัด อ.เมือง จ.ตราด ได้พบเรือประมงอวนรุนกว่า 30 ลำ กระจายทำประมงในพื้นที่ใกล้ชายฝั่งเพียง 1,500 เมตร จึงเข้าทำการจับกุม แต่เรือประมงอวนรุนส่วนใหญ่เร่งเครื่องหลบหนีออกไปนอกพื้นที่ 3,000 เมตร หลายลำปลดคานรุนทิ้งแล้วขับเรือหนีไปในความมืด
อย่างไรก็ตาม สามารถจับกุมได้ 3 ลำ พร้อมชาวประมง 3 คน มีปลา ปูม้า และกุ้งอยู่ในเรือประมงทั้ง 3 ลำจำนวนหนึ่ง จึงควบคุมเรือประมงมาขึ้นที่ท่าศาลเจ้าแม่พิกุล ต.แหลมกลัด อ.เมือง จ.ตราด ในเวลา 04.00 น. และทำการสอบสวนบันทึกปากคำ เพื่อส่งดำเนินคดี ซึ่งได้ผู้ต้องหาประกอบด้วย นายสาลี่ พูลเกษม อายุ 54 ปี นายแรงฤทธิ์ ท่าชลา อายุ 45 ปี และนายจำแลง ท่าชลา อายุ 52 ปี ทั้งหมดเป็นชาวประมงจากบ้านแหลมหิน ต.หนองคันทรง อ.เมือง จ.ตราด
นายกฤตยชณ์ กล่าว่า เรือประมงอวนรุนทั้ง 3 ลำ ทำผิดกฎหมายที่ห้ามไม่ให้เข้าทำการประมงในเขตพื้นที่ 3,000 เมตร รวมทั้งใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งเครื่องมือประมงอวนรุนทางสำนักงานประมงจังหวัดตราด ได้ทำโครงการยกเลิก และปรับเปลี่ยนอาชีพใหม่ไปแล้ว แต่เรือประมงอวนรุนเหล่านี้ยังไม่ยอมเลิกอาชีพ ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการทำงาน เนื่องจากอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผู้อำนวยการสำนักงานอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งหัวหน้าศูนย์อนุรักษ์ฯ จ.ระยอง ได้มีคำสั่งและนโยบายในการดำเนินการจับกุมเรือประมงที่ทำผิดกฎหมาย และเรือประมงที่จับโลมาอิรวดีในอ่าวตราด เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง
นายสาลี่ พูลเกษม ชาวประมงที่ถูกจับกุม ยอมรับว่า เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนอาชีพจากการทำประมงอวนรุนมาทำการเลี้ยงปลา และอาชีพอื่นโดยได้เงิน 3-40,000 บาท แต่ประสบความล้มเหลว ไม่สามารถดำรงชีพได้ เพราะไม่มีความรู้และไม่มีงบมากพอจึงต้องหันมาทำประมงอวนรุนอีก เพราะมีรายได้ดีกว่า แม้รู้ว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมายก็ตาม