xs
xsm
sm
md
lg

“วัดอ้อน้อย” ขึ้นป้ายชุดที่ 2 กระตุ้น รง.เน่ารับผิดชอบ “หลวงปู่พุทธะอิสระ” ลั่นสู้ไม่ถอย แม้กลายเป็นศพต่อไป

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


นครปฐม - วัดอ้อน้อย ขึ้นป้ายชุดที่ 2 กระตุ้นความรับผิดชอบ "โรงงานผลิตอาหารสัตว์" เร่งแก้ปัญหาฝุ่นละอองและกลิ่นเหม็นที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่พระและประชาชน หลังจากที่ทางโรงงานรับปากจะดำเนินการให้เสร็จภายใน 1 เดือน ด้าน "หลวงพุทธะอิสระ" รับทางวัดทำขึ้นจริงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้เห็นถึงค่าตรวจวัดผลจากกรมควบคุมมลพิษนั้นมีค่าเป็นเช่นไร พร้อมเผยข่าวมีคนปองร้ายหมายเอาชีวิต เป็นความจริง แต่ไม่หวั่น พร้อมเดินหน้าต่อสู้ไม่ถอย แม้ตายเป็นศพต่อไป จวกหน่วยงานราชการปล่อยปละละเลย เห็นแก่ประโยชน์เอื้อนายทุน

วันนี้ (31 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณด้านหน้าวัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ) ต.ห้วยขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ได้มีการขึ้นป้ายขนาดใหญ่ขึ้นมาใหม่อีกจำนวน 8 ป้าย โดยแต่ละป้ายมีเนื้อหาถามหาความรับผิดชอบกรณีที่โรงงานผลิตอาหารสัตว์ของบริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด ที่ตั้งตระหง่านอยู่ตรงข้ามฝั่งถนนมาลัยแมน ห่างไปไม่เกิน 300 เมตร ที่มีการปล่อยฝุ่นละอองและกลิ่นเหม็นสร้างความเดือดร้อนให้แก่พระ และประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบบริเวณ หลังจากก่อนหน้านี้ทางวัดได้มีการขึ้นป้ายประกาศขายวัดอ้อน้อย ไปแล้วครั้งหนึ่ง

ต่อมาเวลา 11.00 น.ผู้สื่อข่าวได้เดินทางเข้าพบหลวงปู่พุทธะอิสระ หรือ พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย ซึ่งหลวงปู่พุทธะอิสระ ได้กล่าวถึงกรณีที่มีการขึ้นป้ายที่บริเวณหน้าวัดอ้อน้อย เป็นชุดที่ 2 ว่า เป็นเรื่องที่ทางวัดได้ทำขึ้นจริงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้เห็นว่า ค่าตรวจวัดผลจากกรมควบคุมมลพิษนั้นมีค่าเป็นเช่นไร มันมีค่าเกินมาตรฐานจริงๆ ทางวัดอ้อน้อยนั้นไม่ได้เป็นผู้สร้างปัญหา แต่เป็นผู้ถูกกระทำซึ่งไม่ใช่วัดที่นี่แห่งเดียวชาวบ้านก็ได้รับผลกระทบนี้ด้วยและทางวัดก็ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโรงงานแห่งนี้มา 2 ปีเศษแล้ว ถึงเวลาที่จะต้องต่อสู้เพื่อความถูกต้องแก่สังคมต่อไป

หลวงปู่พุทธะอิสระ กล่าวว่า หลังจากมีกระแสข่าวออกไปว่าทางอาตมาถูกปองร้ายก็ถือว่าเป็นเรื่องจริง โดยมีการแจ้งมาทางวาจา 3 ครั้ง และมีลูกศิษย์มีจดหมายน้อยมาบอก 1 ครั้งว่าอาจจะมีการหมายเอาชีวิตด้วยการใช้รถสิบล้อมาเบียดกับรถของอาตมาในการเดินทาง ซึ่งก็มีมูลให้เห็นมาแล้วกับกำนันคนหนึ่ง คือ กำนันกล้วย ที่เคยมีคนเตือนว่าระวังจะเกิดเหตุร้ายด้วยรถบรรทุก ซึ่งไม่นายกำนันกล้วย ก็เสียชีวิตจากเรื่องนี้จริง แต่โดยส่วนตัวนั้นไม่ได้เกิดความกลัว แต่ก็ระวังตัวตลอดเวลา โดยการเดินทางไปไหนมาไหนต้องเปลี่ยนรถบ่อยครั้ง แต่จะห่วงก็คือคนขับรถที่จะต้องมาเสี่ยงด้วยมากกว่า

นอกจากนี้พระลูกวัดอ้อน้อย ก็ได้แสดงความเป็นห่วงด้วยการจัดตั้งเวรยาม ผลัดละ 2 ชั่วโมงเพื่อจะดูแลความสงบเรียบร้อยภายในวัด เรื่องนี้อาตมาก็เกรงใจว่าจะทำให้พระเณรต้องมาเดือดร้อนไปด้วย แต่ถึงอย่างไรเรื่องนี้อาตมาก็ยังจะคงต่อสู้ต่อไป จนกว่ามลพิษในที่บริเวณแห่งนี้หมดไป คือให้โรงงานอยู่ร่วมกับวัดและชุมชนได้

หลวงปู่พุทธอิสระ ให้ข้อมูลอีกว่า ตั้งแต่ทางวัดได้เคยร้องเรียนเรื่องนี้ไปมีเพียงหน่วยงานเดียวคือ กรมควบคุมมลพิษที่ได้มีหนังสือตอบกลับมาว่า สิ่งที่อาตมาเรียกร้องนั้นเป็นสิ่งที่ถูก ที่ผ่านมา 2 ปีเศษไม่เคยมีหน่วยราชการใดมาแก้ปัญหาให้อย่างจริงจัง ทั้ง อบต.ห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน หรืออุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐมก็ไม่ได้มีหนังสือแจ้งถึงการดำเนินการที่ชัดเจน มีแต่แจ้งว่าดำเนินการอย่างไรไปด้วยวาจาเท่านั้น และ 2 ปีเศษที่ผ่านมา เราต่อสู้ด้วยตัวเอง แต่เมื่อเป็นข่าวหน่วยราชการกลับมองว่าเราเป็นแกะดำ ทำให้เกิดความวุ่นวายทั้งๆ ที่ทางโรงงานก็ได้รับปากจะแก้ไขแล้ว
หลวงปู่พุทธะอิสระ หรือ พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย
"แต่สิ่งที่สะท้อนออกมา คือ ข้าราชการมองนายทุน มองธุรกิจ และเงินเป็นที่ตั้งไม่ได้มองว่าสิทธิของชาวบ้านจะเป็นอย่างไร คุณภาพชีวิตจะอยู่แบบไหน เพราะการปล่อยให้มีการสร้างโรงงานในชุมชนต้องมีการประชาคม สอบถามชาวบ้านให้รู้ข้อเท็จจริง อบต. อำเภอ จังหวัด ต้องเข้ามามีบทบาท แต่นี่จู่ก็มีดรงงานเกิดขึ้นหมายความว่าอย่างไร" หลวงปู่พุทธะอิสระ กล่าว

และกล่าวต่อว่า ส่วนกรณีมีกระแสว่าอาตมาได้หายออกจากวัดอ้อน้อย เพื่อหลบไปหาที่ปลอดภัยหลังมีการส่งสัญญาณของความไม่ปลอดภัยนั้น ที่จริงอาตมาเดินทางไปดูสำนักปฏิบัติธรรมที่ก่อสร้างไว้ที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งได้รับปากกับชาวบ้านที่นั่นไว้ว่าจะเข้าไปดูแลและต่อสู้เรื่องคล้ายๆ กัน คือการก่อสร้างโรงงานรีไซเคิลขยะที่ติดกับสำนักปฏิบัติธรรม โดยมีการปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำแควน้อย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำให้กับคนในจังหวัดได้ดื่ม เรื่องนี้เหมือนกับที่จังหวัดนครปฐม คือ ทางราชการปล่อยปะละเลยไปได้อย่างไร และการต่อสู้ของเราก็มีระยะเวลา 2 ปีเศษไม่ต่างกับที่วัดอ้อนน้อย

หลวงปู่พุทธอิสระ กล่าวต่ออีกว่า ขณะนี้มีนายบุญเรือง ปาแสงกุล อายุ 76 ปี อยู่บ้านเลขที่ 26/1 ม.6 ต.ห้วยด้วน อ.ดอนตูม จ.นครปฐม แกนนำชาวบ้านตำบลห้วยด้วน กลุ่มชาวบ้านกว่า 100 คน จากตำบลห้วยด้วย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ก็เดินทางมาหาอาตมา เพื่อขอความช่วยเหลือกรณีที่ชาวบ้านนั้นได้รับสารพิษจากบริษัท ซีแซท พัฒนา ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ต.ห้วยด้วน อ.ดอนตูม ซึ่งนำยางรถยนต์เก่ามาเผาเพื่อทำน้ำมันก่อนจะเป็นส่วนผสมในการผลิตถ่านไฟฉาย นี่ก็ถือว่าชาวบ้านท้อแท้กับส่วนราชการแล้ว เพราะผลการตรวจสอบอากาศบริเวณนั้นมีสารคาร์บอนด์ได้ออกไซด์มากจริงๆ และมีเด็กเจ็บป่วยแล้ว เสื้อผ้าที่ตากเอาไว้ดำไปหมด เหมือนกับอาตมา 2 ปีกว่าต้องฉันยาเพราะแพ้กลิ่นและฝุ่นละออง จริงๆ แล้วเราเรียกเอาเงินชดเชยความผิดกับทางโรงงานได้แต่ก็ไม่ได้ทำ เพียงแต่ต้องการให้มีการปรับปรุงที่ชัดเจน ไม่ใช่รับปากไปวันๆ แล้วไมได้แก้ไข ส่วนราการนี่เองคือต้นตอที่ไม่ได้ดูแลประชาชน

“อาตมาอยากจะบอกว่า หากการต่อสู่แบบนี้จะเป็นอย่างไร ดูอย่างคุณเจริญ วัตรอักษร แกนนำที่ปกป้องมลพิษ หรือแกนนำที่จังหวัดสมุทรสาคร เรื่องโรงงานถ่านหิน นายกเทศมนตรีที่จังหวัดสงขลา หรือพระที่จังหวัดเชียงราย ที่เข้าขัดขวางกลุ่มผู้บุกรุกป่าสงวน ที่ต้องเอาชีวิตมาสังเวย ถ้าอาตมาจะเป็นรายต่อไป อาตมาก็พร้อมจะเป็นอีก 1 ชีวิตอย่างนั้น แต่เพื่อทำให้สังคมอยู่ได้ เรื่องนี้ก็ยังทำให้เห็นชัดเจนว่าสังคมมีอยู่ 2 มาตรฐานข้าราชการยังได้คิดว่าตัวเองเป็นลูกจ้างของประชาชนแต่ข้าราชการต้องดูแลประชาชน”

หลวงปู่พุทธะอิสระ กล่าวต่อว่า "และถ้าสังคมไทย ข้าราชการ นักการเมืองท้องถิ่นมองว่า นายทุนเป็นใหญ่ และออกใบอนุญาตให้มีการก่อสร้างโรงงานโดยไม่มีการอกมาสอบถามประชาคมให้ชัดเจนก็เท่ากับว่า โรงงานที่ก่อสร้างขึ้นนั้นถูกกฎหมาย เราประชาชนก็เจ็บป่วยและล้มตายด้วยสิ่งที่ถูกกฎหมาย เราไม่มีวิถีชีวิตที่เราต้องการไม่ได้มีหลักประกันชีวิตอะไรที่ชัดเจนเลย

และที่ที่อาตมาได้ต่อสู้มาแล้วเจอกับตัวเอง คือ เราร้องเรียนไปยัง อบต.ที่อยู่ในพื้นที่ ทาง อบต.ก็โยนไปให้อุตสาหกรรมจังหวัดดำเนินการ โดยอ้างว่าไม่มีอำนาจ อุตสาหกรรมจังหวัดก็โยนลูกไปให้หน่วยงานอื่น โยนกันไปโยนกันมา 2 ปีกว่าหาเจ้าภาพไม่ได้ และต้องถามว่า นี่คือสังคมไทยใช่ไหม สังคมไทยต้องเป็นแบบนี้หรือ

วันนี้ มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ได้เดินทางมาพบกับอาตมาแล้ว และได้ชี้แจงแล้วว่า สิ่งที่อาตมาได้ต่อสู่เป็นสิ่งถูกต้องและทางเราก็จะต่อสู้แบบไม่โดดเดี่ยวแล้ว เพราะเขาจะมาร่วมแก้ปัญหากับเรา ซึ่งรวมถึงชาวบ้านที่ ต.ห้วยด้วน อ.ดอนตูมด้วย ที่จะได้รับการดูแลเรื่องนี้ สิ่งที่ชี้ชัดว่าทางราชการนั้นอุ้มแต่นายทุนเป็นใหญ่ก็เห็นได้ชัดเพราะโรงงานที่ ต.ห้วยด้วน เป็นของชาวต่างชาติ และมีการจ้างแรงงานก็เป็นต่างด้าว แต่ปัญหา คือ ชาวบ้านโดยรอบได้รับผลกระทบโดยตรง พอร้องเรียนผู้ใหญ่บ้านกลับมาบอกผู้ร้องเรียนว่าให้เอาป้ายลงและให้ปิดประตูบ้านกลิ่นก็จะหายไปเอง ซึ่งนั้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา ชาวบ้านทนไม่ไหวจึงได้พร้อมใจมาขอความช่วยเหลือจากทางวัด ซึ่งอาตมาเองก็จะใช้วิธีโง่ๆ แบบนี้สู้ต่อไป ใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง อาตมาจะยืนยันว่าจะทำแบบนี้

ส่วนในกรณีการขึ้นป้ายใหม่ที่หน้าวัดนั้น ก็เพราะเราจะได้กระตุ้นเตือนโรงงานฝั่งตรงข้ามว่า เขารับปากว่า 30 วันจะแก้ไขปัญหาได้ แต่ถ้าแก้ไม่ได้เราจะอยู่อย่างไร เราก็ต้องหามาตรการของเรามาทำแบบนี้ และเมื่อวานนี้ (30 ม.ค.) อาตมาก็เดินอยู่ภายในวัดก็ได้กลิ่นเหม็นคลุ้งลอยเข้ามาอีก จึงได้ส่งคนเข้าไปสอบถามว่าอาจจะมีการลักลอบเปิดเครื่องจักรผลิตอีกหรือไม่ ก็ทราบว่าเป็นการขนย้ายอาหารสัตว์ให้กับลูกค้า นี่เพียงแค่ขนย้ายยังมีกลิ่นขนาดนี้ อาตมาว่ากลิ่นมันยังฉุน แล้วคิดถึงคนขนย้ายว่าจะมีสุขภาพเป็นเช่นไร เราไม้ได้รังแกเขา แต่เราอยากให้เขาปรับให้อยู่กับเราให้ได้ เท่านั้น"

หลวงปู่พุทธอิสระ กล่าวต่อว่า "วันนี้ อาตมาก็รู้ว่ามีขบวนการขับเคลื่อนออกมาต่อต้านทางวัดอ้อน้อย เพราะอาตมาเปิดดูสื่อบางช่องนั้นมีการออกมาด่าอาตมาว่า บ้าบ้าง อะไรบ้าง อยากดังบ้าง แต่เท่าที่รู้ คือ มีสื่อบางแห่งไปรับเงิน หรือผลประโยชน์ไปแล้ว และพยายามบิดเบือนข่าวออกมา เรื่องนี้ต้องถามสื่อว่าที่เขาเข้ามาสัมภาษณ์นั้นมีความจริงใจจะมาร่วมแก้ปัญหาด้วยกันหรือไม่ ถ้าจริงใจก็เข้ามาหาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกันได้เลย

วันเดียวกันนี้ นายชนภัทร วินยวัฒน์ ผู้ช่วยเลขานุการ รองอัยการสูงสุด (นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์วงศ์) ซึ่งได้รับคำสั่งจากอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิ์ประชาชน ได้เข้ามาสอบถามถึงปัญหา และกล่าวว่า พร้อมจะช่วยเหลือตามนโยบายสำนักงาน และจะประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่อำนาจทางกฎมาย และบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เพราะว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของคดีสิ่งแวดล้อม มี 2 ส่วน คือ 1 คดีอาญา โดยมีกฎหมายพระราชบัญญัติ 3 ฉบับ ที่จะว่าถึงเรื่องนี้

ในส่วนคดีของมาตรฐานสิ่งแวดล้อมจะเป็นไปตามกลไกลที่กำหนด เช่น การกำหนดมาตรฐาน คุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ ฝุ่น ไปตามระดับ ส่วนที่ 2 คือ คดีแพ่ง ยังมี พ.ร.บ.ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมอีก 1 ฉบับ ที่จะพูดถึงการเยียวยาของการเสียหายและค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ได้รับความเสียหาย โดยทางเราจะดำเนินการทางอาญาให้ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงาน แต่ในเรื่องของทางแพ่งต้องให้ผู้เสียหายเป็นผู้ดำเนินการ

หลวงปู่พุทธอิสระ ได้ให้ข้อมูลอีกว่า เมื่อวันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมา นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชน พร้อมคณะอนุกรรมการ ได้ลงพื้นที่รับฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาวัดอ้อน้อย โดยประชุมร่วมกับนายธานี ธัญญาโภชน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ผุ้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 5 ผู้แทนจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม รักษาการอุตสาหกรรมจังหวัด ทรัพยากรรมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาธารณสุขจังหวัด สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ นายก อบต.ห้วยขวาง เจ้าของพื้นที่เกิดเหตุ และผู้แทนจากบริษัทอาร์ที อะกริเทค จำกัด หลังเกิดปัญหากลิ่นจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ได้มีการซักถามทุกข้อสงสัย ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง การขออนุญาต จนถึงขบวนการผลิต การแก้ปัญหาเรื่องกลิ่น ความเดือดร้อนของชาวบ้าน รวมถึงข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น สุขภาพชุมชน อัตราการเจ็บป่วยของชาวบ้าน

"แต่มีผู้ระบุว่าโรงงานดังกล่าวไม่ได้ทำประชาคม มีเพียงติดประกาศไว้ที่หน้าอำเภอ และบริเวณสถานที่ก่อสร้าง 1 เดือน ซึ่งก็ไม่มีการคัดค้านแต่อย่างใด จึงได้ดำเนินการก่อสร้าง ส่วนของสาธารณสุข ก็ระบุชัดตลอดเวลาที่ผ่านมาว่า ปริมาณการป่วยของชาวบ้านในชุมชนรอบโรงงาน ไม่มีอัตราการเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงเฉลี่ย 3-5 คนต่อปี"

ด้าน ดร.ปุญญพัฒน์ จำรัสพลเลิศ กรรมการบริหารผู้แทนจากบริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด เปิดเผยว่า ขบวนการผลิตปีแรกๆ ผลิตไม่เต็มระบบปี 2553 เฉลี่ย 1 หมื่นตันต่อเดือน ปี 2554 เฉลี่ย 1.3 หมื่นตันต่อเดือน ปี 2555 เฉลี่ย 1.5 หมื่นตันต่อเดือน มีการเดินเครื่องระบบ 24 ชั่วโมง 6 วันต่อสัปดาห์ มีการตรวจซ่อมบำรุงระบบทุก 4 เดือน ที่ผ่านมาทางบริษัทก็พยายามแก้ทุกปัญหา และตั้งแต่เริ่มผลิต มีปัญหาร้องเรียนมาเพียงครั้งเดียว ครั้งที่ 2 เป็นเรื่องขายวัดอ้อน้อย เท่านั้น
กำลังโหลดความคิดเห็น