กาญจนบุรี - สสจ.กาญจนบุรีเตือนประชาชนระวังโรคไข้หวัดใหญ่ พร้อมแนะ 4 วิธีป้องกัน เผยโรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่พบได้เกือบทั้งปี พบมากที่อำเภอหนองปรือ รองลงมาคือ อำเภอท่ามะกา และอำเภอศรีสวัสดิ์
วันนี้ (31 ม.ค.) นพ.อภิชาติ รอดสม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกคนทุกเพศทุกวัย พบได้เกือบทั้งปี แต่จะเป็นมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งบางปีอาจจะพบการระบาดได้ จากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรี ปี 2555 พบว่า มีผู้ป่วย จำนวน 674 ราย คิดเป็นอัตรา 80.41 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต โดยพบมากที่อำเภอหนองปรือ รองลงมาคือ อำเภอท่ามะกา และอำเภอศรีสวัสดิ์ (อัตราต่อประชากรแสนคน 413.95, 233.68 และ 141.89 ตามลำดับ)
ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส “Influenza virus” เชื้อนี้จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ หรือจาม หรือการสัมผัสเครื่องมือเครื่องใช้เปื้อนเชื้อโรค ระยะฟักตัว 1-4 วัน เชื้อไข้หวัดใหญ่มีอยู่ 3 ชนิด เรียกว่า ชนิด เอ บี และซี ซึ่งแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพันธุ์ย่อยๆ อีกมากมาย ในการเกิดโรคแต่ละครั้งจะเกิดจากสายพันธุ์ย่อยๆ เพียงสายพันธุ์เดียว ซึ่งเป็นแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้น ไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจจะลามลงไปปอด ผู้ป่วยจะมีอาการค่อนข้างเร็ว มักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขนต้นขา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ ไข้สูงกว่าไข้หวัด ไข้มักเป็นอยู่ 2-4 วัน อาการไอ และอ่อนเพลีย อาจเป็นอยู่ 1-4 สัปดาห์ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียอย่างฉับพลัน
การป้องกัน ล้างมือบ่อยๆ เมื่อออกนอกบ้าน ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ให้หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ ลูกบิดประตู เป็นต้น หลีกเลี่ยงการเอามือเข้าปาก หรือขยี้ตา ไม่ควรใช้ของส่วนตัวร่วมกับคนอื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด เมื่อเวลาเจ็บป่วย ให้พักที่บ้านเมื่อเวลาป่วย สวมผ้าปิดจมูก เวลาไอ หรือจาม ป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น และช่วยป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย เพราะระหว่างเป็นโรคไข้หวัดใหญ่จะมีภูมิต้านทานต่ำ ช่วงที่มีการระบาดให้หลีกเลี่ยงจากที่สาธารณะ
การรักษาให้นอนพักไม่ควรออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำ หรือน้ำผลไม้ หรือน้ำซุป หรืออาจจะดื่มน้ำเกลือแร่ร่วมด้วย ให้การดูแลปฏิบัติตัวและรักษาตามอาการเหมือนไข้หวัด คือ นอนพักผ่อนมากๆ ไม่ตรากตรำทำงานหนัก ไม่ควรอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ เพราะจะทำให้เชื้อลุกลาม ให้กินยาแก้ปวด Paracetamol ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 เม็ด (500 มิลลิกรัม) วันละ 2-3 ครั้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ยาปฏิชีวนะไม่จำเป็นต้องรับประทานเพราะเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส จะให้ก็ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น น้ำมูก หรือเสลดเป็นสีเหลือง หรือเขียว ถ้ามีอาการหอบ หรือสงสัยปอดอักเสบควรส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
นพ.อภิชาติ กล่าวย้ำเตือนประชาชนว่า หากมีอาการไข้ร่วมกับอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ น้ำมูก ฯลฯ ขอให้หยุดเรียน หรือหยุดงานจนกว่าจะหายดี และควรไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการเจ็บป่วย และให้การวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้อง รวมทั้งแนะนำประชาชนควรปฏิบัติตาม 4 พฤติกรรมที่ดีในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ดังนี้
1) ปิด : ปิดปากปิดจมูกอย่างถูกต้อง เมื่อไอจามใช้กระดาษทิชชูปิดปาก และจมูก เมื่อป่วยเป็นหวัดสวมหน้ากากอนามัย หรือไอใส่ต้นแขนตนเอง
2) ล้าง : ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ และทุกครั้งหลังสั่งน้ำมูก ไอจาม ก่อนรับประทานอาหาร หลังสัมผัสสิ่งของสาธารณะที่มีคนใช้ร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์ ก๊อกน้ำ โทรศัพท์ แป้นคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
3) เลี่ยง : หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่แออัด สถานที่เสี่ยง (แออัด อากาศไม่ถ่ายเท ทึบ แสงแดดส่องไม่ถึง) การอยู่ใกล้ชิดกับผู้มีอาการป่วย (ไอ จาม)
และ 4) หยุด : ให้หยุดเรียนเมื่อป่วย (หยุดงาน หยุดเรียน หยุดกิจกรรม) เพื่อให้ตนเองหายป่วยเร็ว และไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่น
วันนี้ (31 ม.ค.) นพ.อภิชาติ รอดสม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกคนทุกเพศทุกวัย พบได้เกือบทั้งปี แต่จะเป็นมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งบางปีอาจจะพบการระบาดได้ จากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรี ปี 2555 พบว่า มีผู้ป่วย จำนวน 674 ราย คิดเป็นอัตรา 80.41 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต โดยพบมากที่อำเภอหนองปรือ รองลงมาคือ อำเภอท่ามะกา และอำเภอศรีสวัสดิ์ (อัตราต่อประชากรแสนคน 413.95, 233.68 และ 141.89 ตามลำดับ)
ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส “Influenza virus” เชื้อนี้จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ หรือจาม หรือการสัมผัสเครื่องมือเครื่องใช้เปื้อนเชื้อโรค ระยะฟักตัว 1-4 วัน เชื้อไข้หวัดใหญ่มีอยู่ 3 ชนิด เรียกว่า ชนิด เอ บี และซี ซึ่งแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพันธุ์ย่อยๆ อีกมากมาย ในการเกิดโรคแต่ละครั้งจะเกิดจากสายพันธุ์ย่อยๆ เพียงสายพันธุ์เดียว ซึ่งเป็นแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้น ไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจจะลามลงไปปอด ผู้ป่วยจะมีอาการค่อนข้างเร็ว มักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขนต้นขา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ ไข้สูงกว่าไข้หวัด ไข้มักเป็นอยู่ 2-4 วัน อาการไอ และอ่อนเพลีย อาจเป็นอยู่ 1-4 สัปดาห์ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียอย่างฉับพลัน
การป้องกัน ล้างมือบ่อยๆ เมื่อออกนอกบ้าน ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ให้หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ ลูกบิดประตู เป็นต้น หลีกเลี่ยงการเอามือเข้าปาก หรือขยี้ตา ไม่ควรใช้ของส่วนตัวร่วมกับคนอื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด เมื่อเวลาเจ็บป่วย ให้พักที่บ้านเมื่อเวลาป่วย สวมผ้าปิดจมูก เวลาไอ หรือจาม ป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น และช่วยป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย เพราะระหว่างเป็นโรคไข้หวัดใหญ่จะมีภูมิต้านทานต่ำ ช่วงที่มีการระบาดให้หลีกเลี่ยงจากที่สาธารณะ
การรักษาให้นอนพักไม่ควรออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำ หรือน้ำผลไม้ หรือน้ำซุป หรืออาจจะดื่มน้ำเกลือแร่ร่วมด้วย ให้การดูแลปฏิบัติตัวและรักษาตามอาการเหมือนไข้หวัด คือ นอนพักผ่อนมากๆ ไม่ตรากตรำทำงานหนัก ไม่ควรอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ เพราะจะทำให้เชื้อลุกลาม ให้กินยาแก้ปวด Paracetamol ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 เม็ด (500 มิลลิกรัม) วันละ 2-3 ครั้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ยาปฏิชีวนะไม่จำเป็นต้องรับประทานเพราะเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส จะให้ก็ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น น้ำมูก หรือเสลดเป็นสีเหลือง หรือเขียว ถ้ามีอาการหอบ หรือสงสัยปอดอักเสบควรส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
นพ.อภิชาติ กล่าวย้ำเตือนประชาชนว่า หากมีอาการไข้ร่วมกับอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ น้ำมูก ฯลฯ ขอให้หยุดเรียน หรือหยุดงานจนกว่าจะหายดี และควรไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการเจ็บป่วย และให้การวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้อง รวมทั้งแนะนำประชาชนควรปฏิบัติตาม 4 พฤติกรรมที่ดีในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ดังนี้
1) ปิด : ปิดปากปิดจมูกอย่างถูกต้อง เมื่อไอจามใช้กระดาษทิชชูปิดปาก และจมูก เมื่อป่วยเป็นหวัดสวมหน้ากากอนามัย หรือไอใส่ต้นแขนตนเอง
2) ล้าง : ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ และทุกครั้งหลังสั่งน้ำมูก ไอจาม ก่อนรับประทานอาหาร หลังสัมผัสสิ่งของสาธารณะที่มีคนใช้ร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์ ก๊อกน้ำ โทรศัพท์ แป้นคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
3) เลี่ยง : หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่แออัด สถานที่เสี่ยง (แออัด อากาศไม่ถ่ายเท ทึบ แสงแดดส่องไม่ถึง) การอยู่ใกล้ชิดกับผู้มีอาการป่วย (ไอ จาม)
และ 4) หยุด : ให้หยุดเรียนเมื่อป่วย (หยุดงาน หยุดเรียน หยุดกิจกรรม) เพื่อให้ตนเองหายป่วยเร็ว และไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่น