ฉะเชิงเทรา - หน่วยงานในพื้นที่แปดริ้วยังไม่มีใครรับทราบ หลังรัฐบาลเตรียมใช้พื้นที่ฉะเชิงเทราตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ พร้อมสนามบินเอาใจนายกฯ ญี่ปุ่น ที่เดินทางมาเยือนไทย ขณะหน่วยงานระดับสูงของจังหวัด รับภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสูง หลังมีโรงงานแห่เข้ามาตั้งใหม่จำนวนมาก
วันนี้ (17 ม.ค.) เวลา 17.00 น. ผู้สื่อข่าวได้ทำการสอบถามถึงกรณีที่รัฐบาลได้เตรียมที่จะใช้พื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ตั้งเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ควบคู่พร้อมด้วยสนามบินอีกหนึ่งแห่ง เพื่อเอาใจนายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่นที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยในวันนี้ ต่อ นายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ว่า ทางหน่วยงานในพื้นที่ทราบถึงโครงการ หรือพิกัดที่ตั้งของพื้นที่เป้าหมายที่จะมีการดำเนินโครงการดังกล่าวหรือยัง
โดย นายบัณฑิตย์ ซึ่งทำหน้าที่รักษาราชการแทน นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางไปประเทศจีน เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการเปิดตัว AEC นั้น กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว แต่ที่ผ่านมา ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรานั้นได้มีโรงงานอุตสาหกรรมทยอยเข้ามาก่อตั้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปริมาณค่อนข้างสูง เพราะจังหวัดของเราไม่ถูกน้ำท่วม โดยเฉพาะการตั้งโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมแล้ว ทั้ง 3 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ และนิคมฯ ทีเอฟดี ที่เพิ่งก่อตั้งใหม่มาได้ประมาณเกือบ 4 ปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อปี 2552
โดยอุตสาหกรรมที่หลั่งไหลเข้ามาในพื้นที่นั้นส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วน เช่น ผู้ผลิตรถยนต์อีซูซุ ซึ่งเริ่มเดินไลน์การผลิตรถยนต์กระบะได้แล้ว และยังจะมีโรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ที่กำลังจะตามมาอีกหนึ่งแห่ง ในนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ นอกจากนี้ ยังมีผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ๆ อย่างเช่น ไทยซัมมิท ออโตพาร์ท พร้อมด้วยอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอีกจำนวนมากได้พากันเข้ามาตั้งโรงงานในพื้นที่ ซึ่งโดยหลักๆ แล้วก็เป็นสัญชาติญี่ปุ่น
ขณะเดียวกัน ยังได้มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซึ่งเดิมตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ อ.เมืองชลบุรี ได้ขยายตัวเข้ามาในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราอีกหลายเฟส ทั้งในเขต อ.บ้านโพธิ์ และบางปะกง อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ทยอยกันเข้ามาก่อตั้งโรงงานตามรายทางริมถนนสายสำคัญๆ เช่น ถนนเลียบมอเตอร์เวย์ (สาย 7) ตลอดแนวถนนสาย 331 ที่ได้เริ่มมองเห็นการวางรากฐานในการต่อตั้งโรงงานเรียงรายต่อเนื่องกันไป
ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวได้ทำการสอบถามในกรณีเดียวกันกับนายชัยกมล พรหมทอง หัวหน้าฝ่ายโรงงาน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทราด้วย เนื่องจากนายสุรพล สุทธจินดา อุตสาหกรรมจังหวัดฯ ได้เดินทางไปร่วมกับคณะของผู้ว่าฯ ที่ประเทศจีน โดยได้รับคำตอบว่า ยังไม่ทราบถึงความเคลื่อนไหวดังกล่าวเช่นเดียวกัน
วันนี้ (17 ม.ค.) เวลา 17.00 น. ผู้สื่อข่าวได้ทำการสอบถามถึงกรณีที่รัฐบาลได้เตรียมที่จะใช้พื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ตั้งเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ควบคู่พร้อมด้วยสนามบินอีกหนึ่งแห่ง เพื่อเอาใจนายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่นที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยในวันนี้ ต่อ นายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ว่า ทางหน่วยงานในพื้นที่ทราบถึงโครงการ หรือพิกัดที่ตั้งของพื้นที่เป้าหมายที่จะมีการดำเนินโครงการดังกล่าวหรือยัง
โดย นายบัณฑิตย์ ซึ่งทำหน้าที่รักษาราชการแทน นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางไปประเทศจีน เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการเปิดตัว AEC นั้น กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว แต่ที่ผ่านมา ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรานั้นได้มีโรงงานอุตสาหกรรมทยอยเข้ามาก่อตั้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปริมาณค่อนข้างสูง เพราะจังหวัดของเราไม่ถูกน้ำท่วม โดยเฉพาะการตั้งโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมแล้ว ทั้ง 3 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ และนิคมฯ ทีเอฟดี ที่เพิ่งก่อตั้งใหม่มาได้ประมาณเกือบ 4 ปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อปี 2552
โดยอุตสาหกรรมที่หลั่งไหลเข้ามาในพื้นที่นั้นส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วน เช่น ผู้ผลิตรถยนต์อีซูซุ ซึ่งเริ่มเดินไลน์การผลิตรถยนต์กระบะได้แล้ว และยังจะมีโรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ที่กำลังจะตามมาอีกหนึ่งแห่ง ในนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ นอกจากนี้ ยังมีผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ๆ อย่างเช่น ไทยซัมมิท ออโตพาร์ท พร้อมด้วยอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอีกจำนวนมากได้พากันเข้ามาตั้งโรงงานในพื้นที่ ซึ่งโดยหลักๆ แล้วก็เป็นสัญชาติญี่ปุ่น
ขณะเดียวกัน ยังได้มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซึ่งเดิมตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ อ.เมืองชลบุรี ได้ขยายตัวเข้ามาในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราอีกหลายเฟส ทั้งในเขต อ.บ้านโพธิ์ และบางปะกง อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ทยอยกันเข้ามาก่อตั้งโรงงานตามรายทางริมถนนสายสำคัญๆ เช่น ถนนเลียบมอเตอร์เวย์ (สาย 7) ตลอดแนวถนนสาย 331 ที่ได้เริ่มมองเห็นการวางรากฐานในการต่อตั้งโรงงานเรียงรายต่อเนื่องกันไป
ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวได้ทำการสอบถามในกรณีเดียวกันกับนายชัยกมล พรหมทอง หัวหน้าฝ่ายโรงงาน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทราด้วย เนื่องจากนายสุรพล สุทธจินดา อุตสาหกรรมจังหวัดฯ ได้เดินทางไปร่วมกับคณะของผู้ว่าฯ ที่ประเทศจีน โดยได้รับคำตอบว่า ยังไม่ทราบถึงความเคลื่อนไหวดังกล่าวเช่นเดียวกัน