ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกหนุนเทศบาลนครเชียงใหม่กว่า 20 ล้านบาทให้จัดระบบขนส่ง ใช้ยานพาหนะที่ไม่ใช่เครื่องยนต์ นำร่องรองรับการขยายตัวของเมือง ลดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่นายกเล็กเตรียมแผนต่อยอด กู้ 100 ล้านซื้อรถเมล์เพิ่ม 40 คัน
วันนี้ (14 ธ.ค.) ที่โรงแรงเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ มีพิธีลงนามข้อตกลงโครงการขนส่งอย่างยั่งยืนเมืองเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของธนาคารโลก และสำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง วงเงิน 729,630 เหรียญสหรัฐ หรือกว่า 20 ล้านบาท โดยมีนายทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เป็นผู้ลงนามร่วมกับ ดร.ชนินทร์ มโนภินิเวส นักเศรษฐศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทย และนายสุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
ดร.ชนินทร์กล่าวว่า เชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่ มีความสำคัญที่สุดรองจากกรุงเทพฯ และพัฒนาอย่างรวดเร็วที่สุดเมืองหนึ่งในภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่เติบโตอย่างต่อเนื่องจากภาคการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวปีละ 3-5 ล้านคน
“เราพบปัญหาเดียวกับการขยายตัวของเมืองอื่นๆ เช่น การพัฒนาที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า การทำลายหรือบั่นทอนคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของเมือง มลพิษทางน้ำและอากาศ การจราจรติดขัด การจัดการขยะและของเสีย สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลง การขยายตัวของเมืองในแนวราบที่ทำให้เกิดการใช้ที่ดินในวงกว้างขึ้น ขาดแผนแม่บทด้านการขนส่งและจราจร และการใช้ที่ดินของเมือง ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาการบริหารจัดการ ส่งผลให้ประชากรหันไปใช้รถยนต์และจักรยานยนต์ส่วนตัว ซึ่งเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น”
ผู้แทนธนาคารโลกกล่าวว่า การให้ความช่วยเหลือครั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกที่ธนาคารโลกมีส่วนดูแลด้วย เพื่อนำร่องไปสู่การจัดทำแผนภาพรวมของเมืองต่อไป ซึ่งเป็นการทำให้เห็นถึงการจัดการที่ดีในอนาคต ทั้งการขนส่ง การจราจร การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม รวมถึงการออกแบบและกำหนดให้มีเส้นทางสำหรับพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ (Non-motorized transport route) โดยถือเป็นเมืองแรกของไทยที่ได้รับการสนับสนุนด้านนี้ตามที่เทศบาลฯ ได้เสนอไป และเชื่อว่าหากต่อยอดไปได้ก็มีโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนอีก เพราะทั่วโลกพยายามเต็มที่ในการช่วยกันลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
นายสุวิชญกล่าวว่า การได้รับการสนับสนุนกว่า 20 ล้านบาทถือเป็นโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้ประสบการณ์ทางวิชาการ และการดำเนินการที่จะได้รับจากธนาคารโลก ไปต่อยอดการพัฒนาของเทศบาลนครเชียงใหม่เพื่อก้าวไปสู่การยกระดับมาตรฐานด้านขนส่งมวลชนของเมืองที่ดีในอนาคต
ด้านนายทัศนัยกล่าวว่า เทศบาลฯ ประสบปัญหาการขนส่งมาอย่างต่อเนื่อง และนับวันก็มีคนมาเที่ยวมากขึ้น จึงต้องมีระบบรองรับและเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย โดยจะเริ่มจากการพัฒนาศูนย์กลางเมืองที่ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์โยงกับศาลแขวงเดิมก่อน ซึ่งจะปิดถนนใช้เป็นข่วงหรือลาน ยกเว้นมีงานสำคัญก็จะเปิดใช้เส้นทางนี้ เมื่อทำสำเร็จจะต่อยอดให้ทั้งเมืองทันที
“เบื้องต้นจะปรับภูมิทัศน์ ซึ่งต้องจัดที่จอดรถจักรยานที่จะเป็นยานพาหนะหลักของการท่องเที่ยวโดยจักรยาน จัดทำเส้นทางจักรยาน การให้บริการเช่าที่จะเชื่อมกับชุมชนโดยรอบ โดยจะต่อยอดแผนการพัฒนาข่วงเวียงแก้ว หลังจากทัณฑสถานหญิงย้ายออกไปต้นปี 2556”
นายทัศนัยกล่าวว่า หากมีการตอบรับที่ดีก็จะต่อยอดต่อไป โดยเทศบาลฯ ได้ขอกู้เกิน 100 ล้านบาทเพื่อจัดซื้อรถเมล์ขนาด 20 ที่นั่งอีกประมาณ 40 คันมาให้บริการตามเส้นทางที่กำหนด จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 3 สาย 10 คัน และในอนาคตเมื่อระบบขนส่งได้รับการตอบรับก็จะออกเทศบัญญัติเมืองเกี่ยวกับการใช้รถ เช่น เขตคูเมืองห้ามรถเข้าวันเสาร์-อาทิตย์ หากจะเข้าต้องเสียค่าใช้จ่าย เพิ่มจุดห้ามจอดเพื่อลดการใช้รถส่วนบุคคล โซนนิ่งการใช้พื้นที่เขตเมือง กำหนดอาคารต้องสูงไม่เกิน 12 เมตร กำหนดโทนสีอาคารเพื่อมุ่งไปสู่เมืองมรดกโลกที่มีความสง่างามทางศิลปะ และวัฒนธรรมล้านนา
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงินแบบให้เปล่าจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก โดยมีธนาคารโลกเป็นผู้ประสานงาน สำนักนโยบายแผนการจราจรและขนส่ง กระทรวงคมนาคมเป็นองค์กรร่วมดำเนินการ มีสำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังเป็นผู้ลงนามความร่วมมือในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย ซึ่งโครงการยังเน้นการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนการขนส่งและจราจรในเมืองเชียงใหม่ และการออกแบบเส้นทางสำหรับพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ด้วย
วันนี้ (14 ธ.ค.) ที่โรงแรงเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ มีพิธีลงนามข้อตกลงโครงการขนส่งอย่างยั่งยืนเมืองเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของธนาคารโลก และสำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง วงเงิน 729,630 เหรียญสหรัฐ หรือกว่า 20 ล้านบาท โดยมีนายทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เป็นผู้ลงนามร่วมกับ ดร.ชนินทร์ มโนภินิเวส นักเศรษฐศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทย และนายสุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
ดร.ชนินทร์กล่าวว่า เชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่ มีความสำคัญที่สุดรองจากกรุงเทพฯ และพัฒนาอย่างรวดเร็วที่สุดเมืองหนึ่งในภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่เติบโตอย่างต่อเนื่องจากภาคการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวปีละ 3-5 ล้านคน
“เราพบปัญหาเดียวกับการขยายตัวของเมืองอื่นๆ เช่น การพัฒนาที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า การทำลายหรือบั่นทอนคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของเมือง มลพิษทางน้ำและอากาศ การจราจรติดขัด การจัดการขยะและของเสีย สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลง การขยายตัวของเมืองในแนวราบที่ทำให้เกิดการใช้ที่ดินในวงกว้างขึ้น ขาดแผนแม่บทด้านการขนส่งและจราจร และการใช้ที่ดินของเมือง ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาการบริหารจัดการ ส่งผลให้ประชากรหันไปใช้รถยนต์และจักรยานยนต์ส่วนตัว ซึ่งเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น”
ผู้แทนธนาคารโลกกล่าวว่า การให้ความช่วยเหลือครั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกที่ธนาคารโลกมีส่วนดูแลด้วย เพื่อนำร่องไปสู่การจัดทำแผนภาพรวมของเมืองต่อไป ซึ่งเป็นการทำให้เห็นถึงการจัดการที่ดีในอนาคต ทั้งการขนส่ง การจราจร การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม รวมถึงการออกแบบและกำหนดให้มีเส้นทางสำหรับพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ (Non-motorized transport route) โดยถือเป็นเมืองแรกของไทยที่ได้รับการสนับสนุนด้านนี้ตามที่เทศบาลฯ ได้เสนอไป และเชื่อว่าหากต่อยอดไปได้ก็มีโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนอีก เพราะทั่วโลกพยายามเต็มที่ในการช่วยกันลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
นายสุวิชญกล่าวว่า การได้รับการสนับสนุนกว่า 20 ล้านบาทถือเป็นโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้ประสบการณ์ทางวิชาการ และการดำเนินการที่จะได้รับจากธนาคารโลก ไปต่อยอดการพัฒนาของเทศบาลนครเชียงใหม่เพื่อก้าวไปสู่การยกระดับมาตรฐานด้านขนส่งมวลชนของเมืองที่ดีในอนาคต
ด้านนายทัศนัยกล่าวว่า เทศบาลฯ ประสบปัญหาการขนส่งมาอย่างต่อเนื่อง และนับวันก็มีคนมาเที่ยวมากขึ้น จึงต้องมีระบบรองรับและเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย โดยจะเริ่มจากการพัฒนาศูนย์กลางเมืองที่ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์โยงกับศาลแขวงเดิมก่อน ซึ่งจะปิดถนนใช้เป็นข่วงหรือลาน ยกเว้นมีงานสำคัญก็จะเปิดใช้เส้นทางนี้ เมื่อทำสำเร็จจะต่อยอดให้ทั้งเมืองทันที
“เบื้องต้นจะปรับภูมิทัศน์ ซึ่งต้องจัดที่จอดรถจักรยานที่จะเป็นยานพาหนะหลักของการท่องเที่ยวโดยจักรยาน จัดทำเส้นทางจักรยาน การให้บริการเช่าที่จะเชื่อมกับชุมชนโดยรอบ โดยจะต่อยอดแผนการพัฒนาข่วงเวียงแก้ว หลังจากทัณฑสถานหญิงย้ายออกไปต้นปี 2556”
นายทัศนัยกล่าวว่า หากมีการตอบรับที่ดีก็จะต่อยอดต่อไป โดยเทศบาลฯ ได้ขอกู้เกิน 100 ล้านบาทเพื่อจัดซื้อรถเมล์ขนาด 20 ที่นั่งอีกประมาณ 40 คันมาให้บริการตามเส้นทางที่กำหนด จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 3 สาย 10 คัน และในอนาคตเมื่อระบบขนส่งได้รับการตอบรับก็จะออกเทศบัญญัติเมืองเกี่ยวกับการใช้รถ เช่น เขตคูเมืองห้ามรถเข้าวันเสาร์-อาทิตย์ หากจะเข้าต้องเสียค่าใช้จ่าย เพิ่มจุดห้ามจอดเพื่อลดการใช้รถส่วนบุคคล โซนนิ่งการใช้พื้นที่เขตเมือง กำหนดอาคารต้องสูงไม่เกิน 12 เมตร กำหนดโทนสีอาคารเพื่อมุ่งไปสู่เมืองมรดกโลกที่มีความสง่างามทางศิลปะ และวัฒนธรรมล้านนา
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงินแบบให้เปล่าจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก โดยมีธนาคารโลกเป็นผู้ประสานงาน สำนักนโยบายแผนการจราจรและขนส่ง กระทรวงคมนาคมเป็นองค์กรร่วมดำเนินการ มีสำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังเป็นผู้ลงนามความร่วมมือในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย ซึ่งโครงการยังเน้นการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนการขนส่งและจราจรในเมืองเชียงใหม่ และการออกแบบเส้นทางสำหรับพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ด้วย