xs
xsm
sm
md
lg

เปิดประวัติ “พระพุทธสุทธิมงคล” พระประทานอุโบสถวัดเทวสังฆารามพระอารามหลวง กาญจนบุรี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วัดเทวสังฆาราม ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2505 และวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2506 ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาทรงทอดพระกฐินต้น ในโอกาสเดียวกันนี้ ยังได้พระราชทานนาม พระประทานในพระอุโบสถว่า “พระพุทธสุทธิมงคล” ซึ่งได้ทรงพระสุหร่ายศิลาจารึกพระนามพระราชทานนี้ด้วย
กาญจนบุรี - เปิดประวัติ “พระพุทธสุทธิมงคล” พระประทานอุโบสถวัดเทวสังฆารามพระอารามหลวง (วัดเหนือ) อำเมือง จังหวัดกาญจนบุรี “ในหลวง” ทรงพระราชทานนามทั้งจารึกพระปรมาภิไธย “ภปร.” เหนือผ้าทิพย์แห่งพระพุทธรูปปางประทานพร และทรงมีพระราชานุญาตให้จัดสร้างขึ้นเพื่อให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาไว้บูชา โดยรายได้เพื่อบำรุงวัดฯ

พระครูอนุกูล กาญจนกิจ เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม พระอารามหลวง (วัดเหนือ) เจ้าอาวาสองค์ที่ 13 องค์ปัจจุบัน เผยว่า วัดเทวสังฆารามก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2448 เป็นวัดเก่าแก่โบราณแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี ชาวบ้านทั่วไปเรียกกันติดปากว่า “วัดเหนือ” ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำศรีสวัสดิ์ จะสร้างขึ้นเมื่อใดยังหาหลักฐานไม่ได้แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าคงจะสร้างมาได้เกือบ 200 ปีแล้ว โดยรู้กันเพียงว่า “ท่านสมภารเสี่ยง” เป็นผู้สร้าง ตามคำบอกเล่าประกอบเหตุการณ์พอจะประมวลได้ดังนี้

เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าโจมตีทำลายเผาผลาญบ้านเรือน ปราสาทราชวังยับเยินหมดสิ้นไปแล้ว ได้กวาดต้อนผู้คน และขนทรัพย์สินสมบัติแก้วแหวนเงินทอง ของมีค่าไปยังประเทศพม่าเมื่อ พ.ศ.2310 แล้วนั้น

ครั้งนั้น สามเณรเสี่ยง ยังเป็นสามเณร และเป็นบุตรของคนไทยผู้หนึ่ง ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ เมืองกาญจนบุรีเก่า ได้ถูกพม่ากวาดต้อนไปพร้อมกับโยมมารดาของท่าน และอยู่พม่าจนได้อุปสมบทเป็นภิกษุในประเทศพม่านั้น

ต่อมา ท่านปรารถนาที่จะเข้ามาประเทศไทยเพื่อเยี่ยมเยียนแผ่นดินไทยอันเป็นมาตุภูมิบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน ท่านจึงได้ชักชวนเพื่อนรักซึ่งเป็นคนไทยด้วยกันประมาณ 5-6 คน ปลอมตัวเป็นมอญเดินทางเข้ามา

ก่อนจะออกเดินทาง โยมมารดาของท่านได้บอกสถานที่ที่ได้ฝังทรัพย์ไว้ในบ้านเดิมของท่าน เล่ากันว่า เมื่อภิกษุเสี่ยง หรือเรียกตามฐานะในกาลต่อมาว่า “ท่านสมภารเสี่ยง” ได้เดินทางมาถึงเมืองกาญจนบุรีเก่า เห็นบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากเนื่องจากทางราชการได้ย้ายเมืองมาตั้งที่ใหม่ที่ตำบลปากแพรก ผู้คนส่วนใหญ่ก็ย้ายตามมา

“ท่านสมภารเสี่ยง” พิจารณาเห็นว่า เมืองเก่ามีแต่ชำรุดทรุดโทรมโรยราไปตามกาลเวลา ส่วนเมืองใหม่มีแต่ความเจริญรุ่งโรจน์ไพศาลสืบไป หากจะปรับปรุงวัดเก่าที่เมืองเก่าก็คงไม่เจริญรุ่งเรืองเท่ากับการสร้างวัดขึ้นใหม่ในเมืองใหม่ ท่านจึงตัดสินใจสร้างวัดขึ้นใหม่ในเมืองกาญจนบุรีใหม่ คือ “วัดเทวสังฆาราม” ในบัดนี้

“วัดเทวสังฆาราม” ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2505 และวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2506 ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาทรงทอดพระกฐินต้น

ในโอกาสเดียวกันนี้ ยังได้พระราชทานนามพระประทานในพระอุโบสถว่า “พระพุทธสุทธิมงคล” ซึ่งได้ทรงพระสุหร่ายศาลาจารึกพระนามพระราชทานนี้ด้วย

นอกจากนี้ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จารึกพระปรมาภิไธย “ภปร.” ที่หน้าบันมุขหน้าศาลาการเปรียญที่สร้างขึ้นเป็นพลับพลาที่ประทับ เป็นพระราชานุสรณ์ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จารึกพระปรมาภิไธย ภปร.เหนือผ้าทิพย์แห่งพระพุทธรูปปางประทานพรที่วัดสร้างขึ้นในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ และได้มีพระมหากรุณาธิคุณทรงบรรจุแผ่นทองคำ เงิน นากในเบ้าพิธีหล่อพระ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชานุญาตให้จัดสร้างขึ้นเพื่อให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาไว้บูชา โดยรายได้เพื่อบำรุงวัดฯ

นับจากปี พ.ศ.2506 เป็นต้นมา วัดได้จัดสร้างให้ประชาชนเช่าไปเพื่อบูชาสืบต่อเนื่องมาโดยตลอดตามวัตถุประสงค์ของวัดจนถึงปัจจุบัน โดยมีรูปแบบองค์เหมือนเดิม เพราะประชาชนรุ่นหลังยังคงมีจิตศรัทธามั่นคงเสมือนเช่นเดียวกันกับประชาชนรุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ในคราวปี 2506 ที่จัดสร้างพระ ภปร.ครั้งแรก ครั้งนั้นยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ซึ่งได้มาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย และทรงเยี่ยมราษฎร พระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญทั้งปวงนี้เป็นการพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณแก่วัด และพสกนิกรชาวกาญจนบุรีเป็นอย่างยิ่ง
ภายในพระอุโบสถหลังเก่า
ท่านสมภารเสี่ยง เป็นผู้สร้างวัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) และเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 1
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ซึ่งได้มาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย
พระครูอนุกูล กาญจนกิจ เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม พระอารามหลวง (วัดเหนือ) เจ้าอาวาสองค์ที่ 13 องค์ปัจจุบัน
พระอุโบสถหลังใหม่
ข้างพระอุโบสถหลังเก่ามีมณฑป สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือสร้างรุ่นราวคราวเดียวกันกับพระอุโบสถ มีรูปปั้นด้านหน้าเป็นรูปคนนุ่งกางเกงขายาว สวมเสื้อคอปิดยืนอยู่ 2 ข้างทางเข้า
ลักษณะพระอุโบสถหลังคาเชิงซ้อนด้านหน้ามีมุขหับเผย (ศิลปะอยุธยา) ส่วนเครื่องลำยอง (ช่อฟ้า) น่าจะสร้างในสมัยหลัง
.พระอุโบสถเก่า วัดเทวสังฆาราม โดยฝีมือช่างหลวงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เจดีย์ย่อมุมไม้ 12 ส่วนกลางทรงระฆังสูง ตกแต่งลวดลายพรหมพฤกษาปล้องไฉน แสดงด้วยบัวกลุ่ม 5 ชั้นปลายสุดชำรุดหายไป ด้านล่างคอระฆังประดับลายกลีบบัวซ้อน 1 ชั้น เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ภาพเทพชุมนุมอยู่บริเวณเหนือหน้าต่างในอุโบสถ อันได้แก่ เทพยดาหน้ามนุษย์ เทพยดาหน้ายักษ์ และเทพยดาหน้าครุฑ กำลังแสดงความเคารพพระพุทธเจ้าโดยสมมุติว่าในอุโบสถเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ด้านบนถัดจากเทพชุมนุมคือหมู่ทวยเทพใหญ่น้อย
.ภาพการเสด็จประพาสอุทยาน เจ้าชายสิทธัตถะทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง 4




กำลังโหลดความคิดเห็น