ยกวัดปากน้ำญี่ปุ่น เป็น 1 ใน 7 พุทธสถานสำคัญของจังหวัดชิบา ญี่ปุ่น “สมเด็จวัดปากน้ำ” เผย เป็นวัดไทยที่สมบูรณ์แบบ ศูนย์กลางเผยแพร่พุทธศาสนา จิตใจคนไทย-ญี่ปุ่น และสอนนวดไทย แกะผัก ผลไม้
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากวัดปากน้ำฯได้ก่อตั้งวัดปากน้ำญี่ปุ่นที่จังหวัดชิบา เมื่อปี 2539 เป็นวัดพระสงฆ์ไทยแห่งแรกในญี่ปุ่นที่สร้างขึ้นโดยกำลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจ และที่บำเพ็ญทานการกุศล เผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมไทย เมื่อเร็วๆ นี้อาตมาได้รับรายงานว่า ทางจังหวัดชิบา ได้ยกย่องให้วัดปากน้ำญี่ปุ่นให้เป็น 1 ใน 7 วัด และพุทธสถานสำคัญของจังหวัดชิบา อันได้แก่ 1.วัดนาริตะซังชินโชจิ 2.ศาลเจ้าคาโทริจิงกู 3.วัดคาซาโมริคันนง 4.เทวรูปเจ้าแม่กวนอิมแห่งอ่าวโตเกียว 5.วัดปากน้ำญี่ปุ่น 6.วัดนิฮงจิภูเขาโนโกะงิริยะมะ และ 7.วัดทันโจจิ โดยทางจังหวัดชิบาได้นำภาพพร้อมประวัติโดยย่อพิมพ์เป็นแผ่นพับแนะนำวัดปากน้ำ ว่า เป็นที่พึ่งทางใจของคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีต้นไม้นานาพรรณในสวนพฤกษาภายในวัดเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย นั่งรถแท็กซี่ประมาณ 30 นาทีจากสนามบินนาริตะ เพื่อแจกนักนักท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวและโรงแรมต่างๆ นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง
วัดปากน้ำญี่ปุ่น คือ ตัวแทนวัดไทยโดยสมบรูณ์แบบบนพื้นที่ 7 ไร่เศษ มีอุโบสถจตุรมุขสร้างขึ้นเพื่อเป็นการถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภปร.กับพระนามาภิไธยย่อ สก.และตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ประดิษฐานไว้ที่หน้าบัน 3 ด้านของจตุรมุข เพื่อเป็นเครื่องอนุสรณ์ และมีอาคารประกอบ 5 อาคาร ได้แก่ 1.อาคารพระมงคลเทพมุนี 2 ชั้นใช้เป็นศาลาการเปรียญ 2.อาคารสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ 5 ชั้น ใช้เป็นสถานที่พัก 3.อาคารสามัคคีรังสฤษฎ์ 2 ชั้น ใช้เป็นกุฏิที่พักสงฆ์ 4.อาคารพิมทิตยารักษ์ เป็นอาคารชั้นเดียว ใช้เป็นกุฏิเจ้าอาวาส 5.อาคารสัคคโสปาณ เป็นอาคารชั้นเดียว ใช้เป็นสำนักงาน เป็นโรงครัว เป็นที่ฉันภัตตาหารและเป็นสถานที่บำเพ็ญกุศล ปัจจุบันได้มีการซื้อที่ดินเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ และมีการเพิ่มเติมก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างจากเดิมมีพื้นที่ประมาณ 15 ไร่
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ กล่าวว่า วัดปากน้ำญี่ปุ่น มีความพร้อมในการเป็นวัดแบบไทย ซึ่งเป็นศูนย์กลางรวมใจของพุทธศาสนิกชนในญี่ปุ่น และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนความสัมพันธ์ของชาวไทย อีกทั้งยังได้ดำเนินกิจกรรมบริการชุมชนไทย ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียว อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการกงสุลสัญจร โครงการฝึกอบรมนวดแผนไทย โครงการฝึกอาชีพ แกะสลักผลไม้ ประกอบอาหารไทย และเปิดสอนภาษาไทยสำหรับชาวไทย หรือชาวญี่ปุ่น ที่มีความสนใจ หากวัดมีการปฎิบัติธรรมจะมีชาวไทยและชาวญี่ปุ่นเข้าร่วมทุกครั้งไม่น้อยกว่า 100 คน และเมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการจัดพิธีทอดกฐินพระราชทานที่วัดปากน้ำญี่ปุ่นมีโยมคนไทย ญี่ปุ่นเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก มีการออกร้าน 70 ร้าน เงินยอดกฐิน 13 ล้านเยน คิดเป็นเงินไทย 5 ล้านบาท ซึ่งการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศนั้น อาตมาสานต่องานเจ้าอาวาสองค์ก่อน พระมงคลเทพมุนี หรือ หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ นอกจากวัดปากน้ำญี่ปุ่นแล้ว ยังมีการสร้างวัดปากน้ำที่อเมริกาที่เมืองเพนซิลเวเนีย คือ วัดมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำโอไฮโอ วัดปากน้ำมิชิแกน วัดปากน้ำนิวซีแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ และวัดปากน้ำพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยการเผยแพร่พุทธศาสนาในต่างประเทศนั้นเน้นการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานฝึกปฏิบัติด้านจิตใจเป็นส่วนใหญ่
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากวัดปากน้ำฯได้ก่อตั้งวัดปากน้ำญี่ปุ่นที่จังหวัดชิบา เมื่อปี 2539 เป็นวัดพระสงฆ์ไทยแห่งแรกในญี่ปุ่นที่สร้างขึ้นโดยกำลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจ และที่บำเพ็ญทานการกุศล เผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมไทย เมื่อเร็วๆ นี้อาตมาได้รับรายงานว่า ทางจังหวัดชิบา ได้ยกย่องให้วัดปากน้ำญี่ปุ่นให้เป็น 1 ใน 7 วัด และพุทธสถานสำคัญของจังหวัดชิบา อันได้แก่ 1.วัดนาริตะซังชินโชจิ 2.ศาลเจ้าคาโทริจิงกู 3.วัดคาซาโมริคันนง 4.เทวรูปเจ้าแม่กวนอิมแห่งอ่าวโตเกียว 5.วัดปากน้ำญี่ปุ่น 6.วัดนิฮงจิภูเขาโนโกะงิริยะมะ และ 7.วัดทันโจจิ โดยทางจังหวัดชิบาได้นำภาพพร้อมประวัติโดยย่อพิมพ์เป็นแผ่นพับแนะนำวัดปากน้ำ ว่า เป็นที่พึ่งทางใจของคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีต้นไม้นานาพรรณในสวนพฤกษาภายในวัดเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย นั่งรถแท็กซี่ประมาณ 30 นาทีจากสนามบินนาริตะ เพื่อแจกนักนักท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวและโรงแรมต่างๆ นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง
วัดปากน้ำญี่ปุ่น คือ ตัวแทนวัดไทยโดยสมบรูณ์แบบบนพื้นที่ 7 ไร่เศษ มีอุโบสถจตุรมุขสร้างขึ้นเพื่อเป็นการถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภปร.กับพระนามาภิไธยย่อ สก.และตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ประดิษฐานไว้ที่หน้าบัน 3 ด้านของจตุรมุข เพื่อเป็นเครื่องอนุสรณ์ และมีอาคารประกอบ 5 อาคาร ได้แก่ 1.อาคารพระมงคลเทพมุนี 2 ชั้นใช้เป็นศาลาการเปรียญ 2.อาคารสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ 5 ชั้น ใช้เป็นสถานที่พัก 3.อาคารสามัคคีรังสฤษฎ์ 2 ชั้น ใช้เป็นกุฏิที่พักสงฆ์ 4.อาคารพิมทิตยารักษ์ เป็นอาคารชั้นเดียว ใช้เป็นกุฏิเจ้าอาวาส 5.อาคารสัคคโสปาณ เป็นอาคารชั้นเดียว ใช้เป็นสำนักงาน เป็นโรงครัว เป็นที่ฉันภัตตาหารและเป็นสถานที่บำเพ็ญกุศล ปัจจุบันได้มีการซื้อที่ดินเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ และมีการเพิ่มเติมก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างจากเดิมมีพื้นที่ประมาณ 15 ไร่
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ กล่าวว่า วัดปากน้ำญี่ปุ่น มีความพร้อมในการเป็นวัดแบบไทย ซึ่งเป็นศูนย์กลางรวมใจของพุทธศาสนิกชนในญี่ปุ่น และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนความสัมพันธ์ของชาวไทย อีกทั้งยังได้ดำเนินกิจกรรมบริการชุมชนไทย ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียว อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการกงสุลสัญจร โครงการฝึกอบรมนวดแผนไทย โครงการฝึกอาชีพ แกะสลักผลไม้ ประกอบอาหารไทย และเปิดสอนภาษาไทยสำหรับชาวไทย หรือชาวญี่ปุ่น ที่มีความสนใจ หากวัดมีการปฎิบัติธรรมจะมีชาวไทยและชาวญี่ปุ่นเข้าร่วมทุกครั้งไม่น้อยกว่า 100 คน และเมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการจัดพิธีทอดกฐินพระราชทานที่วัดปากน้ำญี่ปุ่นมีโยมคนไทย ญี่ปุ่นเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก มีการออกร้าน 70 ร้าน เงินยอดกฐิน 13 ล้านเยน คิดเป็นเงินไทย 5 ล้านบาท ซึ่งการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศนั้น อาตมาสานต่องานเจ้าอาวาสองค์ก่อน พระมงคลเทพมุนี หรือ หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ นอกจากวัดปากน้ำญี่ปุ่นแล้ว ยังมีการสร้างวัดปากน้ำที่อเมริกาที่เมืองเพนซิลเวเนีย คือ วัดมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำโอไฮโอ วัดปากน้ำมิชิแกน วัดปากน้ำนิวซีแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ และวัดปากน้ำพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยการเผยแพร่พุทธศาสนาในต่างประเทศนั้นเน้นการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานฝึกปฏิบัติด้านจิตใจเป็นส่วนใหญ่