ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - เผยสถิติจังหวัดสำรวจความพอใจของชาวเชียงใหม่ต่อการแก้ปัญหายาเสพติด ปี 55 รวม 500 ตัวอย่างพบพอใจเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 54 โชว์ตัวเลขพอใจค่อนข้างมาก 41.6% จากปีกลาย 31.0% และพอใจมากที่สุดเพิ่มเป็น 3.8% จาก 3.2%
นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า หลังจากจังหวัดได้มอบหมายให้สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงใหม่สำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงาน เพื่อนำผลการติดตามประเมินสถานการณ์ปัญหายาเสพติดดังกล่าวเป็นข้อเสนอแนะให้แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาในประเด็นต่างๆ และนำไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงานและกำหนดยุทธศาสตร์ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาในปัจจุบันต่อไปนั้น
สำนักงานสถิติจังหวัดฯ ได้เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการส่งเจ้าหน้าที่ไปสัมภาษณ์ประชาชน 500 ตัวอย่างในทุกอำเภอ กระจายข้อมูลตามเพศ อายุและสถานภาพการทำงาน ระหว่าง 1-20 ก.ย. 55 ปรากฏผล ดังนี้
1. การเคยพบเห็นหรือรับรู้สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 57.0 ตอบว่า เคยพบเห็น/รับรู้ ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ร้อยละ 43.0 ตอบว่าไม่เคยพบเห็น/เคยรับรู้
ด้านผู้ค้า/ผู้ผลิตยาเสพติด พบว่า ร้อยละ 27.8 เคยพบเห็น/เคยรับรู้ ผู้ค้า/ผู้ผลิตยาเสพติด ในขณะที่ร้อยละ 72.2 ตอบว่า ไม่เคยพบเห็น/ไม่เคยรับรู้
ด้านแหล่งมั่วสุมเสพยาเสพติด พบว่า ร้อยละ 36.6 เคยพบเห็น/เคยรับรู้ แหล่งมั่วสุมเสพยาเสพติด ส่วนร้อยละ 63.4 ตอบว่า ไม่เคยพบเห็น/ไม่เคยรับรู้
ด้านแหล่งมั่วสุมค้ายาเสพติด พบว่าร้อยละ 17 เคยพบเห็น/เคยรับรู้ ส่วนร้อยละ 83.0 ตอบว่าไม่เคยพบเห็น/ไม่เคยรับรู้
ด้านเจ้าหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พบว่า ร้อยละ 6.4 เคยพบเห็น/เคยรับรู้ ในขณะที่ร้อยละ 93.6 ตอบว่าไม่เคยพบเห็น/ไม่เคยรับรู้
2.การเคยพบเห็นหรือรับรู้ถึงแหล่งมั่วสุมยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 34.2 ประชาชนรับรู้ว่าในบริเวณบ้านพักอาศัยมีแหล่งมั่วสุมยาเสพติด ร้อยละ 32.2 ตอบว่าไม่มี ร้อยละ 33.6 ตอบว่า ไม่ทราบ
การพบเห็นหรือรับรู้ถึงแหล่งมั่วสุมยาเสพติด ในศาลาประจำหมู่บ้าน/สวนสาธารณะ ร้อยละ 25.8 ตอบว่าเคยพบเห็น/รับรู้ ร้อยละ 42.2 ไม่มี และร้อยละ 32.0 ตอบว่าไม่ทราบ
การพบเห็นหรือรับรู้ถึงแหล่งมั่วสุมยาเสพติดในกระท่อม/เพิงพักมีแหล่งมั่วสุมยาเสพติด โดยร้อยละ 21.2 ตอบว่าเคยพบเห็น ในขณะที่ร้อยละ 46.6 ตอบว่าไม่มี และอีกร้อยละ 32.2 ตอบว่าไม่ทราบ
3.การเคยพบเห็นหรือรับรู้ว่ามีหน่วยงาน/กลุ่มบุคคลที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนที่พักอาศัย ผลสำรวจพบว่าประชาชนร้อยละ 90.4 รับรู้ว่าแกนนำชุมชน/กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/คณะกรรมการหมู่บ้าน/คณะกรรมการชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 4.6 ตอบว่าไม่มี และร้อยละ 5.0 ตอบว่าไม่ทราบ
สำหรับคำถามที่ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนที่พักอาศัยหรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 81.2 ตอบว่ามี ส่วนร้อยละ 12.6 ตอบว่าไม่มี และร้อยละ 6.2 ตอบว่าไม่ทราบ
ด้านการมีส่วนร่วมของทหารในการดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนที่พักอาศัย พบว่าประชาชนร้อยละ 83.0 ตอบว่ามี ร้อยละ 8.4 ตอบว่าไม่มี และอีกร้อยละ 8.6 ตอบว่าไม่ทราบ
ผลสำรวจความรุนแรงด้านผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในหมู่บ้าน พบว่า ประชาชนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 3.2 ตอบว่า มีระดับความรุนแรงมากที่สุด ร้อยละ 3.2 ตอบว่ารุนแรง ร้อยละ 14.8 ตอบว่าค่อนข้างรุนแรง ร้อยละ 18 ไม่เคยรุนแรง 12.2 ไม่รุนแรงร้อยละ 26.2 ไม่มีปัญหาร้อยละ 15.8 และไม่ทราบ/ไม่ตอบร้อยละ 9.8
ด้านความพึงพอใจในการทำงานของหน่วยงาน/เจ้าหน้าที่ (ภาครัฐ) เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.8 มีความพึงพอใจปานกลาง ขณะที่ร้อยละ 41.8 มีความพึงพอใจในระดับค่อนข้างมากต่อการดำเนินงานเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดด้านการปราบปราม และร้อยละ 38.8 อยู่ในระดับค่อนข้างมาก
สำหรับการดำเนินงานเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดด้านการป้องกัน ร้อยละ 36.4 มีความพึงพอใจในระดับค่อนข้างมากต่อการดำเนินการด้านการบำบัดฟื้นฟู
ขณะที่ประเด็นคำถามความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน เพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยภาพรวม พบว่า ชาวเชียงใหม่ร้อยละ 41.0 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ค่อนข้างมาก รองลงมาอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 22.2 ระดับมากร้อยละ 14.4 ระดับค่อนข้างน้อยร้อยละ 14.8 ระดับพอใจมากที่สุดร้อยละ 3.8 ระดับน้อยร้อยละ 1.2 และระดับไม่พอใจร้อยละ 0.8
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่กล่าวเพิ่มเติมถึงผลสำรวจระดับความพึงพอใจของประชาชนชาวเชียงใหม่ต่อการดำเนินงานเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยภาพรวมเปรียบเทียบระหว่างปี 2554 กับปี 2555 ว่า ประชาชนมีความพึงพอใจในการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดในปี 2555 มากกว่าปี 2554 โดยเฉพาะความพึงพอใจในระดับค่อนข้างมาก ซึ่งมีจำนวนถึงร้อยละ 41.6 จากเดิมร้อยละ 31.0 ส่วนในระดับมากที่สุดในปี 2555 มีจำนวน 3.8 ในขณะที่ปี 2554 มีจำนวนร้อยละ 3.2
นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า หลังจากจังหวัดได้มอบหมายให้สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงใหม่สำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงาน เพื่อนำผลการติดตามประเมินสถานการณ์ปัญหายาเสพติดดังกล่าวเป็นข้อเสนอแนะให้แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาในประเด็นต่างๆ และนำไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงานและกำหนดยุทธศาสตร์ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาในปัจจุบันต่อไปนั้น
สำนักงานสถิติจังหวัดฯ ได้เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการส่งเจ้าหน้าที่ไปสัมภาษณ์ประชาชน 500 ตัวอย่างในทุกอำเภอ กระจายข้อมูลตามเพศ อายุและสถานภาพการทำงาน ระหว่าง 1-20 ก.ย. 55 ปรากฏผล ดังนี้
1. การเคยพบเห็นหรือรับรู้สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 57.0 ตอบว่า เคยพบเห็น/รับรู้ ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ร้อยละ 43.0 ตอบว่าไม่เคยพบเห็น/เคยรับรู้
ด้านผู้ค้า/ผู้ผลิตยาเสพติด พบว่า ร้อยละ 27.8 เคยพบเห็น/เคยรับรู้ ผู้ค้า/ผู้ผลิตยาเสพติด ในขณะที่ร้อยละ 72.2 ตอบว่า ไม่เคยพบเห็น/ไม่เคยรับรู้
ด้านแหล่งมั่วสุมเสพยาเสพติด พบว่า ร้อยละ 36.6 เคยพบเห็น/เคยรับรู้ แหล่งมั่วสุมเสพยาเสพติด ส่วนร้อยละ 63.4 ตอบว่า ไม่เคยพบเห็น/ไม่เคยรับรู้
ด้านแหล่งมั่วสุมค้ายาเสพติด พบว่าร้อยละ 17 เคยพบเห็น/เคยรับรู้ ส่วนร้อยละ 83.0 ตอบว่าไม่เคยพบเห็น/ไม่เคยรับรู้
ด้านเจ้าหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พบว่า ร้อยละ 6.4 เคยพบเห็น/เคยรับรู้ ในขณะที่ร้อยละ 93.6 ตอบว่าไม่เคยพบเห็น/ไม่เคยรับรู้
2.การเคยพบเห็นหรือรับรู้ถึงแหล่งมั่วสุมยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 34.2 ประชาชนรับรู้ว่าในบริเวณบ้านพักอาศัยมีแหล่งมั่วสุมยาเสพติด ร้อยละ 32.2 ตอบว่าไม่มี ร้อยละ 33.6 ตอบว่า ไม่ทราบ
การพบเห็นหรือรับรู้ถึงแหล่งมั่วสุมยาเสพติด ในศาลาประจำหมู่บ้าน/สวนสาธารณะ ร้อยละ 25.8 ตอบว่าเคยพบเห็น/รับรู้ ร้อยละ 42.2 ไม่มี และร้อยละ 32.0 ตอบว่าไม่ทราบ
การพบเห็นหรือรับรู้ถึงแหล่งมั่วสุมยาเสพติดในกระท่อม/เพิงพักมีแหล่งมั่วสุมยาเสพติด โดยร้อยละ 21.2 ตอบว่าเคยพบเห็น ในขณะที่ร้อยละ 46.6 ตอบว่าไม่มี และอีกร้อยละ 32.2 ตอบว่าไม่ทราบ
3.การเคยพบเห็นหรือรับรู้ว่ามีหน่วยงาน/กลุ่มบุคคลที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนที่พักอาศัย ผลสำรวจพบว่าประชาชนร้อยละ 90.4 รับรู้ว่าแกนนำชุมชน/กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/คณะกรรมการหมู่บ้าน/คณะกรรมการชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 4.6 ตอบว่าไม่มี และร้อยละ 5.0 ตอบว่าไม่ทราบ
สำหรับคำถามที่ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนที่พักอาศัยหรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 81.2 ตอบว่ามี ส่วนร้อยละ 12.6 ตอบว่าไม่มี และร้อยละ 6.2 ตอบว่าไม่ทราบ
ด้านการมีส่วนร่วมของทหารในการดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนที่พักอาศัย พบว่าประชาชนร้อยละ 83.0 ตอบว่ามี ร้อยละ 8.4 ตอบว่าไม่มี และอีกร้อยละ 8.6 ตอบว่าไม่ทราบ
ผลสำรวจความรุนแรงด้านผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในหมู่บ้าน พบว่า ประชาชนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 3.2 ตอบว่า มีระดับความรุนแรงมากที่สุด ร้อยละ 3.2 ตอบว่ารุนแรง ร้อยละ 14.8 ตอบว่าค่อนข้างรุนแรง ร้อยละ 18 ไม่เคยรุนแรง 12.2 ไม่รุนแรงร้อยละ 26.2 ไม่มีปัญหาร้อยละ 15.8 และไม่ทราบ/ไม่ตอบร้อยละ 9.8
ด้านความพึงพอใจในการทำงานของหน่วยงาน/เจ้าหน้าที่ (ภาครัฐ) เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.8 มีความพึงพอใจปานกลาง ขณะที่ร้อยละ 41.8 มีความพึงพอใจในระดับค่อนข้างมากต่อการดำเนินงานเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดด้านการปราบปราม และร้อยละ 38.8 อยู่ในระดับค่อนข้างมาก
สำหรับการดำเนินงานเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดด้านการป้องกัน ร้อยละ 36.4 มีความพึงพอใจในระดับค่อนข้างมากต่อการดำเนินการด้านการบำบัดฟื้นฟู
ขณะที่ประเด็นคำถามความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน เพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยภาพรวม พบว่า ชาวเชียงใหม่ร้อยละ 41.0 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ค่อนข้างมาก รองลงมาอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 22.2 ระดับมากร้อยละ 14.4 ระดับค่อนข้างน้อยร้อยละ 14.8 ระดับพอใจมากที่สุดร้อยละ 3.8 ระดับน้อยร้อยละ 1.2 และระดับไม่พอใจร้อยละ 0.8
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่กล่าวเพิ่มเติมถึงผลสำรวจระดับความพึงพอใจของประชาชนชาวเชียงใหม่ต่อการดำเนินงานเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยภาพรวมเปรียบเทียบระหว่างปี 2554 กับปี 2555 ว่า ประชาชนมีความพึงพอใจในการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดในปี 2555 มากกว่าปี 2554 โดยเฉพาะความพึงพอใจในระดับค่อนข้างมาก ซึ่งมีจำนวนถึงร้อยละ 41.6 จากเดิมร้อยละ 31.0 ส่วนในระดับมากที่สุดในปี 2555 มีจำนวน 3.8 ในขณะที่ปี 2554 มีจำนวนร้อยละ 3.2