ASTVผู้จัดการออนไลน์-อพท.พื้นที่หมู่เกาะช้างฯ โชว์ผลงานเพิ่มรายได้ชุมชน 9 เดือนแรกโต 56% จากการให้บริการกิจกรรมทางการท่องเที่ยว ที่พัก และสินค้าโอทอป ส่วนผลงานเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดได้มากสุดถึงระดับ 5 พร้อมเดินหน้าเป็นพื้นที่ Low Carbon ตามนโยบาย
พล.ต.หญิงจรัสพิมพ์ ธีรลักษณ์ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ.1) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. เปิดเผยว่า ได้นำเสนอผลปฏิบัติงานรอบ 12 เดือน ของปีงบประมาณ 2555 ต่อ พ.อ.ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการ อพท. ซึ่งพบว่าจากการดำเนินงานด้านการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนให้มีความเข้มแข็งบนพื้นฐานของชุมชนเอง เพื่อให้ชุมชนมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการท่องเที่ยวภายในชุมชน ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคีที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน โดย อพท.
ในส่วนของพื้นที่ สพพ.1 ได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายในพื้นที่ชุมชนที่มีศักยภาพใน 3 ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ ชุมชนน้ำเชี่ยว ชุมชนสลักคอก และชุมชนแหลมกลัด
ผลจากการดำเนินงาน พร้อมการติดตามผลด้วยการติดตามรายได้จากชุมชนทั้ง 3 ชุมชนในทุกๆ สิ้นเดือน เป็นระยะเวลา 9 เดือน เริ่มตั้งแต่ ม.ค.-ก.ย.55 พบว่า แต่ละชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 56% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยชุมชนสลักคอก มีรายได้จากกิจกรรมเรือแจว และพายเรือคายัค ชุมชนแหลมกลัด มีรายได้จากค่าบริการนักท่องเที่ยว ค่าบริการอาหารและเครื่องดื่ม ค่าจำหน่ายสินค้าโอทอป ค่าจำหน่ายอาหารทะเล ค่าที่พักโฮมสเตย์ และค่าวิทยากร และชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว มีรายได้จากค่าบริการที่พัก ค่าอาหาร ค่าบริการกิจกรรมท่องเที่ยวในชุมชน
นอกจากนั้น ในส่วนของตัวชี้วัดด้านการลดภาวะโลกร้อนในพื้นที่เกาะหมาก พบว่าสถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมซึ่ง อพท.จัดขึ้น สรุปรวมถึงเดือน ก.ย.55 พบว่า ทุกสถานประกอบการสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้เฉลี่ย 48% และอยู่ในระดับ 5 ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ดีที่สุด
สำหรับพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้าง และพื้นที่เชื่อมโยง ประกอบด้วย พื้นที่ชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะที่สำคัญ 3 แห่ง ได้แก่ หมู่เกาะช้าง หมู่เกาะหมาก และหมู่เกาะกูด ซึ่งผลการศึกษาปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอน (carbon foot print label) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ) โดยเก็บข้อมูลตัวอย่างจากสถานบริการร้านค้า โรงแรม รีสอร์ต โฮมสเตย์ ร้านอาหาร การขนส่ง ผู้ประกอบการ
อพท. ได้บรรจุโครงการปกป้องสภาพภูมิอากาศรวมไว้ในการจัดทำแผนปฏิบัติงาน 4 ปี เพื่อพัฒนาให้พื้นที่หมู่เกาะหมากเป็นต้นแบบของการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งส่งเสริมการใช้พลังงาน และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในภาคการท่องเที่ยวแบบลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ (Low carbon)
พล.ต.หญิงจรัสพิมพ์ ธีรลักษณ์ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ.1) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. เปิดเผยว่า ได้นำเสนอผลปฏิบัติงานรอบ 12 เดือน ของปีงบประมาณ 2555 ต่อ พ.อ.ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการ อพท. ซึ่งพบว่าจากการดำเนินงานด้านการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนให้มีความเข้มแข็งบนพื้นฐานของชุมชนเอง เพื่อให้ชุมชนมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการท่องเที่ยวภายในชุมชน ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคีที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน โดย อพท.
ในส่วนของพื้นที่ สพพ.1 ได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายในพื้นที่ชุมชนที่มีศักยภาพใน 3 ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ ชุมชนน้ำเชี่ยว ชุมชนสลักคอก และชุมชนแหลมกลัด
ผลจากการดำเนินงาน พร้อมการติดตามผลด้วยการติดตามรายได้จากชุมชนทั้ง 3 ชุมชนในทุกๆ สิ้นเดือน เป็นระยะเวลา 9 เดือน เริ่มตั้งแต่ ม.ค.-ก.ย.55 พบว่า แต่ละชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 56% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยชุมชนสลักคอก มีรายได้จากกิจกรรมเรือแจว และพายเรือคายัค ชุมชนแหลมกลัด มีรายได้จากค่าบริการนักท่องเที่ยว ค่าบริการอาหารและเครื่องดื่ม ค่าจำหน่ายสินค้าโอทอป ค่าจำหน่ายอาหารทะเล ค่าที่พักโฮมสเตย์ และค่าวิทยากร และชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว มีรายได้จากค่าบริการที่พัก ค่าอาหาร ค่าบริการกิจกรรมท่องเที่ยวในชุมชน
นอกจากนั้น ในส่วนของตัวชี้วัดด้านการลดภาวะโลกร้อนในพื้นที่เกาะหมาก พบว่าสถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมซึ่ง อพท.จัดขึ้น สรุปรวมถึงเดือน ก.ย.55 พบว่า ทุกสถานประกอบการสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้เฉลี่ย 48% และอยู่ในระดับ 5 ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ดีที่สุด
สำหรับพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้าง และพื้นที่เชื่อมโยง ประกอบด้วย พื้นที่ชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะที่สำคัญ 3 แห่ง ได้แก่ หมู่เกาะช้าง หมู่เกาะหมาก และหมู่เกาะกูด ซึ่งผลการศึกษาปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอน (carbon foot print label) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ) โดยเก็บข้อมูลตัวอย่างจากสถานบริการร้านค้า โรงแรม รีสอร์ต โฮมสเตย์ ร้านอาหาร การขนส่ง ผู้ประกอบการ
อพท. ได้บรรจุโครงการปกป้องสภาพภูมิอากาศรวมไว้ในการจัดทำแผนปฏิบัติงาน 4 ปี เพื่อพัฒนาให้พื้นที่หมู่เกาะหมากเป็นต้นแบบของการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งส่งเสริมการใช้พลังงาน และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในภาคการท่องเที่ยวแบบลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ (Low carbon)