พระนครศรีอยุธยา - ชมรมสะตอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมกลุ่มข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชนที่เป็นชาวใต้ในกรุงเก่า ร่วมจัดงานประเพณีทำบุญสารทเดือนสิบคึกคัก มีการจัดขบวนแห่อย่างสนุกสนาน
วันนี้ (15 ต.ค.) ที่วัดพุทไธศวรรย์ ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ต.อ.ภูวดิท ชนะคชภัทร์ รอง ผบก.ภ.จว.พระนครศรีอยุธยา และประธานชมรมสะตอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยกลุ่มข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชนที่เป็นชาวใต้ มาทำงานประกอบอาชีพในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกันจัดงานประเพณีทำบุญสารทเดือนสิบ หรือวันหลองหมฺรับ ซึ่งเป็นประเพณีของภาคใต้ มีการจัดขบวนแห่อย่างสนุกสนาน นำอาหารถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ จากนั้นได้ประกอบพิธีชิงเปรต ซึ่งนำหมฺรับนำใส่ถุงชักรอกขึ้นไปยอดเสาแล้วปีนแย่งกันเป็นที่สนุกสนานเพราะเปรตที่มาร่วมพิธีเป็นคนแคระ
พ.ต.อ.ภูวดิท กล่าวว่า ประเพณีสาทรเดือนสิบของภาคใต้จะจัดขึ้นในวันแรม 14 ค่ำเดือนสิบ ซึ่งเรียกกันว่า “วันหลองหมฺรับ” แต่ละครอบครัวจะร่วมกันนำข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ มาจัดเป็นหมฺรับ หรือหมะหรับ คือจะนำกระบุง กระจาด ถาด หรือกะละมังมาเป็นภาชนะ แล้วรองก้นด้วยข้าวสาร ตามด้วยหอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล และเครื่องปรุงอาหาร ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ผักผลไม้ สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการจัดหมฺรับ คือ ขนม 5 อย่าง คือ ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับผู้ล่วงลับใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพ ขนมลา แทนเครื่องนุ่งห่มแพรพรรณ ขนมกง หรือ ขนมไข่ปลา แทนเครื่องประดับ ขนมดีซำ แทนเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย ขนมบ้า แทนสะบ้าใช้เล่น แล้วนำหมฺรับพร้อมภัตตาหารไปถวายวัดใกล้บ้าน หรือวัดที่มีความศรัทธาในงานเดือนสิบทุกๆ ปี
เมื่อขบวนแห่หมฺรับมาถึงวัดแล้ว ก็จะร่วมกันถวายภัตตาหารแด่ภิกษุสงฆ์ เสร็จแล้วจะร่วมกัน “ตั้งเปรต” เพื่อแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ในอดีตมักตั้งเปรตบริเวณโคนต้นไม้ หรือบริเวณกำแพงวัด แต่ปัจจุบัน นิยมตั้งบน “หลาเปรต” โดยอาหารที่จะตั้งนั้นจะเป็นขนมทั้ง 5 หรือ 6 อย่างดังกล่าวข้างต้น รวมถึงอาหารอื่นๆ ที่บรรพชนชอบ ตั้งเปรตเสร็จแล้ว พระสงฆ์จะสวดบังสุกุล โดยจับสายสิญจน์ที่ผูกไว้กับหลาเปรต เมื่อพิธีสงฆ์เสร็จสิ้น ผู้คนจะร่วมกัน “ชิงเปรต” โดยการแย่งชิงอาหารบนหลาเปรต
ทั้งนี้ นอกจากเพื่อความสนุกสนานแล้ว ยังมีความเชื่อว่าหากใครได้กินอาหารบนหลาเปรตจะได้รับกุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว เสร็จสิ้นการชิงเปรตต่างก็แยกย้ายกลับบ้านด้วยใจอิ่มบุญ
วันนี้ (15 ต.ค.) ที่วัดพุทไธศวรรย์ ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ต.อ.ภูวดิท ชนะคชภัทร์ รอง ผบก.ภ.จว.พระนครศรีอยุธยา และประธานชมรมสะตอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยกลุ่มข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชนที่เป็นชาวใต้ มาทำงานประกอบอาชีพในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกันจัดงานประเพณีทำบุญสารทเดือนสิบ หรือวันหลองหมฺรับ ซึ่งเป็นประเพณีของภาคใต้ มีการจัดขบวนแห่อย่างสนุกสนาน นำอาหารถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ จากนั้นได้ประกอบพิธีชิงเปรต ซึ่งนำหมฺรับนำใส่ถุงชักรอกขึ้นไปยอดเสาแล้วปีนแย่งกันเป็นที่สนุกสนานเพราะเปรตที่มาร่วมพิธีเป็นคนแคระ
พ.ต.อ.ภูวดิท กล่าวว่า ประเพณีสาทรเดือนสิบของภาคใต้จะจัดขึ้นในวันแรม 14 ค่ำเดือนสิบ ซึ่งเรียกกันว่า “วันหลองหมฺรับ” แต่ละครอบครัวจะร่วมกันนำข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ มาจัดเป็นหมฺรับ หรือหมะหรับ คือจะนำกระบุง กระจาด ถาด หรือกะละมังมาเป็นภาชนะ แล้วรองก้นด้วยข้าวสาร ตามด้วยหอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล และเครื่องปรุงอาหาร ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ผักผลไม้ สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการจัดหมฺรับ คือ ขนม 5 อย่าง คือ ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับผู้ล่วงลับใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพ ขนมลา แทนเครื่องนุ่งห่มแพรพรรณ ขนมกง หรือ ขนมไข่ปลา แทนเครื่องประดับ ขนมดีซำ แทนเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย ขนมบ้า แทนสะบ้าใช้เล่น แล้วนำหมฺรับพร้อมภัตตาหารไปถวายวัดใกล้บ้าน หรือวัดที่มีความศรัทธาในงานเดือนสิบทุกๆ ปี
เมื่อขบวนแห่หมฺรับมาถึงวัดแล้ว ก็จะร่วมกันถวายภัตตาหารแด่ภิกษุสงฆ์ เสร็จแล้วจะร่วมกัน “ตั้งเปรต” เพื่อแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ในอดีตมักตั้งเปรตบริเวณโคนต้นไม้ หรือบริเวณกำแพงวัด แต่ปัจจุบัน นิยมตั้งบน “หลาเปรต” โดยอาหารที่จะตั้งนั้นจะเป็นขนมทั้ง 5 หรือ 6 อย่างดังกล่าวข้างต้น รวมถึงอาหารอื่นๆ ที่บรรพชนชอบ ตั้งเปรตเสร็จแล้ว พระสงฆ์จะสวดบังสุกุล โดยจับสายสิญจน์ที่ผูกไว้กับหลาเปรต เมื่อพิธีสงฆ์เสร็จสิ้น ผู้คนจะร่วมกัน “ชิงเปรต” โดยการแย่งชิงอาหารบนหลาเปรต
ทั้งนี้ นอกจากเพื่อความสนุกสนานแล้ว ยังมีความเชื่อว่าหากใครได้กินอาหารบนหลาเปรตจะได้รับกุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว เสร็จสิ้นการชิงเปรตต่างก็แยกย้ายกลับบ้านด้วยใจอิ่มบุญ