เชียงราย - กรมประมงยกคณะขึ้นเชียงราย เปิดโรงแรมจัดสัมมนาหนุนเลี้ยงปลาบึก หรือ “ขงเบ้งฮื้อ” ชูเป็นปลาเศรษฐกิจที่สุดยอดทรหด โตปีละ 15 กก. ขายได้ราคาดี
วันนี้ (26 ก.ย. 55) ที่ห้องประชุมโรงแรมริมกกรีสอร์ท อ.เมือง จ.เชียงราย กรมประมงจัดการสัมมนาเรื่องการพัฒนาแนวทางการอนุรักษ์และเพาะเลี้ยงปลาบึก โดยมีนายสมหวัง พิมลบุตร รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานในพิธีเปิดและมีหน่วยงานภาครัฐในสังกัดกรมประมง ภาคเอกชนและประชาชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
นายสมหวังกล่าวว่า ปลาบึกถือเป็นปลาหนึ่งเดียวกันในโลกที่มีอยู่ตามธรรมชาติเฉพาะในแม่น้ำโขง และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งเดียวที่สามารถนำมาเพาะพันธุ์และเลี้ยงในบ่อดินเมื่อปี 2543 และตั้งแต่ปี 2526-2552 สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดได้ผลิตลูกปลาบึกจากแม่น้ำโขงได้ทั้งหมดกว่า 3,319,780 ตัวแล้ว
ดังนั้น การสัมมนาครั้งนี้จึงเป็นการสานต่อโดยมี 2 แนวทาง คือ การอนุรักษ์ และการเพาะพันธุ์เพิ่มเติม แต่กรณีการอนุรักษ์ปลาบึกธรรมชาติแม่น้ำโขงนั้น เราคงจะเข้าไปดำเนินการโดยตรงลำบากเพราะปลาบึกธรรมชาติอยู่ภายใต้ไซเตสที่มีข้อห้ามในการล่า การย้าย การจำหน่าย ฯลฯ แต่ก็มีการดำเนินการผ่านคณะกรรมการแม่น้ำโขง หรือเอ็มอาร์ซี สำหรับปลาบึกที่เพาะพันธุ์ในประเทศไทยยืนยันว่าไม่มีสูญพันธุ์ โดยปัจจุบันปลาบึกที่เพาะได้โตปีละ 15 กิโลกรัม ซึ่งไม่มีปลาชนิดใดโตเร็วเท่านี้
นายสมหวังกล่าวอีกว่า เพียงแต่ขณะนี้การเพาะเลี้ยงปลาบึกยังคงมีต้นทุนเรื่องอาหารที่แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ส่วนลูกปลาบึกที่กรมประมงตั้งเป็นราคากลางเอาไว้ คือ ตัวขนาด 2-3 นิ้วตัวละ 40 บาท ขนาด 3-5 นิ้ว ตัวละ 60 บาท และขนาด 5-7 นิ้ว ตัวละ 80 บาท อัตราการรอดก็สูงถึง 90-95% เมื่อเพาะได้ 3-5 ปีก็จะมีขนาดใหญ่ สามารถนำไปบริโภคได้ในราคาที่แตกต่างกันโดยยกตัวขึ้นน้ำกิโลกรัมละประมาณ 120 บาท และถ้าชำแหละขายก็จะสูงขึ้นตามลำดับ
ส่วนด้านการตลาดนั้นถือว่ามีแนวโน้มดี เพราะปลาบึกเป็นปลาที่มีเอกลักษณ์ที่มีต้นกำเนิดเฉพาะแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของเท่านั้น ผู้บริโภคก็ต้องการบริโภคเนื้อปลาบึก ทั้งยังมีเนื้ออร่อย รวมทั้งคนจีนเชื่อว่า เป็น “ขงเบ้งฮื้อ” คือ ความโชคดีและอายุยืน คนญี่ปุ่นถือว่าเป็นปลาค้ำจุนโลก ฯลฯ เพียงแต่ปัจจุบันยังไม่มีการส่งออก เพราะยังมีเรื่องไซเตสอยู่
อย่างไรก็ตาม เราสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากเรื่องปลาบึก และความเป็นหนึ่งเดียวที่เพาะพันธุ์ปลาบึกได้ เช่น ส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ ดึงดูดนักท่องเที่ยว ส่งเสริมพัฒนาสถานที่ที่เกี่ยวข้องที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย เพราะเป็นแห่งเดียวที่จับปลาบึกแม่น้ำโขงได้เมื่อหลายปีก่อน
นายเสน่ห์ ผลประสิทธิ์ อดีตผู้เชี่ยวชาญกรมประมงที่เพาะพันธุ์ปลาบึกได้เป็นครั้งแรกและปัจจุบันทำธุรกิจเลี้ยงปลาบึก กล่าวว่า เดิมคาดการณ์กันว่าปลาบึกเป็นปลาธรรมชาติที่ไม่ทนทานหรือทรหด เพราะต้องการน้ำไหลแรง และออกซิเจนตลอดเวลา แต่เมื่อเพาะเลี้ยงปลาบึกในบ่อดินกลับพบว่าเป็นปลาที่ทรหดมาก โดยสามารถปรับตัวเข้ากับบ่อดินได้ดีมาก เมื่อตัวเล็กก็กินเนื้อแต่พอโตขึ้นจะทิ้งฟันและกินปลา ทำให้คาดว่ามีความต้องการอาหารโปรตีนแค่ 16%
“ถือเป็นปลาในฝันของนักเลี้ยง ปัจจุบันยังพบว่าสามารถทนน้ำกร่อยหรือน้ำเค็มได้ดี ปรับตัวกินพืชน้ำได้ จึงถือปลาที่เนื้ออร่อย โตเร็ว ต้นทุนต่ำ ความนิยมสูง และปรับตัวได้ดี แต่ยังต้องการการบริหารจัดการที่ดี”
ด้าน นายมานพ แจ้งกิจ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการด้านการประมง กล่าวว่า ประเทศไทยเพาะพันธุ์ปลาบึกได้แห่งเดียวจึงต้องใช้โอกาสนี้ให้คุ้มค่าสูงสุด ทั้งเป็นปลาที่ยิ่งมีขนาดตัวโตก็ยิ่งราคาแพงขึ้น หากส่งเสริมเป็นเนื้อเฉพาะถิ่นที่มีชื่อเสียง เช่น ปลาคาเวียร์ ฯลฯ ในอนาคตก็จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างมาก นอกจากนี้ปลาบึกยังสามารถนำไปผสมพันธุ์กับปลาสวายจนได้ปลาบึกสยาม เพื่อรองรับตลาดอีกระดับและทดแทนปลาสวาย ปลาดอลลี่ ฯลฯ ได้ดีอีกด้วย
วันนี้ (26 ก.ย. 55) ที่ห้องประชุมโรงแรมริมกกรีสอร์ท อ.เมือง จ.เชียงราย กรมประมงจัดการสัมมนาเรื่องการพัฒนาแนวทางการอนุรักษ์และเพาะเลี้ยงปลาบึก โดยมีนายสมหวัง พิมลบุตร รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานในพิธีเปิดและมีหน่วยงานภาครัฐในสังกัดกรมประมง ภาคเอกชนและประชาชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
นายสมหวังกล่าวว่า ปลาบึกถือเป็นปลาหนึ่งเดียวกันในโลกที่มีอยู่ตามธรรมชาติเฉพาะในแม่น้ำโขง และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งเดียวที่สามารถนำมาเพาะพันธุ์และเลี้ยงในบ่อดินเมื่อปี 2543 และตั้งแต่ปี 2526-2552 สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดได้ผลิตลูกปลาบึกจากแม่น้ำโขงได้ทั้งหมดกว่า 3,319,780 ตัวแล้ว
ดังนั้น การสัมมนาครั้งนี้จึงเป็นการสานต่อโดยมี 2 แนวทาง คือ การอนุรักษ์ และการเพาะพันธุ์เพิ่มเติม แต่กรณีการอนุรักษ์ปลาบึกธรรมชาติแม่น้ำโขงนั้น เราคงจะเข้าไปดำเนินการโดยตรงลำบากเพราะปลาบึกธรรมชาติอยู่ภายใต้ไซเตสที่มีข้อห้ามในการล่า การย้าย การจำหน่าย ฯลฯ แต่ก็มีการดำเนินการผ่านคณะกรรมการแม่น้ำโขง หรือเอ็มอาร์ซี สำหรับปลาบึกที่เพาะพันธุ์ในประเทศไทยยืนยันว่าไม่มีสูญพันธุ์ โดยปัจจุบันปลาบึกที่เพาะได้โตปีละ 15 กิโลกรัม ซึ่งไม่มีปลาชนิดใดโตเร็วเท่านี้
นายสมหวังกล่าวอีกว่า เพียงแต่ขณะนี้การเพาะเลี้ยงปลาบึกยังคงมีต้นทุนเรื่องอาหารที่แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ส่วนลูกปลาบึกที่กรมประมงตั้งเป็นราคากลางเอาไว้ คือ ตัวขนาด 2-3 นิ้วตัวละ 40 บาท ขนาด 3-5 นิ้ว ตัวละ 60 บาท และขนาด 5-7 นิ้ว ตัวละ 80 บาท อัตราการรอดก็สูงถึง 90-95% เมื่อเพาะได้ 3-5 ปีก็จะมีขนาดใหญ่ สามารถนำไปบริโภคได้ในราคาที่แตกต่างกันโดยยกตัวขึ้นน้ำกิโลกรัมละประมาณ 120 บาท และถ้าชำแหละขายก็จะสูงขึ้นตามลำดับ
ส่วนด้านการตลาดนั้นถือว่ามีแนวโน้มดี เพราะปลาบึกเป็นปลาที่มีเอกลักษณ์ที่มีต้นกำเนิดเฉพาะแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของเท่านั้น ผู้บริโภคก็ต้องการบริโภคเนื้อปลาบึก ทั้งยังมีเนื้ออร่อย รวมทั้งคนจีนเชื่อว่า เป็น “ขงเบ้งฮื้อ” คือ ความโชคดีและอายุยืน คนญี่ปุ่นถือว่าเป็นปลาค้ำจุนโลก ฯลฯ เพียงแต่ปัจจุบันยังไม่มีการส่งออก เพราะยังมีเรื่องไซเตสอยู่
อย่างไรก็ตาม เราสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากเรื่องปลาบึก และความเป็นหนึ่งเดียวที่เพาะพันธุ์ปลาบึกได้ เช่น ส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ ดึงดูดนักท่องเที่ยว ส่งเสริมพัฒนาสถานที่ที่เกี่ยวข้องที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย เพราะเป็นแห่งเดียวที่จับปลาบึกแม่น้ำโขงได้เมื่อหลายปีก่อน
นายเสน่ห์ ผลประสิทธิ์ อดีตผู้เชี่ยวชาญกรมประมงที่เพาะพันธุ์ปลาบึกได้เป็นครั้งแรกและปัจจุบันทำธุรกิจเลี้ยงปลาบึก กล่าวว่า เดิมคาดการณ์กันว่าปลาบึกเป็นปลาธรรมชาติที่ไม่ทนทานหรือทรหด เพราะต้องการน้ำไหลแรง และออกซิเจนตลอดเวลา แต่เมื่อเพาะเลี้ยงปลาบึกในบ่อดินกลับพบว่าเป็นปลาที่ทรหดมาก โดยสามารถปรับตัวเข้ากับบ่อดินได้ดีมาก เมื่อตัวเล็กก็กินเนื้อแต่พอโตขึ้นจะทิ้งฟันและกินปลา ทำให้คาดว่ามีความต้องการอาหารโปรตีนแค่ 16%
“ถือเป็นปลาในฝันของนักเลี้ยง ปัจจุบันยังพบว่าสามารถทนน้ำกร่อยหรือน้ำเค็มได้ดี ปรับตัวกินพืชน้ำได้ จึงถือปลาที่เนื้ออร่อย โตเร็ว ต้นทุนต่ำ ความนิยมสูง และปรับตัวได้ดี แต่ยังต้องการการบริหารจัดการที่ดี”
ด้าน นายมานพ แจ้งกิจ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการด้านการประมง กล่าวว่า ประเทศไทยเพาะพันธุ์ปลาบึกได้แห่งเดียวจึงต้องใช้โอกาสนี้ให้คุ้มค่าสูงสุด ทั้งเป็นปลาที่ยิ่งมีขนาดตัวโตก็ยิ่งราคาแพงขึ้น หากส่งเสริมเป็นเนื้อเฉพาะถิ่นที่มีชื่อเสียง เช่น ปลาคาเวียร์ ฯลฯ ในอนาคตก็จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างมาก นอกจากนี้ปลาบึกยังสามารถนำไปผสมพันธุ์กับปลาสวายจนได้ปลาบึกสยาม เพื่อรองรับตลาดอีกระดับและทดแทนปลาสวาย ปลาดอลลี่ ฯลฯ ได้ดีอีกด้วย