ฉะเขิงเทรา - กรมการค้าภายใน ลงพื้นที่ลุยตรวจสอบการสวมสิทธิรับจำนำข้าวแปดริ้ว ก่อนพบหลักฐานจุดรับจำนำของโรงสีในโครงการแอบฮั้วยัดไส้สวมสิทธิชาวนา พร้อมสั่งชะลอการรับจำนำในโรงสีที่เกิดปัญหาชั่วคราว ชี้เบื้องต้นหากพบผิดจริงมีโทษถึงขั้นจำคุก
วันนี้ (12 ก.ย.) เจ้าหน้าที่สายตรวจพิเศษ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ นำโดย นายประพฤติ คำนวรพร ผอ.กลุ่มงานตรวจสอบ 3 กรมการค้าภายใน พร้อมด้วย นายบำรุง เจียรมาศ การค้าภายใน จ.ฉะเชิงเทรา พ.ต.อ.เกรียงไกร บุญซ้อน ผกก. สภ.บางน้ำเปรี้ยว พ.ต.ท.ณัฏฐ์ สุวรรณวัฒนะ สวญ. สภ.บางขนาก และ พ.ต.ท.ปวริศร์ จรณายุธ สารวัตรกองกำกับการสืบสวน ภ.จว.ฉะเชิงเทรา รวมกำลังกว่า 20 นาย ได้ร่วมกันเข้าตรวจสอบ “ท่าข้าวเฮียตี๋ เจ๊วิไล” ของ นางพิลัย ศิวพรประทาน อายุ 56 ปี เลขที่ 26/3 ม.3 ต.บางขนาก อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา
หลังการตรวจสอบ นายบำรุงกล่าวว่า ท่าข้าวดังกล่าวนี้เป็นจุดรับจำนำข้าวนอกพื้นที่ของโรงสียี่สิบไพบูลย์พืชผล จำกัด หลังได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่สายตรวจกรมการค้าภายใน พบว่า สถานที่ดังกล่าวแห่งนี้ ต้องสงสัยมีการสวมสิทธิในโครงการรับจำนำข้าวจากชาวนา จึงได้เข้ามาทำการตรวจสอบ และหลังการตรวจสอบแล้วเบื้องต้นพบความผิดเกี่ยวกับกรณีที่ สถานที่รับซื้อข้าวแห่งนี้ไม่มีการปิดป้ายแสดงราคารับซื้อสินค้าเกษตรตามประกาศของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้า และบริการ จึงได้ทำการเปรียบเทียบปรับไปในส่วนของจังหวัด เป็นเงินจำนวน 1,000 บาท
หลังจากการตรวจสอบโดยละเอียดจากเจ้าหน้าที่สายตรวจ ยังพบอีกว่า ท่าข้าวแห่งนี้ได้ทำการฮั้วร่วมกับชาวนา ด้วยการสอดไส้ปริมาณข้าวที่ไม่เต็มปริมาณการผลิตตามหนังสือรับรองสิทธิ ของชาวนาที่ได้รับการประมาณการผลิต จากสำนักงานเกษตรในท้องที่ เช่น กรณีที่ชาวนา 1 ราย ได้รับสิทธิในการจำนำข้าวตามใบรับรองสิทธิจากการประเมิน จำนวน 50 เกวียน (ตัน) แต่ผลผลิตของชาวนาที่ได้จริงมาจากแปลงนาไม่เต็มจำนวนอาจจะได้เพียง 30-40 ตัน เมื่อเกิดช่องว่างในส่วนต่างที่เหลือ ทางจุดรับจำนำของโรงสี จึงได้นำข้าวที่รับซื้อไว้นอกโครงการ ในราคาที่ต่ำกว่ามากมาสวมทับสิทธิตรงช่องว่างนั้น และแบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน โดยให้ชาวนานำเงินที่ได้มาจ่ายคืน หลังจากที่ได้ไปรับเงินมาจากทาง ธ.ก.ส.แล้ว จากการตรวจสอบในขณะนี้พบว่า มีชาวนาที่ร่วมมือกับท่าข้าวแห่งนี้ ฉ้อโกงจำนวนถึง 60 รายแล้ว
สำหรับความผิดในขณะนี้ เข้าข่ายในการฉ้อโกง ส่วนการดำเนินคดีนั้น ต้องขอดูรายละเอียดอีกครั้งว่าลักษณะของการกระทำความผิดไปตรงกับข้อหาใดบ้าง ก็จะดำเนินคดีไปตามนั้น ซึ่งโทษสูงสุดถึงขั้นจำคุก 3 ปี ในข้อหาฉ้อโกง หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ ในส่วนที่เป็นจุดรับจำนำข้าวที่เข้าร่วมโครงการของรัฐบาลนั้น ทางคณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำข้าวระดับจังหวัดก็จะสั่งให้หยุดรับจำนำไปก่อน เพื่อเป็นการป้องปรามเพื่อไม่ให้เกิดการทุจริตขึ้นอีก
วันนี้ (12 ก.ย.) เจ้าหน้าที่สายตรวจพิเศษ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ นำโดย นายประพฤติ คำนวรพร ผอ.กลุ่มงานตรวจสอบ 3 กรมการค้าภายใน พร้อมด้วย นายบำรุง เจียรมาศ การค้าภายใน จ.ฉะเชิงเทรา พ.ต.อ.เกรียงไกร บุญซ้อน ผกก. สภ.บางน้ำเปรี้ยว พ.ต.ท.ณัฏฐ์ สุวรรณวัฒนะ สวญ. สภ.บางขนาก และ พ.ต.ท.ปวริศร์ จรณายุธ สารวัตรกองกำกับการสืบสวน ภ.จว.ฉะเชิงเทรา รวมกำลังกว่า 20 นาย ได้ร่วมกันเข้าตรวจสอบ “ท่าข้าวเฮียตี๋ เจ๊วิไล” ของ นางพิลัย ศิวพรประทาน อายุ 56 ปี เลขที่ 26/3 ม.3 ต.บางขนาก อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา
หลังการตรวจสอบ นายบำรุงกล่าวว่า ท่าข้าวดังกล่าวนี้เป็นจุดรับจำนำข้าวนอกพื้นที่ของโรงสียี่สิบไพบูลย์พืชผล จำกัด หลังได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่สายตรวจกรมการค้าภายใน พบว่า สถานที่ดังกล่าวแห่งนี้ ต้องสงสัยมีการสวมสิทธิในโครงการรับจำนำข้าวจากชาวนา จึงได้เข้ามาทำการตรวจสอบ และหลังการตรวจสอบแล้วเบื้องต้นพบความผิดเกี่ยวกับกรณีที่ สถานที่รับซื้อข้าวแห่งนี้ไม่มีการปิดป้ายแสดงราคารับซื้อสินค้าเกษตรตามประกาศของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้า และบริการ จึงได้ทำการเปรียบเทียบปรับไปในส่วนของจังหวัด เป็นเงินจำนวน 1,000 บาท
หลังจากการตรวจสอบโดยละเอียดจากเจ้าหน้าที่สายตรวจ ยังพบอีกว่า ท่าข้าวแห่งนี้ได้ทำการฮั้วร่วมกับชาวนา ด้วยการสอดไส้ปริมาณข้าวที่ไม่เต็มปริมาณการผลิตตามหนังสือรับรองสิทธิ ของชาวนาที่ได้รับการประมาณการผลิต จากสำนักงานเกษตรในท้องที่ เช่น กรณีที่ชาวนา 1 ราย ได้รับสิทธิในการจำนำข้าวตามใบรับรองสิทธิจากการประเมิน จำนวน 50 เกวียน (ตัน) แต่ผลผลิตของชาวนาที่ได้จริงมาจากแปลงนาไม่เต็มจำนวนอาจจะได้เพียง 30-40 ตัน เมื่อเกิดช่องว่างในส่วนต่างที่เหลือ ทางจุดรับจำนำของโรงสี จึงได้นำข้าวที่รับซื้อไว้นอกโครงการ ในราคาที่ต่ำกว่ามากมาสวมทับสิทธิตรงช่องว่างนั้น และแบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน โดยให้ชาวนานำเงินที่ได้มาจ่ายคืน หลังจากที่ได้ไปรับเงินมาจากทาง ธ.ก.ส.แล้ว จากการตรวจสอบในขณะนี้พบว่า มีชาวนาที่ร่วมมือกับท่าข้าวแห่งนี้ ฉ้อโกงจำนวนถึง 60 รายแล้ว
สำหรับความผิดในขณะนี้ เข้าข่ายในการฉ้อโกง ส่วนการดำเนินคดีนั้น ต้องขอดูรายละเอียดอีกครั้งว่าลักษณะของการกระทำความผิดไปตรงกับข้อหาใดบ้าง ก็จะดำเนินคดีไปตามนั้น ซึ่งโทษสูงสุดถึงขั้นจำคุก 3 ปี ในข้อหาฉ้อโกง หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ ในส่วนที่เป็นจุดรับจำนำข้าวที่เข้าร่วมโครงการของรัฐบาลนั้น ทางคณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำข้าวระดับจังหวัดก็จะสั่งให้หยุดรับจำนำไปก่อน เพื่อเป็นการป้องปรามเพื่อไม่ให้เกิดการทุจริตขึ้นอีก