บุรีรัมย์ - จังหวัดบุรีรัมย์ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงต่อเนื่องนานกว่า 3 เดือน ส่งผลให้น้ำทั้ง 22 อ่างมีปริมาณกักเก็บน้อยในรอบหลายปีหากเปรียบเทียบในช่วงเดียวกัน ปัจจุบันมีน้ำกักเก็บเพียง 51% ของความจุอ่างทั้งหมดกว่า 298 ล้าน ลบ.ม. ผวาวิกฤตไม่เพียงพอผลิตประปาเพื่ออุปโภคบริโภค
วันนี้ (14 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดบุรีรัมย์ยังประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 3 เดือน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ ทั้ง 22 อ่างของจังหวัดมีระดับน้ำกักเก็บน้อยในรอบหลายปีหากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันมีน้ำกักเก็บอยู่เพียง 51 เปอร์เซ็นต์ของความจุอ่างทั้งหมดรวมกว่า 298 ล้านลูกบาศก์เมตร ถึงแม้จะมีพายุฝนพัดผ่านจนทำให้หลายจังหวัดประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้ก็ตาม
นอกจากนั้น ทางจังหวัดฯ ยังได้ประสานไปยังศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จ.นครราชสีมา และ จ.ขอนแก่น มาปฏิบัติการบินโปรยสารเคมีทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาฝนทิ้งช่วง แต่ก็ไม่เป็นผลจากภาวะฝนทิ้งช่วงดังกล่าว
ขณะนี้เกษตรกรในเขตบริการของชลประทาน และนอกเขตบริการที่ประสบปัญหานาข้าวขาดน้ำได้ร้องขอความช่วยเหลือมายังสำนักงานโครงการชลประทานจังหวัดบุรีรัมย์ แต่ทางชลประทานฯ จำเป็นต้องบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เพราะเกรงว่าฝนจะทิ้งช่วงยาวนานจนเกิดภาวะภัยแล้งทำให้น้ำดิบที่กักเก็บไว้ไม่เพียงพอในการผลิตประปาบริการประชาชนเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค
นายยงศักดิ์ ประภาพันธ์ศักดิ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ปีนี้ฝนได้ทิ้งช่วงยาวนานกว่าทุกปี ทำให้ฝนตกน้อยและไม่ตกในพื้นที่รับน้ำของอ่างเก็บน้ำ ทำให้มีน้ำกักเก็บน้อยกว่าปกติ ขณะนี้มีอ่างเก็บน้ำ 2 อ่าง คือ อ่างเก็บน้ำลำตะโคง และอ่างเก็บน้ำห้วยสวาย มีปริมาณน้ำน้อยน่าเป็นห่วง หากฝนยังตกน้อยจนสิ้นฤดูเชื่อว่าอาจจะเกิดวิกฤตภัยแล้งมากกว่าทุกปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน
วันนี้ (14 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดบุรีรัมย์ยังประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 3 เดือน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ ทั้ง 22 อ่างของจังหวัดมีระดับน้ำกักเก็บน้อยในรอบหลายปีหากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันมีน้ำกักเก็บอยู่เพียง 51 เปอร์เซ็นต์ของความจุอ่างทั้งหมดรวมกว่า 298 ล้านลูกบาศก์เมตร ถึงแม้จะมีพายุฝนพัดผ่านจนทำให้หลายจังหวัดประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้ก็ตาม
นอกจากนั้น ทางจังหวัดฯ ยังได้ประสานไปยังศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จ.นครราชสีมา และ จ.ขอนแก่น มาปฏิบัติการบินโปรยสารเคมีทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาฝนทิ้งช่วง แต่ก็ไม่เป็นผลจากภาวะฝนทิ้งช่วงดังกล่าว
ขณะนี้เกษตรกรในเขตบริการของชลประทาน และนอกเขตบริการที่ประสบปัญหานาข้าวขาดน้ำได้ร้องขอความช่วยเหลือมายังสำนักงานโครงการชลประทานจังหวัดบุรีรัมย์ แต่ทางชลประทานฯ จำเป็นต้องบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เพราะเกรงว่าฝนจะทิ้งช่วงยาวนานจนเกิดภาวะภัยแล้งทำให้น้ำดิบที่กักเก็บไว้ไม่เพียงพอในการผลิตประปาบริการประชาชนเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค
นายยงศักดิ์ ประภาพันธ์ศักดิ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ปีนี้ฝนได้ทิ้งช่วงยาวนานกว่าทุกปี ทำให้ฝนตกน้อยและไม่ตกในพื้นที่รับน้ำของอ่างเก็บน้ำ ทำให้มีน้ำกักเก็บน้อยกว่าปกติ ขณะนี้มีอ่างเก็บน้ำ 2 อ่าง คือ อ่างเก็บน้ำลำตะโคง และอ่างเก็บน้ำห้วยสวาย มีปริมาณน้ำน้อยน่าเป็นห่วง หากฝนยังตกน้อยจนสิ้นฤดูเชื่อว่าอาจจะเกิดวิกฤตภัยแล้งมากกว่าทุกปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน