ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - ฝนตกจากฤทธิ์ “วีเซนเต” ทำเชียงใหม่อ่วมรับฝน 3 วันรวด ล่าสุดพบที่ อ.แม่แจ่มระดับน้ำฝนสูงเกิน 60 มม.ต้องเปลี่ยนจากไฟเขียวเป็นไฟเหลือง ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแจงแค่ปรับเป็นระดับเฝ้าระวัง เผยฝนเริ่มหยุดแล้ว คาดปริมาณน้ำลด-สถานการณ์คลี่คลาย แต่ยันไม่ประมาทยังจับตาดูจนกว่าพายุจะหมด
วันนี้ (25 ก.ค.) รายงานข่าวจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่า ขณะนี้สถานการณ์ฝนตกหนักจากผลกระทบของพายุโซนร้อนวีเซนเตในจังหวัดเชียงใหม่ตลอดช่วง 3 วันที่ผ่านมานั้น พบว่าเมื่อวานนี้ (24 ก.ค.) เครื่องวัดปริมาณน้ำฝนที่ติดตั้งอยู่กับระบบเตือนภัยดินโคลนถล่มได้แจ้งข้อมูลว่า ระดับน้ำในหลายพื้นที่ได้เพิ่มสูงขึ้น โดยอยู่ที่ระดับ 40-50 มิลลิเมตร พร้อมกันนี้ ผลการตรวจวัดล่าสุดในวันนี้ยังพบว่าที่อำเภอแม่แจ่มมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยถึงระดับ 60 มิลลิเมตร ทำให้เครื่องวัดปริมาณน้ำฝนส่งสัญญาณเตือนเป็นสีเหลือง
จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ขณะนี้การติดตามสถานการณ์ระดับน้ำในเขตอำเภอแม่แจ่มได้ปรับเข้าสู่ระดับการเฝ้าระวังแล้ว โดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และนายอำเภอ จะได้ติดตามดูสถานการณ์และระดับปริมาณน้ำฝนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้สถานการณ์ถือว่าอยู่ในระดับเฝ้าระวังเท่านั้น และยังไม่ต้องแจ้งเตือนภัยต่อประชาชนแต่อย่างใด เนื่องจากระดับน้ำฝนในพื้นที่ยังไม่อยู่ในระดับเสี่ยง โดยตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้นั้น หากระดับน้ำในพื้นที่สูงถึงระดับ 80 มิลลิเมตรเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายอำเภอ และผู้ว่าราชการจังหวัดจะได้รับการแจ้งเตือนผ่านระบบ SMS รวมทั้งสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยก็จะแจ้งไปยังมิสเตอร์เตือนภัยในพื้นที่ให้ออกสำรวจเส้นทางน้ำ หรือจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดดินโคลนถล่ม ควบคู่กันไปด้วยว่ามีความเปลี่ยนแปลงใดๆ หรือไม่ ส่วนการแจ้งเตือนไปยังประชาชนให้เตรียมพร้อมสำหรับการอพยพนั้นจะมีขึ้นเมื่อระดับน้ำในพื้นที่สูงถึง 120 มิลลิเมตร
นอกจากนี้ จากการติดตามข้อมูลจากเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าในวันนี้กลุ่มเมฆฝนที่ปกคลุมในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งที่อำเภอแม่แจ่มได้ลดปริมาณลงแล้ว จึงคาดว่าสถานการณ์ของปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ต่างๆ น่าจะลดระดับลง
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจะยังคงติดตามข้อมูลตัวเลขระดับปริมาณน้ำฝนในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะที่อำเภอแม่แจ่มที่ปรับเข้าสู่ระดับเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ไปจนกว่าผลกระทบจากพายุโซนร้อนวีเซนเต ซึ่งในขณะนี้ได้อ่อนกำลังกลายเป็นพายุดีเปรสชันจะลดลงจนเข้าสู่ระดับปกติ
นายคมสัน สุวรรณอัมพา หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมาพบว่ามีพื้นที่หลายแห่งที่มีปริมาณน้ำฝนสูงถึงระดับ 50 มิลลิเมตร และเมื่อเวลา 06.00 น.ของวันนี้ พบว่าที่บ้านยางส้าน อำเภอแม่แจ่ม มีปริมาณน้ำฝนในพื้นที่สูงเกิน 540 มิลลิเมตร โดยวัดได้ 62.4 มิลลิเมตร ทำให้มีการเปลี่ยนสัญญาณจากไฟสีเขียวหรือระดับปกติเป็นไฟสีเหลืองหรือระดับเฝ้าระวัง อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ฝนได้หยุดตกแล้วในหลายพื้นที่ รวมทั้งที่อำเภอแม่แจ่ม ทำให้สถานการณ์เริ่มกลับสู่ภาวะปกติแล้ว
นายคมสันกล่าวต่อไปว่า แม้สถานการณ์ฝนโดยรวมจะเริ่มคลี่คลายแล้ว แต่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะยังคงติดตามตรวจสอบสถานการณ์ต่อไปจนกว่าจะถึงวันที่ 27 ก.ค. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่าจะมีฝนตกในพื้นที่
ขณะเดียวกัน ยังได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการเคลื่อนย้ายจุดติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนในบางพื้นที่แล้ว เนื่องจากที่ตั้งเดิมมีข้อจำกัดด้านสัญญาณโทรศัพท์ จึงเร่งทำการเคลื่อนย้ายจุดเพื่อให้เครื่องอยู่ในบริเวณที่มีสัญญาณโทรศัพท์ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้การส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย
วันนี้ (25 ก.ค.) รายงานข่าวจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่า ขณะนี้สถานการณ์ฝนตกหนักจากผลกระทบของพายุโซนร้อนวีเซนเตในจังหวัดเชียงใหม่ตลอดช่วง 3 วันที่ผ่านมานั้น พบว่าเมื่อวานนี้ (24 ก.ค.) เครื่องวัดปริมาณน้ำฝนที่ติดตั้งอยู่กับระบบเตือนภัยดินโคลนถล่มได้แจ้งข้อมูลว่า ระดับน้ำในหลายพื้นที่ได้เพิ่มสูงขึ้น โดยอยู่ที่ระดับ 40-50 มิลลิเมตร พร้อมกันนี้ ผลการตรวจวัดล่าสุดในวันนี้ยังพบว่าที่อำเภอแม่แจ่มมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยถึงระดับ 60 มิลลิเมตร ทำให้เครื่องวัดปริมาณน้ำฝนส่งสัญญาณเตือนเป็นสีเหลือง
จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ขณะนี้การติดตามสถานการณ์ระดับน้ำในเขตอำเภอแม่แจ่มได้ปรับเข้าสู่ระดับการเฝ้าระวังแล้ว โดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และนายอำเภอ จะได้ติดตามดูสถานการณ์และระดับปริมาณน้ำฝนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้สถานการณ์ถือว่าอยู่ในระดับเฝ้าระวังเท่านั้น และยังไม่ต้องแจ้งเตือนภัยต่อประชาชนแต่อย่างใด เนื่องจากระดับน้ำฝนในพื้นที่ยังไม่อยู่ในระดับเสี่ยง โดยตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้นั้น หากระดับน้ำในพื้นที่สูงถึงระดับ 80 มิลลิเมตรเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายอำเภอ และผู้ว่าราชการจังหวัดจะได้รับการแจ้งเตือนผ่านระบบ SMS รวมทั้งสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยก็จะแจ้งไปยังมิสเตอร์เตือนภัยในพื้นที่ให้ออกสำรวจเส้นทางน้ำ หรือจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดดินโคลนถล่ม ควบคู่กันไปด้วยว่ามีความเปลี่ยนแปลงใดๆ หรือไม่ ส่วนการแจ้งเตือนไปยังประชาชนให้เตรียมพร้อมสำหรับการอพยพนั้นจะมีขึ้นเมื่อระดับน้ำในพื้นที่สูงถึง 120 มิลลิเมตร
นอกจากนี้ จากการติดตามข้อมูลจากเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าในวันนี้กลุ่มเมฆฝนที่ปกคลุมในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งที่อำเภอแม่แจ่มได้ลดปริมาณลงแล้ว จึงคาดว่าสถานการณ์ของปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ต่างๆ น่าจะลดระดับลง
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจะยังคงติดตามข้อมูลตัวเลขระดับปริมาณน้ำฝนในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะที่อำเภอแม่แจ่มที่ปรับเข้าสู่ระดับเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ไปจนกว่าผลกระทบจากพายุโซนร้อนวีเซนเต ซึ่งในขณะนี้ได้อ่อนกำลังกลายเป็นพายุดีเปรสชันจะลดลงจนเข้าสู่ระดับปกติ
นายคมสัน สุวรรณอัมพา หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมาพบว่ามีพื้นที่หลายแห่งที่มีปริมาณน้ำฝนสูงถึงระดับ 50 มิลลิเมตร และเมื่อเวลา 06.00 น.ของวันนี้ พบว่าที่บ้านยางส้าน อำเภอแม่แจ่ม มีปริมาณน้ำฝนในพื้นที่สูงเกิน 540 มิลลิเมตร โดยวัดได้ 62.4 มิลลิเมตร ทำให้มีการเปลี่ยนสัญญาณจากไฟสีเขียวหรือระดับปกติเป็นไฟสีเหลืองหรือระดับเฝ้าระวัง อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ฝนได้หยุดตกแล้วในหลายพื้นที่ รวมทั้งที่อำเภอแม่แจ่ม ทำให้สถานการณ์เริ่มกลับสู่ภาวะปกติแล้ว
นายคมสันกล่าวต่อไปว่า แม้สถานการณ์ฝนโดยรวมจะเริ่มคลี่คลายแล้ว แต่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะยังคงติดตามตรวจสอบสถานการณ์ต่อไปจนกว่าจะถึงวันที่ 27 ก.ค. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่าจะมีฝนตกในพื้นที่
ขณะเดียวกัน ยังได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการเคลื่อนย้ายจุดติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนในบางพื้นที่แล้ว เนื่องจากที่ตั้งเดิมมีข้อจำกัดด้านสัญญาณโทรศัพท์ จึงเร่งทำการเคลื่อนย้ายจุดเพื่อให้เครื่องอยู่ในบริเวณที่มีสัญญาณโทรศัพท์ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้การส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย