พระนครศรีอยุธยา - นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำชับผู้บริหารสถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนระดับประถมศึกษา เฝ้าระวัง “โรคมือเท้าปาก” ในเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด พบผิดปกติส่งแพทย์ทันที
วันนี้ (19 ก.ค.) นพ.สมพงษ์ บุญสืบชาติ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้มีการเฝ้าระวังโรคมือเท้าปาก ซึ่งเป็นโรคติดต่อในเด็กเล็กที่พบมากในช่วงฤดูฝน อากาศเย็น และชื้น โดยเฉพาะสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือศูนย์เด็กเล็ก รวมทั้งโรงเรียนระดับประถมศึกษา หากมีเด็กป่วยอาจจะทำให้เกิดการแพร่เชื้อติดกันได้ง่าย
โรคมือเท้าปากเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัส พบบ่อยในเด็กทารก และเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อาการของโรคมือเท้าปากจะเริ่มด้วยมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย มีจุด หรือผื่นแดงอักเสบในปาก มักพบที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้มทำให้เจ็บปากไม่อยากกินอาหาร มักเกิดผื่นแดงซึ่งจะกลายเป็นตุ่มพองใสรอบๆ สีแดงที่บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่อื่น เช่น ก้น หัวเข่า ซึ่งตุ่มนี้มักไม่คัน แต่เวลากดจะเจ็บ ต่อมาจะแตกออกเป็นหลุมตื้นๆ อาการจะดีขึ้น และแผลหายไปใน 7-10 วัน
การแพร่ติดต่อของโรคมือเท้าปาก ส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับเชื้อเข้าสู่ปากโดยตรง ติดต่อง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย โดยเชื้ออาจติดมากับมือ หรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพอง จากแผล หรืออาจเกิดจากการไอจามรดกัน ในระยะที่เด็กมีอาการทุเลา หรือหายป่วยแล้วประมาณ 1 เดือน จะพบเชื้อในอุจจาระได้ แต่การติดต่อในระยะนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่าตามปกติโรคมักไม่รุนแรง และไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่เชื้อไวรัสบางชนิดอาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิดหากพบมีไข้สูงซึมไม่ยอมกินอาหาร และน้ำดื่มอาเจียนบ่อยหอบ แขนขาอ่อนแรง อาจเกิดภาวะสมอง หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
โรคมือเท้าปากนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัย ผู้ปกครอง ครู หรือผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็ก ควรแนะนำและดูแลเด็กให้รักษาความสะอาด ตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำ และสบู่ โดยเฉพาะหลังการขับถ่าย และก่อนรับประทานอาหาร รวมทั้ง การใช้ช้อนกลาง และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น
สำหรับโรงเรียน และศูนย์เด็กเล็ก ต้องจัดให้มีอ่างล้างมือ และส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่ และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ หากพบเด็กป่วย หรือสงสัยจะป่วยเป็นโรคมือเท้าปากในโรงเรียน หรือศูนย์เด็กเล็ก ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อควบคุมป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย ดังนั้น เพื่อป้องกันโรคดังกล่าว จึงอยากขอเตือนประชาชน รวมถึงครู หรือผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็ก ให้หมั่นสังเกตอาการของเด็กว่ามีอาการดังที่กล่าวหรือไม่ หากมีควรให้เด็กหยุดพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ หากมีอาการรุนแรงต้องรีบพาไปโรงพยาบาล หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้านทันที
วันนี้ (19 ก.ค.) นพ.สมพงษ์ บุญสืบชาติ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้มีการเฝ้าระวังโรคมือเท้าปาก ซึ่งเป็นโรคติดต่อในเด็กเล็กที่พบมากในช่วงฤดูฝน อากาศเย็น และชื้น โดยเฉพาะสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือศูนย์เด็กเล็ก รวมทั้งโรงเรียนระดับประถมศึกษา หากมีเด็กป่วยอาจจะทำให้เกิดการแพร่เชื้อติดกันได้ง่าย
โรคมือเท้าปากเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัส พบบ่อยในเด็กทารก และเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อาการของโรคมือเท้าปากจะเริ่มด้วยมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย มีจุด หรือผื่นแดงอักเสบในปาก มักพบที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้มทำให้เจ็บปากไม่อยากกินอาหาร มักเกิดผื่นแดงซึ่งจะกลายเป็นตุ่มพองใสรอบๆ สีแดงที่บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่อื่น เช่น ก้น หัวเข่า ซึ่งตุ่มนี้มักไม่คัน แต่เวลากดจะเจ็บ ต่อมาจะแตกออกเป็นหลุมตื้นๆ อาการจะดีขึ้น และแผลหายไปใน 7-10 วัน
การแพร่ติดต่อของโรคมือเท้าปาก ส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับเชื้อเข้าสู่ปากโดยตรง ติดต่อง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย โดยเชื้ออาจติดมากับมือ หรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพอง จากแผล หรืออาจเกิดจากการไอจามรดกัน ในระยะที่เด็กมีอาการทุเลา หรือหายป่วยแล้วประมาณ 1 เดือน จะพบเชื้อในอุจจาระได้ แต่การติดต่อในระยะนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่าตามปกติโรคมักไม่รุนแรง และไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่เชื้อไวรัสบางชนิดอาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิดหากพบมีไข้สูงซึมไม่ยอมกินอาหาร และน้ำดื่มอาเจียนบ่อยหอบ แขนขาอ่อนแรง อาจเกิดภาวะสมอง หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
โรคมือเท้าปากนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัย ผู้ปกครอง ครู หรือผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็ก ควรแนะนำและดูแลเด็กให้รักษาความสะอาด ตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำ และสบู่ โดยเฉพาะหลังการขับถ่าย และก่อนรับประทานอาหาร รวมทั้ง การใช้ช้อนกลาง และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น
สำหรับโรงเรียน และศูนย์เด็กเล็ก ต้องจัดให้มีอ่างล้างมือ และส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่ และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ หากพบเด็กป่วย หรือสงสัยจะป่วยเป็นโรคมือเท้าปากในโรงเรียน หรือศูนย์เด็กเล็ก ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อควบคุมป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย ดังนั้น เพื่อป้องกันโรคดังกล่าว จึงอยากขอเตือนประชาชน รวมถึงครู หรือผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็ก ให้หมั่นสังเกตอาการของเด็กว่ามีอาการดังที่กล่าวหรือไม่ หากมีควรให้เด็กหยุดพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ หากมีอาการรุนแรงต้องรีบพาไปโรงพยาบาล หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้านทันที