สระแก้ว - นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว เตือนประชาชน ให้ระวังอันตรายจากการรับประทานเห็ดพิษ เพราะอาจทำให้ชีวิตอย่างเฉียบพลันได้
วันนี้ (19 มิ.ย.55) นายแพทย์อัษฎางค์ รวยอาจิณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว เปิดเผยว่า สถานการณ์อาหารเป็นพิษจากการรับประทานเห็ดในประเทศไทย ปี 2555 มีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมา โดยข้อมูลตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 25 พฤษภาคม 2555 พบว่าทั่วประเทศมีรายงานผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานเห็ด ทั้งสิน 400 ราย เสียชีวิต 3 ราย
ขณะนี้ ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะพบผู้ป่วยเพิ่มมากตลอดเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนสิงหาคมเช่นทุกปี และสามารถพบผู้ป่วยได้ทุกจังหวัดของประเทศ เนื่องจากพฤติกรรมการหาของป่าประกอบกับในช่วงนี้เห็ดตามธรรมชาติกำลังออกเป็นจำนวนมาก ประชาชนจึงออกไปเก็บเห็ดป่ามาประกอบอาหารรับประทาน โดยมีความเข้าใจและความเชื่อที่ไม่ถูกต้องว่าเห็ดที่เก็บมานั้นรับประทานได้ เช่นการเก็บเห็ดที่เคยเก็บมาก่อน
สำหรับเห็ดที่เก็บมีรอยแมลงกัดกินอยู่ก่อนแล้ว นำมาทดสอบด้วยวิธีต่างๆ เช่นหุงกับข้าว ต้มหรือแช่ในน้ำข้าว แล้วเห็ดไม่เปลี่ยนเป็นสีดำ การปรุงเห็ดให้สุกด้วยความร้อนสูง เช่น แกง ต้ม จะสามารถทำลายพิษเห็ดได้ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเสมอไป ทำให้ผู้ที่รับประทานเห็ดแล้วป่วย หรือเสียชีวิตทั้งสิ้น แสดงให้เห็นว่าไม่สามารถใช้ในการแยกพิษออกจากเห็ดได้
นายแพทย์อัษฎางค์ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนมากมักเป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ที่รับประทานเห็ดพิษร้ายแรงเข้าไป ได้แก่ เห็ดพิษในตระกูล อมานิต้า ซึ่งมีสารพิษอะมาท็อกซิน มีฤทธิ์ทำให้ตับและไตวาย ส่วนในจังหวัดสระแก้วขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้บริโภคเห็ดพิษ ครั้งล่าสุดพบเมื่อเดือนสิงหาคม 2553 เป็นคนงานตัดไม้ยูคาที่อำเภอวัฒนานคร 4 ราย เก็บเห็ดระโงกเหลือง ซึ่งเป็นเห็ดพิษมาผัดกินแล้วเกิดอาการเมา เวียนหัว ชาตามตัว เดินเซ จนหมดสติไม่รู้ตัว จึงขอเตือนประชาชนที่เก็บเห็ดมาบริโภค หากไม่แน่ใจและไม่ทราบชนิดแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ไม่ควรเก็บเห็ดนั้นมาบริโภค โดยเฉพาะเห็ดป่าที่ไม่คุ้นเคย
ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นเห็ดไข่ห่าน เห็ดโม่งโก้ง เห็ดระโงก หรือ เห็ดระงาก ที่ยังเป็นดอกอ่อน มีลักษณะเป็นก้อนกลมรีคล้ายไข่เหมือนกันหมด แยกได้ยากจากเห็ดที่กินได้ หากเป็นไปได้ควรหยุดบริโภคเห็ดกลุ่มดังกล่าว เนื่องจากเสี่ยงที่จะเจอเห็ดพิษ ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ และหากประชาชนได้รับอันตรายจากเห็ด ควรพยายามทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเห็ดพิษออกมาให้หมด แล้วรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลพร้อมนำตัวอย่างอาหารหรือเห็ดที่รับประทานเข้าไปด้วย
วันนี้ (19 มิ.ย.55) นายแพทย์อัษฎางค์ รวยอาจิณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว เปิดเผยว่า สถานการณ์อาหารเป็นพิษจากการรับประทานเห็ดในประเทศไทย ปี 2555 มีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมา โดยข้อมูลตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 25 พฤษภาคม 2555 พบว่าทั่วประเทศมีรายงานผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานเห็ด ทั้งสิน 400 ราย เสียชีวิต 3 ราย
ขณะนี้ ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะพบผู้ป่วยเพิ่มมากตลอดเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนสิงหาคมเช่นทุกปี และสามารถพบผู้ป่วยได้ทุกจังหวัดของประเทศ เนื่องจากพฤติกรรมการหาของป่าประกอบกับในช่วงนี้เห็ดตามธรรมชาติกำลังออกเป็นจำนวนมาก ประชาชนจึงออกไปเก็บเห็ดป่ามาประกอบอาหารรับประทาน โดยมีความเข้าใจและความเชื่อที่ไม่ถูกต้องว่าเห็ดที่เก็บมานั้นรับประทานได้ เช่นการเก็บเห็ดที่เคยเก็บมาก่อน
สำหรับเห็ดที่เก็บมีรอยแมลงกัดกินอยู่ก่อนแล้ว นำมาทดสอบด้วยวิธีต่างๆ เช่นหุงกับข้าว ต้มหรือแช่ในน้ำข้าว แล้วเห็ดไม่เปลี่ยนเป็นสีดำ การปรุงเห็ดให้สุกด้วยความร้อนสูง เช่น แกง ต้ม จะสามารถทำลายพิษเห็ดได้ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเสมอไป ทำให้ผู้ที่รับประทานเห็ดแล้วป่วย หรือเสียชีวิตทั้งสิ้น แสดงให้เห็นว่าไม่สามารถใช้ในการแยกพิษออกจากเห็ดได้
นายแพทย์อัษฎางค์ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนมากมักเป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ที่รับประทานเห็ดพิษร้ายแรงเข้าไป ได้แก่ เห็ดพิษในตระกูล อมานิต้า ซึ่งมีสารพิษอะมาท็อกซิน มีฤทธิ์ทำให้ตับและไตวาย ส่วนในจังหวัดสระแก้วขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้บริโภคเห็ดพิษ ครั้งล่าสุดพบเมื่อเดือนสิงหาคม 2553 เป็นคนงานตัดไม้ยูคาที่อำเภอวัฒนานคร 4 ราย เก็บเห็ดระโงกเหลือง ซึ่งเป็นเห็ดพิษมาผัดกินแล้วเกิดอาการเมา เวียนหัว ชาตามตัว เดินเซ จนหมดสติไม่รู้ตัว จึงขอเตือนประชาชนที่เก็บเห็ดมาบริโภค หากไม่แน่ใจและไม่ทราบชนิดแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ไม่ควรเก็บเห็ดนั้นมาบริโภค โดยเฉพาะเห็ดป่าที่ไม่คุ้นเคย
ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นเห็ดไข่ห่าน เห็ดโม่งโก้ง เห็ดระโงก หรือ เห็ดระงาก ที่ยังเป็นดอกอ่อน มีลักษณะเป็นก้อนกลมรีคล้ายไข่เหมือนกันหมด แยกได้ยากจากเห็ดที่กินได้ หากเป็นไปได้ควรหยุดบริโภคเห็ดกลุ่มดังกล่าว เนื่องจากเสี่ยงที่จะเจอเห็ดพิษ ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ และหากประชาชนได้รับอันตรายจากเห็ด ควรพยายามทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเห็ดพิษออกมาให้หมด แล้วรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลพร้อมนำตัวอย่างอาหารหรือเห็ดที่รับประทานเข้าไปด้วย