มหาสารคาม-สำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม ประกาศเตือนภัยโรคไหม้ข้าว โดยเฉพาะแปลงข้าวนาหว่านที่ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโต ทำให้ต้นข้าวใบข้าวอวบอ่อนแอ ง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคไหม้ข้าว
ว่าที่ ร.ต.จักรภัทร ผ่องโอภาส เกษตรจังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่า เกษตรกรในพื้นที่เริ่มทำนาไปแล้ว 727,241 ไร่ หรือคิดเป็นร้อย 30.80 ของพื้นที่นาทั้งจังหวัด 2,361,185 ไร่ส่วนใหญ่เป็นข้าวนาหว่าน ซึ่งพบว่าเกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวต่อไร่ในอัตราที่สูง เมื่อข้าวงอกขึ้นมาต้นข้าวหนาแน่นทำให้อับลม ประกอบกับในช่วงนี้สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการแพร่ระบาดของโรคไหม้
ที่สำคัญเกษตรกรใส่ปุ๋ยยูเรีย เพื่อเร่งการเจริญเติบโตทำให้ต้นข้าวใบข้าวอวบเปราะอ่อนแอจึงทำให้ง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อรา ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคไหม้ข้าว
เกษตรจังหวัด มหาสารคามกล่าวต่อว่า โรค ไหม้ข้าวสามารถพบระบาดได้กับข้าว ทุกระยะ เริ่มจากระยะกล้าจะมีแผลจุดสีน้ำตาล คล้ายรูปตาอยู่ตรงกลางแผล และกระจายลุกลามทั่วใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าว จะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้ ระยะแตกกอพบที่ใบ ข้อต่อของใบ ข้อต่อของลำต้น เกิดแผลลุกลามช้ำสีน้ำตาลดำ ระยะคอรวงระยะออกรวง เมื่อถูกโรคไหม้เข้าทำลายเมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้รวงข้าวเปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหาย
สำหรับการป้องกันกำจัด หากพบการระบาดรุนแรงแนะนำให้ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาซู กามัยซิน หรือ คาร์เบนดาซิม ตามอัตราระบุ โดยผสมสารจับใบป้องกันฝนชะล้างตัวยา ส่วนการป้องกันในฤดูปลูกข้าวครั้งต่อไป แนะนำให้คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกัน กำจัดเชื้อราคือคาซูกามัยซิน หรือคาร์เบนดาซิม ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์หว่าน 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป
ทางออกที่ดีเกษตรกรควรหมั่นลงสำรวจแปลงข้าวบ่อย ๆ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เมื่อพบโรคระบาดรุนแรง ให้ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรโซคาร์โซล คาร์เบนดาซิม อัตราตามที่สลากแนะนำ หากมีปัญหาติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน หรือขอคำปรึกษาและแก้ปัญหาการเกษตร โดยตรงกับเกษตรจังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์หมายเลข 081-7905256 และหมายเลข 088-5497944
ว่าที่ ร.ต.จักรภัทร ผ่องโอภาส เกษตรจังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่า เกษตรกรในพื้นที่เริ่มทำนาไปแล้ว 727,241 ไร่ หรือคิดเป็นร้อย 30.80 ของพื้นที่นาทั้งจังหวัด 2,361,185 ไร่ส่วนใหญ่เป็นข้าวนาหว่าน ซึ่งพบว่าเกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวต่อไร่ในอัตราที่สูง เมื่อข้าวงอกขึ้นมาต้นข้าวหนาแน่นทำให้อับลม ประกอบกับในช่วงนี้สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการแพร่ระบาดของโรคไหม้
ที่สำคัญเกษตรกรใส่ปุ๋ยยูเรีย เพื่อเร่งการเจริญเติบโตทำให้ต้นข้าวใบข้าวอวบเปราะอ่อนแอจึงทำให้ง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อรา ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคไหม้ข้าว
เกษตรจังหวัด มหาสารคามกล่าวต่อว่า โรค ไหม้ข้าวสามารถพบระบาดได้กับข้าว ทุกระยะ เริ่มจากระยะกล้าจะมีแผลจุดสีน้ำตาล คล้ายรูปตาอยู่ตรงกลางแผล และกระจายลุกลามทั่วใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าว จะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้ ระยะแตกกอพบที่ใบ ข้อต่อของใบ ข้อต่อของลำต้น เกิดแผลลุกลามช้ำสีน้ำตาลดำ ระยะคอรวงระยะออกรวง เมื่อถูกโรคไหม้เข้าทำลายเมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้รวงข้าวเปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหาย
สำหรับการป้องกันกำจัด หากพบการระบาดรุนแรงแนะนำให้ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาซู กามัยซิน หรือ คาร์เบนดาซิม ตามอัตราระบุ โดยผสมสารจับใบป้องกันฝนชะล้างตัวยา ส่วนการป้องกันในฤดูปลูกข้าวครั้งต่อไป แนะนำให้คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกัน กำจัดเชื้อราคือคาซูกามัยซิน หรือคาร์เบนดาซิม ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์หว่าน 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป
ทางออกที่ดีเกษตรกรควรหมั่นลงสำรวจแปลงข้าวบ่อย ๆ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เมื่อพบโรคระบาดรุนแรง ให้ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรโซคาร์โซล คาร์เบนดาซิม อัตราตามที่สลากแนะนำ หากมีปัญหาติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน หรือขอคำปรึกษาและแก้ปัญหาการเกษตร โดยตรงกับเกษตรจังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์หมายเลข 081-7905256 และหมายเลข 088-5497944