สระแก้ว-นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว เตือนภาวะอากาศร้อนมาก ระวังเป็นลมแดด หรือฮีตสโตรก ควรหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้ง หยุดพักบ่อยๆ สวมเสื้อผ้าบางๆ นอกจากนั้น ควรระวังโรคท้องร่วง-พิษสุนัขบ้า
น.พ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว เปิดเผยว่า จากที่สภาพอากาศที่ร้อนขึ้นอย่างมากในขณะนี้ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย จึงขอเตือนประชาชนให้ระวังป้องกันโรคต่างๆ ที่จะมากับอากาศร้อน ไม่ว่าจะเป็นโรคลมแดด หรือฮีตสโตรก (Heat Stroke) เป็นอาการที่เกิดจากได้รับความร้อนมากเกิน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลัง หรือเล่นกีฬาในภาวะอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน โดยไม่ได้รับการชดเชยน้ำห รือเกลือแร่ที่สูญเสียไปอย่างเพียงพอ อาจจะเกิดขึ้นได้แม้ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง
เมื่ออากาศร้อนเหงื่อจะออกมาก เพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายเย็นลง ในกรณีที่เกิดลมแดด กลไกควบคุมความร้อนในร่างกายล้มเหลว เหงื่อจะออกน้อย หรือไม่ออกเลย เป็นเหตุให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เพราะว่าร่างกายขาดน้ำอย่างมากจนไม่เพียงพอต่อการผลิตเหงื่อ บางรายอาจถึงขั้นหมดสติเลยก็มี และถ้าไม่ได้รับการรักษาปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องทันท่วงที อาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคไต ควรหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือในช่วงที่อากาศร้อนจัด ให้ปรับเวลามาทำงานในช่วงเช้า หรือช่วงเย็นแทน หยุดพักบ่อยๆ สวมเสื้อผ้าบางๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ และดื่มน้ำเปล่ามากๆ
น.พ.อัษฎางค์ กล่าวต่อไปว่า ในช่วงที่อากาศร้อนจัดอย่างนี้ เรื่องอาหารการกินก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเชื้อโรคที่อยู่ในอาหารมีการเจริญเติบโตได้ดี ทำให้อาหารเน่าเสียได้ง่าย เมื่อกินเข้าไปทำให้ป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ โรคบิด ฯลฯ ซึ่งตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 23 เมษายน 55 จังหวัดสระแก้วมีผู้ที่ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษแล้ว 411 ราย พบมากในกลุ่มเด็กแรกเกิดถึง 4 ปี รองลงมาในกลุ่มอายุ 5-9 ปี
นอกจากนี้ ในส่วนโรคอุจจาระร่วง จังหวัดสระแก้วมีรายงานผู้ป่วยแล้ว 3,663 ราย เฉพาะเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 1,059 ราย เดือนเมษายน (ถึง 23 เม.ย.55) พบผู้ป่วยแล้ว 383 ราย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังความสะอาดของอาหารและน้ำดื่มเป็นพิเศษ ขอยึดหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวันง่ายๆ ได้แก่ กินร้อน คือ กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ หากยังไม่กิน ต้องเก็บในตู้เย็นและอุ่นให้ร้อนก่อนกิน ใช้ช้อนกลางในการกินอาหารร่วมกัน ล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังใช้ห้องน้ำห้องส้วม และดื่มน้ำที่สะอาด เช่น น้ำดื่มบรรจุขวดที่มีเครื่องหมาย อย. หรือน้ำต้มสุก
น.พ.อัษฎางค์ กล่าวว่า สำหรับอีกโรคในภาวะเช่นนี้ คือ โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อร้ายแรงจากสัตว์สู่คน ไม่มียารักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย โรคนี้พบได้ตลอดปีแต่มีแนวโน้มเพิ่มสูงในช่วงหน้าร้อน ที่ผ่านมา จังหวัดสระแก้วมีผู้ป่วยตาย ในช่วงปี 2549-2551 ติดต่อกัน จากนั้นเป็นต้นมา จังหวัดสระแก้วยังไม่มีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคนี้เลย แต่ก็ไม่ได้ประมาท จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระแก้ว ออกรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในทุกอำเภอ ช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน ซึ่งที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุที่ส่วนใหญ่ไม่ได้ไปหาหมอ เพราะเห็นว่าบาดแผลเล็กน้อย หรือสุนัข หรือแมวตัวนั้น มีเจ้าของจึงไม่ใส่ใจ
ที่สำคัญ โรคนี้เป็นแล้วเสียชีวิตทุกราย ไม่มียารักษา วิธีดีที่สุดคือการป้องกัน ด้วยการนำสุนัขทุกตัวไปรับการฉีดวัคซีน และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโดยการหลีกเลี่ยงการถูกสุนัขกัด “เมื่อถูกกัดแล้วต้องล้างแผล ใส่ยา กักหมา หาหมอ ฉีดวัคซีนต่อจนครบ” และปฏิบัติตามคำแนะนำ “5 ย.” คือ “อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าแยก อย่าหยิบ และอย่ายุ่ง” เพื่อป้องกันการถูกสุนัขกัด
น.พ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว เปิดเผยว่า จากที่สภาพอากาศที่ร้อนขึ้นอย่างมากในขณะนี้ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย จึงขอเตือนประชาชนให้ระวังป้องกันโรคต่างๆ ที่จะมากับอากาศร้อน ไม่ว่าจะเป็นโรคลมแดด หรือฮีตสโตรก (Heat Stroke) เป็นอาการที่เกิดจากได้รับความร้อนมากเกิน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลัง หรือเล่นกีฬาในภาวะอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน โดยไม่ได้รับการชดเชยน้ำห รือเกลือแร่ที่สูญเสียไปอย่างเพียงพอ อาจจะเกิดขึ้นได้แม้ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง
เมื่ออากาศร้อนเหงื่อจะออกมาก เพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายเย็นลง ในกรณีที่เกิดลมแดด กลไกควบคุมความร้อนในร่างกายล้มเหลว เหงื่อจะออกน้อย หรือไม่ออกเลย เป็นเหตุให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เพราะว่าร่างกายขาดน้ำอย่างมากจนไม่เพียงพอต่อการผลิตเหงื่อ บางรายอาจถึงขั้นหมดสติเลยก็มี และถ้าไม่ได้รับการรักษาปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องทันท่วงที อาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคไต ควรหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือในช่วงที่อากาศร้อนจัด ให้ปรับเวลามาทำงานในช่วงเช้า หรือช่วงเย็นแทน หยุดพักบ่อยๆ สวมเสื้อผ้าบางๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ และดื่มน้ำเปล่ามากๆ
น.พ.อัษฎางค์ กล่าวต่อไปว่า ในช่วงที่อากาศร้อนจัดอย่างนี้ เรื่องอาหารการกินก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเชื้อโรคที่อยู่ในอาหารมีการเจริญเติบโตได้ดี ทำให้อาหารเน่าเสียได้ง่าย เมื่อกินเข้าไปทำให้ป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ โรคบิด ฯลฯ ซึ่งตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 23 เมษายน 55 จังหวัดสระแก้วมีผู้ที่ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษแล้ว 411 ราย พบมากในกลุ่มเด็กแรกเกิดถึง 4 ปี รองลงมาในกลุ่มอายุ 5-9 ปี
นอกจากนี้ ในส่วนโรคอุจจาระร่วง จังหวัดสระแก้วมีรายงานผู้ป่วยแล้ว 3,663 ราย เฉพาะเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 1,059 ราย เดือนเมษายน (ถึง 23 เม.ย.55) พบผู้ป่วยแล้ว 383 ราย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังความสะอาดของอาหารและน้ำดื่มเป็นพิเศษ ขอยึดหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวันง่ายๆ ได้แก่ กินร้อน คือ กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ หากยังไม่กิน ต้องเก็บในตู้เย็นและอุ่นให้ร้อนก่อนกิน ใช้ช้อนกลางในการกินอาหารร่วมกัน ล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังใช้ห้องน้ำห้องส้วม และดื่มน้ำที่สะอาด เช่น น้ำดื่มบรรจุขวดที่มีเครื่องหมาย อย. หรือน้ำต้มสุก
น.พ.อัษฎางค์ กล่าวว่า สำหรับอีกโรคในภาวะเช่นนี้ คือ โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อร้ายแรงจากสัตว์สู่คน ไม่มียารักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย โรคนี้พบได้ตลอดปีแต่มีแนวโน้มเพิ่มสูงในช่วงหน้าร้อน ที่ผ่านมา จังหวัดสระแก้วมีผู้ป่วยตาย ในช่วงปี 2549-2551 ติดต่อกัน จากนั้นเป็นต้นมา จังหวัดสระแก้วยังไม่มีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคนี้เลย แต่ก็ไม่ได้ประมาท จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระแก้ว ออกรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในทุกอำเภอ ช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน ซึ่งที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุที่ส่วนใหญ่ไม่ได้ไปหาหมอ เพราะเห็นว่าบาดแผลเล็กน้อย หรือสุนัข หรือแมวตัวนั้น มีเจ้าของจึงไม่ใส่ใจ
ที่สำคัญ โรคนี้เป็นแล้วเสียชีวิตทุกราย ไม่มียารักษา วิธีดีที่สุดคือการป้องกัน ด้วยการนำสุนัขทุกตัวไปรับการฉีดวัคซีน และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโดยการหลีกเลี่ยงการถูกสุนัขกัด “เมื่อถูกกัดแล้วต้องล้างแผล ใส่ยา กักหมา หาหมอ ฉีดวัคซีนต่อจนครบ” และปฏิบัติตามคำแนะนำ “5 ย.” คือ “อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าแยก อย่าหยิบ และอย่ายุ่ง” เพื่อป้องกันการถูกสุนัขกัด