ศูนย์ข่าวขอนแก่น - กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เดินหน้าพัฒนาศักยภาพบุคลากรในระดับภูมิภาค ลงนามความร่วมมือกับวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มข.เพื่อจัดทำหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาวถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร ตั้งเป้าหมายพัฒนาเกษตรกรในภูมิภาคให้ได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผู้นำเกษตรกรยุคใหม่
นายจักรี สุจริตธรรม อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เปิดเผยถึงการลงนามความร่วมมือระหว่าง วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ได้ลงนามไปเมื่อเร็วๆ นี้ ถือเป็นมิติการทำงานร่วมกันในรูปแบบใหม่เพื่อที่จะเดินหน้าแผนการพัฒนาสถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ ให้มีความรู้ความสามารถและศักยภาพในการรับผิดชอบงานด้านการเงินการบัญชี รวมทั้งยังสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ในด้านต่างๆ สู่ชุมชน อันจะส่งผลในเรื่องของการช่วยให้ระบบการบริหารจัดการด้านการเงินการบัญชีของสถาบันเกษตรกรและสหกรณ์
รวมไปถึงเกษตรกรในแต่ละพื้นที่มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน บุคลากรของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เองก็จะได้รับการพัฒนาด้วยเช่นกัน
นายจักรีระบุว่า ครูอาสาสมัครด้านการเกษตร เช่น ครูยาง และหมอดินที่ประจำอยู่ในชุมชนทั่วทั้งประเทศ มีมากกว่า 10,000 คน ในจำนวนนี้กว่า 8,000 คนต้องการเข้าศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ในประเภทงานที่รับผิดชอบ ขณะเดียวกัน ข้าราชการในสังกัดของกรมมากกว่าร้อยละ 10 ต้องการที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับที่เพิ่มสูงขึ้น รวมไปถึงสหกรณ์กว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศที่ต้องการส่งบุคลากรในสังกัดของตัวเองเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรต่างๆ เพราะสหกรณ์ทุกแห่งมีการตั้งงบกว่า 10 ล้านบาทสำหรับการจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการศึกษาหรือการฝึกอบรม
ดังนั้น กรมฯ จึงร่วมกับวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นจัดทำหลักสูตรในลักษณะหลักสูตรการอบรมระยะสั้นและระยะยาว ในหัวข้อที่เป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาตนเองและพัฒนางาน เช่น การกรีดยางพารา หรือการพัฒนาดิน นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการค้นคว้าวิจัย การให้บริการทางวิชาการ และการพัฒนาเศรษฐกิจ อันจะเป็นการสนองตอบต่อวัตถุประสงค์ของความร่วมมืออีกด้วย
อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมฯ เตรียมพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้แก่บุคลากรภายในสังกัดในการจัดทำเป็นกองทุนกู้ยืมสำหรับการศึกษาต่อทั้งในระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอก โดยเฉพาะด้านการบริหารธุรกิจหรือ MBA โดยเป็นทุนที่ปลอดดอกเบี้ยและชำระผ่อนส่งหลังสำเร็จการศึกษาไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม การจัดทำหลักสูตระดับภูมิภาคนั้นจะต้องเป็นไปตามความต้องการของแต่ละพื้นที่เพื่อที่จะนำความรู้ความสามารถนั้นไปใช้ประโยชน์ได้จริง
“การลงนามความร่วมมือร่วมกับวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น ครั้งนี้ถือเป็นมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาคที่กรมฯ ให้ความสำคัญในการนำไปสู่การพัฒนาผู้นำความเป็นเกษตรกรยุคใหม่อย่างแท้จริง” นายจักรีกล่าว
นายจักรี สุจริตธรรม อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เปิดเผยถึงการลงนามความร่วมมือระหว่าง วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ได้ลงนามไปเมื่อเร็วๆ นี้ ถือเป็นมิติการทำงานร่วมกันในรูปแบบใหม่เพื่อที่จะเดินหน้าแผนการพัฒนาสถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ ให้มีความรู้ความสามารถและศักยภาพในการรับผิดชอบงานด้านการเงินการบัญชี รวมทั้งยังสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ในด้านต่างๆ สู่ชุมชน อันจะส่งผลในเรื่องของการช่วยให้ระบบการบริหารจัดการด้านการเงินการบัญชีของสถาบันเกษตรกรและสหกรณ์
รวมไปถึงเกษตรกรในแต่ละพื้นที่มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน บุคลากรของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เองก็จะได้รับการพัฒนาด้วยเช่นกัน
นายจักรีระบุว่า ครูอาสาสมัครด้านการเกษตร เช่น ครูยาง และหมอดินที่ประจำอยู่ในชุมชนทั่วทั้งประเทศ มีมากกว่า 10,000 คน ในจำนวนนี้กว่า 8,000 คนต้องการเข้าศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ในประเภทงานที่รับผิดชอบ ขณะเดียวกัน ข้าราชการในสังกัดของกรมมากกว่าร้อยละ 10 ต้องการที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับที่เพิ่มสูงขึ้น รวมไปถึงสหกรณ์กว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศที่ต้องการส่งบุคลากรในสังกัดของตัวเองเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรต่างๆ เพราะสหกรณ์ทุกแห่งมีการตั้งงบกว่า 10 ล้านบาทสำหรับการจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการศึกษาหรือการฝึกอบรม
ดังนั้น กรมฯ จึงร่วมกับวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นจัดทำหลักสูตรในลักษณะหลักสูตรการอบรมระยะสั้นและระยะยาว ในหัวข้อที่เป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาตนเองและพัฒนางาน เช่น การกรีดยางพารา หรือการพัฒนาดิน นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการค้นคว้าวิจัย การให้บริการทางวิชาการ และการพัฒนาเศรษฐกิจ อันจะเป็นการสนองตอบต่อวัตถุประสงค์ของความร่วมมืออีกด้วย
อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมฯ เตรียมพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้แก่บุคลากรภายในสังกัดในการจัดทำเป็นกองทุนกู้ยืมสำหรับการศึกษาต่อทั้งในระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอก โดยเฉพาะด้านการบริหารธุรกิจหรือ MBA โดยเป็นทุนที่ปลอดดอกเบี้ยและชำระผ่อนส่งหลังสำเร็จการศึกษาไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม การจัดทำหลักสูตระดับภูมิภาคนั้นจะต้องเป็นไปตามความต้องการของแต่ละพื้นที่เพื่อที่จะนำความรู้ความสามารถนั้นไปใช้ประโยชน์ได้จริง
“การลงนามความร่วมมือร่วมกับวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น ครั้งนี้ถือเป็นมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาคที่กรมฯ ให้ความสำคัญในการนำไปสู่การพัฒนาผู้นำความเป็นเกษตรกรยุคใหม่อย่างแท้จริง” นายจักรีกล่าว