ศูนย์ข่าวขอนแก่น - สปสช.สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำโครงการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ วอนผู้เสี่ยงติดเชื้อเอดส์เข้ารับคำปรึกษาและตรวจเลือดจากโรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อรู้เร็ว รักษาไว โดยปีงบประมาณ 54 สปสช.เขต 7 ให้บริการปรึกษาและตรวจการติดเชื้อโดยสมัครใจมากกว่า 1,000 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปี 53
นายแพทย์พิเชฏฐ ลีละพันธ์เมธา ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 7 จ.ขอนแก่น เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2554 พบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีสะสมทั้งประเทศมีจำนวน 201,302 คน ซึ่งในพื้นที่ สปสช.เขต 7 ขอนแก่นมีจำนวน 13,454 คน แบ่งเป็น ขอนแก่น 5,415 คน มหาสารคาม 2,125 คน ร้อยเอ็ด 3,325 คน และกาฬสินธุ์ 2,589 คน สำหรับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ให้สิทธิในการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีทั้งสูตรพื้นฐาน และสูตรดื้อยา
ทั้งยังได้ขยายการให้ยาต้านเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก รวมทั้งให้ยาต้านไวรัสแก่คนไทยทุกสิทธิรักษาพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อภายหลังสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสเลือดจากผู้ป่วย ผู้ที่ถูกข่มขืน
นายแพทย์พิเชฏฐกล่าวว่า สปสช.ยังสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่เข้าร่วมจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ให้งบประมาณสนับสนุนแก่ภาคประชาชน อสม. กลุ่มชมรม เพื่อจัดทำโครงการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี การเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ติดเชื้อ รวมไปถึงการออกเยี่ยมบ้าน ซึ่งเป็นการให้บริการผู้ติดเชื้อแบบครบวงจรจากโรงพยาบาลเชื่อมต่อสู่ครอบครัว และชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ
นอกจากนี้ สปสช.ยังสนับสนุนให้โรงพยาบาลให้คำปรึกษาและตรวจการติดเชื้อโดยสมัครใจ ซึ่งเป็นการบริการที่เคารพในสิทธิมนุษยชน เพราะการติดเชื้อเอชไอวีเป็นเรื่องร้ายแรง และยาวนาน กระทบต่อการดำเนินชีวิตทั้งของตนเอง ครอบครัว สังคม และชุมชน การได้รับคำปรึกษาจะช่วยเพิ่มการป้องกันการติดเชื้อ และนำผู้ติดเชื้อเข้าสู่การดูแลรักษาได้เร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ติดเชื้อมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ดังนั้น หากไม่มั่นใจว่าตนเองเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ ก็สามารถขอรับคำปรึกษาได้จากโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง และหากต้องการตรวจการติดเชื้อโดยสมัครใจก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้ อัตราการให้บริการปรึกษาและตรวจการติดเชื้อโดยสมัครใจของ สปสช. เขต 7 ขอนแก่น ในปีงบประมาณ 2554 มีจำนวน 1,086 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากเดิมในปีงบประมาณ 2553 ที่มีจำนวน 981 ครั้ง จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าการให้คำปรึกษาและรับการตรวจการติดเชื้อโดยสมัครใจเพิ่มมากขึ้นทุกปี และมากกว่าระดับประเทศ
โดยเฉพาะในจังหวัดมหาสารคาม และร้อยเอ็ด แต่แม้แนวโน้มอัตราการให้บริการปรึกษาและตรวจการติดเชื้อโดยสมัครใจในเขตจะเพิ่มขึ้น แต่อัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่กลับอยู่ในระดับต่ำ
ทั้งนี้ โรงพยาบาลที่มีผลงานการให้คำปรึกษาและตรวจการติดเชื้อโดยสมัครใจในปี 2554 สูงสุด 5 ลำดับแรก คือ โรงพยาบาลมหาสารคาม โรงพยาบาลร้อยเอ็ด โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลกมลาไสย และโรงพยาบาลยางตลาด จ.กาฬสินธุ์
นายแพทย์พิเชฏฐ ลีละพันธ์เมธา ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 7 จ.ขอนแก่น เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2554 พบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีสะสมทั้งประเทศมีจำนวน 201,302 คน ซึ่งในพื้นที่ สปสช.เขต 7 ขอนแก่นมีจำนวน 13,454 คน แบ่งเป็น ขอนแก่น 5,415 คน มหาสารคาม 2,125 คน ร้อยเอ็ด 3,325 คน และกาฬสินธุ์ 2,589 คน สำหรับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ให้สิทธิในการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีทั้งสูตรพื้นฐาน และสูตรดื้อยา
ทั้งยังได้ขยายการให้ยาต้านเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก รวมทั้งให้ยาต้านไวรัสแก่คนไทยทุกสิทธิรักษาพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อภายหลังสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสเลือดจากผู้ป่วย ผู้ที่ถูกข่มขืน
นายแพทย์พิเชฏฐกล่าวว่า สปสช.ยังสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่เข้าร่วมจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ให้งบประมาณสนับสนุนแก่ภาคประชาชน อสม. กลุ่มชมรม เพื่อจัดทำโครงการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี การเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ติดเชื้อ รวมไปถึงการออกเยี่ยมบ้าน ซึ่งเป็นการให้บริการผู้ติดเชื้อแบบครบวงจรจากโรงพยาบาลเชื่อมต่อสู่ครอบครัว และชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ
นอกจากนี้ สปสช.ยังสนับสนุนให้โรงพยาบาลให้คำปรึกษาและตรวจการติดเชื้อโดยสมัครใจ ซึ่งเป็นการบริการที่เคารพในสิทธิมนุษยชน เพราะการติดเชื้อเอชไอวีเป็นเรื่องร้ายแรง และยาวนาน กระทบต่อการดำเนินชีวิตทั้งของตนเอง ครอบครัว สังคม และชุมชน การได้รับคำปรึกษาจะช่วยเพิ่มการป้องกันการติดเชื้อ และนำผู้ติดเชื้อเข้าสู่การดูแลรักษาได้เร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ติดเชื้อมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ดังนั้น หากไม่มั่นใจว่าตนเองเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ ก็สามารถขอรับคำปรึกษาได้จากโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง และหากต้องการตรวจการติดเชื้อโดยสมัครใจก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้ อัตราการให้บริการปรึกษาและตรวจการติดเชื้อโดยสมัครใจของ สปสช. เขต 7 ขอนแก่น ในปีงบประมาณ 2554 มีจำนวน 1,086 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากเดิมในปีงบประมาณ 2553 ที่มีจำนวน 981 ครั้ง จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าการให้คำปรึกษาและรับการตรวจการติดเชื้อโดยสมัครใจเพิ่มมากขึ้นทุกปี และมากกว่าระดับประเทศ
โดยเฉพาะในจังหวัดมหาสารคาม และร้อยเอ็ด แต่แม้แนวโน้มอัตราการให้บริการปรึกษาและตรวจการติดเชื้อโดยสมัครใจในเขตจะเพิ่มขึ้น แต่อัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่กลับอยู่ในระดับต่ำ
ทั้งนี้ โรงพยาบาลที่มีผลงานการให้คำปรึกษาและตรวจการติดเชื้อโดยสมัครใจในปี 2554 สูงสุด 5 ลำดับแรก คือ โรงพยาบาลมหาสารคาม โรงพยาบาลร้อยเอ็ด โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลกมลาไสย และโรงพยาบาลยางตลาด จ.กาฬสินธุ์