ศูนย์ข่าวขอนแก่น - ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน ชี้ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 40% เงินเฟ้อไม่น่าห่วง แต่เศรษฐกิจหดตัวรุนแรงร้อยละ 2.5 และคนว่างงานสูงมาก แนะรัฐบาลควรลดผลกระทบให้เบาบางลง โดยการส่งเสริมให้แรงงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และลดหย่อนภาษีจากการจ้างแรงงาน และการส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น
ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ นักวิจัยศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (E-Saan Center for Business and Economic Research:ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการไตรภาคี มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 40% จากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละพื้นที่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 ซึ่งจะทำให้ใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม และ นนทบุรี ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ได้สร้างความกังวลให้แก่นักเศรษฐศาสตร์หลายสถาบัน
เช่น ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจธนาคารทหารไทย ประเมินว่าจะส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ปรับเพิ่มอีกร้อยละ 2.3 ด้านกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า จะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 4.0 ขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เชื่อว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากจากการขึ้นค่าแรง
อย่างไรก็ตาม การประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นนั้น ยังไม่ได้ศึกษาถึงภาวะการหดตัวทางเศรษฐกิจและการว่างงานที่อาจเพิ่มขึ้น รวมถึงตัวชี้วัดอื่นๆ เมื่อศูนย์วิจัยธุรกิจ และเศรษฐกิจอีสานได้ใช้แบบจำลองดุลยภาพโดยรวมที่คำนวณได้ พบว่า หากมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ทุกจังหวัดทั่วประเทศจะส่งผลให้ในช่วง 2 ปี (2555-2556) อัตราการเจริญเติบเศรษฐกิจหดตัวจากแนวโน้มเดิมร้อยละ 2.5 (เฉลี่ยหดตัวปีละร้อยละ 1.25) ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) ที่กังวลกันกลับปรับตัวขึ้นเล็กน้อยเท่านั้นคือเพียงร้อยละ 0.4 เนื่องจากอุปสงค์มวลรวมหดตัว
เช่น การบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 1.5 (เนื่องจากแรงงานบางส่วนตกงาน และผู้ประกอบการมีกำไรลดลง) การบริโภคภาครัฐลดลงร้อยละ 2.7 (เนื่องจากจัดเก็บภาษีได้น้อยลง) การส่งออกลดลงร้อยละ 3.3 (เนื่องจากสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก) ถึงแม้ค่าจ้างที่แท้จริงของแรงงานจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 แต่ต้องแลกด้วยการเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงานจากแนวโน้มเดิมที่สูงถึงร้อยละ 7.9 ซึ่งเป็นระดับที่น่ากังวลมาก
ในส่วนของการวิเคราะห์ผลกระทบรายสาขาอุตสาหกรรม พบว่า มี 15 สาขาที่ระดับผลผลิตลดลงมากกว่าร้อยละ 3 ขึ้นไป (ตั้งแต่ร้อยละ 3.0-5.4) สาขาการปลูกไม้ (5.4) สาขาแปรรูปมันสำปะหลัง (5.1) สาขาแปรรูปไม้และเฟอร์นิเจอร์ (5.0) สาขาปลูกมันสำปะหลัง (4.7) สาขาสิ่งทอ (4.5) สาขาอุตสาหกรรมอื่นๆ (4.4) สาขาขนส่งทางราง (3.9) สาขาโลหะพื้นฐาน (3.7) สาขาโลหะประดิษฐ์ (3.7) สาขาเอทานอลจากมันสำปะหลัง (3.5)
สาขาเครื่องจักรกลและยานยนต์ (3.4) สาขาเคมีภัณฑ์ (3.4) สาขาน้ำตาล (3.2) สาขาปลูกอ้อย (3.2) และสาขาผลิตภัณฑ์กระดาษ (3.0)
นอกจากนี้ พบว่า มี 17 สาขาที่มีการลดการจ้างงานลงมากกว่าร้อยละ 10 (ตั้งแต่ร้อยละ 10.2-1.8.0) ประกอบด้วย สาขาแปรรูปมันสำปะหลัง (18.0) สาขาเอทานอลจากมันสำปะหลัง (16.0) สาขาน้ำตาล (15.2) สาขาการค้าส่ง (14.8) สาขาสิ่งทอ (14.8) สาขาแปรรูปไม้และเฟอร์นิเจอร์ (14.6) สาขาโลหะพื้นฐาน (14.2) สาขาเครื่องจักรกลและยานยนต์ (14.1) สาขาอุตสาหกรรมอื่นๆ (13.8) สาขาโลหะประดิษฐ์ (13.7) สาขาผลิตภัณฑ์กระดาษ (13.5) สาขาการค้าปลีก (12.9) สาขาเอทานอลจากอ้อย (12.6) สาขาเคมีภัณฑ์ (12.3) สาขาอโลหะ (11.5) สาขาทำถ่าน (11.3) และสาขาเครื่องดื่ม (10.2)
ดร.สุทิน ระบุอีกว่า การปรับค่าแรงเพิ่มขึ้น 40% ส่งผลกระทบทางลบอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจทั้งมหภาคและจุลภาค ดังนั้น รัฐบาลควรลดผลกระทบดังกล่าวให้เบาบางลง โดยการส่งเสริมให้แรงงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจากการศึกษาพบว่า แรงงานที่มีทักษะต่ำจะต้องมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นประมาณ 30% เศรษฐกิจจึงจะไม่หดตัวจากแนวโน้มเดิม
ซึ่งในความเป็นจริงคงจะเป็นไปได้ยาก เพราะประสิทธิภาพแรงงานทักษะต่ำคงเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 10% เท่านั้นในช่วง 1-2 ปีนี้
นอกจากนี้ ยังพบว่า ในกรณีโชคดี ประสิทธิภาพแรงงานของผู้ใช้แรงงานมีการเพิ่มขึ้นถึง 30% ก็ไม่ได้ช่วยให้การว่างงานลดลงมากนัก นั่นคือ ช่วยให้การว่างงานลดลงเพียงร้อยละ 1.1 เท่านั้น อีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้อัตราการว่างงานสูงได้รับการบรรเทา ก็คือ การที่นายจ้างทำการปรับลดสวัสดิการลงแล้วนำมาเพิ่มในส่วนของค่าจ้าง เช่น ถ้าผู้ประกอบการปรับลดสวัสดิการลงแล้วทำให้จ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นจริงเพียง 30% แทนที่จะเป็น 40% ก็ช่วยลดอัตราการว่างงานลงได้อีกเพียงร้อยละ 2.0
ดังนั้น รัฐบาลต้องมีมาตรการอื่นๆ เข้ามาช่วยบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 40% เช่น การลดหย่อนภาษีจากการจ้างแรงงาน และการส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ หากรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะเพิ่มค่าแรงเป็น 300 บาททั่วประเทศในระยะต่อไป ควรค่อยๆ ปรับขึ้นปีละ 5-10% และประกาศอย่างชัดเจน เพื่อส่งสัญญาณให้กับผู้ประกอบการได้ปรับตัวล่วงหน้า
ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ นักวิจัยศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (E-Saan Center for Business and Economic Research:ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการไตรภาคี มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 40% จากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละพื้นที่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 ซึ่งจะทำให้ใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม และ นนทบุรี ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ได้สร้างความกังวลให้แก่นักเศรษฐศาสตร์หลายสถาบัน
เช่น ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจธนาคารทหารไทย ประเมินว่าจะส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ปรับเพิ่มอีกร้อยละ 2.3 ด้านกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า จะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 4.0 ขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เชื่อว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากจากการขึ้นค่าแรง
อย่างไรก็ตาม การประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นนั้น ยังไม่ได้ศึกษาถึงภาวะการหดตัวทางเศรษฐกิจและการว่างงานที่อาจเพิ่มขึ้น รวมถึงตัวชี้วัดอื่นๆ เมื่อศูนย์วิจัยธุรกิจ และเศรษฐกิจอีสานได้ใช้แบบจำลองดุลยภาพโดยรวมที่คำนวณได้ พบว่า หากมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ทุกจังหวัดทั่วประเทศจะส่งผลให้ในช่วง 2 ปี (2555-2556) อัตราการเจริญเติบเศรษฐกิจหดตัวจากแนวโน้มเดิมร้อยละ 2.5 (เฉลี่ยหดตัวปีละร้อยละ 1.25) ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) ที่กังวลกันกลับปรับตัวขึ้นเล็กน้อยเท่านั้นคือเพียงร้อยละ 0.4 เนื่องจากอุปสงค์มวลรวมหดตัว
เช่น การบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 1.5 (เนื่องจากแรงงานบางส่วนตกงาน และผู้ประกอบการมีกำไรลดลง) การบริโภคภาครัฐลดลงร้อยละ 2.7 (เนื่องจากจัดเก็บภาษีได้น้อยลง) การส่งออกลดลงร้อยละ 3.3 (เนื่องจากสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก) ถึงแม้ค่าจ้างที่แท้จริงของแรงงานจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 แต่ต้องแลกด้วยการเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงานจากแนวโน้มเดิมที่สูงถึงร้อยละ 7.9 ซึ่งเป็นระดับที่น่ากังวลมาก
ในส่วนของการวิเคราะห์ผลกระทบรายสาขาอุตสาหกรรม พบว่า มี 15 สาขาที่ระดับผลผลิตลดลงมากกว่าร้อยละ 3 ขึ้นไป (ตั้งแต่ร้อยละ 3.0-5.4) สาขาการปลูกไม้ (5.4) สาขาแปรรูปมันสำปะหลัง (5.1) สาขาแปรรูปไม้และเฟอร์นิเจอร์ (5.0) สาขาปลูกมันสำปะหลัง (4.7) สาขาสิ่งทอ (4.5) สาขาอุตสาหกรรมอื่นๆ (4.4) สาขาขนส่งทางราง (3.9) สาขาโลหะพื้นฐาน (3.7) สาขาโลหะประดิษฐ์ (3.7) สาขาเอทานอลจากมันสำปะหลัง (3.5)
สาขาเครื่องจักรกลและยานยนต์ (3.4) สาขาเคมีภัณฑ์ (3.4) สาขาน้ำตาล (3.2) สาขาปลูกอ้อย (3.2) และสาขาผลิตภัณฑ์กระดาษ (3.0)
นอกจากนี้ พบว่า มี 17 สาขาที่มีการลดการจ้างงานลงมากกว่าร้อยละ 10 (ตั้งแต่ร้อยละ 10.2-1.8.0) ประกอบด้วย สาขาแปรรูปมันสำปะหลัง (18.0) สาขาเอทานอลจากมันสำปะหลัง (16.0) สาขาน้ำตาล (15.2) สาขาการค้าส่ง (14.8) สาขาสิ่งทอ (14.8) สาขาแปรรูปไม้และเฟอร์นิเจอร์ (14.6) สาขาโลหะพื้นฐาน (14.2) สาขาเครื่องจักรกลและยานยนต์ (14.1) สาขาอุตสาหกรรมอื่นๆ (13.8) สาขาโลหะประดิษฐ์ (13.7) สาขาผลิตภัณฑ์กระดาษ (13.5) สาขาการค้าปลีก (12.9) สาขาเอทานอลจากอ้อย (12.6) สาขาเคมีภัณฑ์ (12.3) สาขาอโลหะ (11.5) สาขาทำถ่าน (11.3) และสาขาเครื่องดื่ม (10.2)
ดร.สุทิน ระบุอีกว่า การปรับค่าแรงเพิ่มขึ้น 40% ส่งผลกระทบทางลบอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจทั้งมหภาคและจุลภาค ดังนั้น รัฐบาลควรลดผลกระทบดังกล่าวให้เบาบางลง โดยการส่งเสริมให้แรงงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจากการศึกษาพบว่า แรงงานที่มีทักษะต่ำจะต้องมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นประมาณ 30% เศรษฐกิจจึงจะไม่หดตัวจากแนวโน้มเดิม
ซึ่งในความเป็นจริงคงจะเป็นไปได้ยาก เพราะประสิทธิภาพแรงงานทักษะต่ำคงเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 10% เท่านั้นในช่วง 1-2 ปีนี้
นอกจากนี้ ยังพบว่า ในกรณีโชคดี ประสิทธิภาพแรงงานของผู้ใช้แรงงานมีการเพิ่มขึ้นถึง 30% ก็ไม่ได้ช่วยให้การว่างงานลดลงมากนัก นั่นคือ ช่วยให้การว่างงานลดลงเพียงร้อยละ 1.1 เท่านั้น อีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้อัตราการว่างงานสูงได้รับการบรรเทา ก็คือ การที่นายจ้างทำการปรับลดสวัสดิการลงแล้วนำมาเพิ่มในส่วนของค่าจ้าง เช่น ถ้าผู้ประกอบการปรับลดสวัสดิการลงแล้วทำให้จ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นจริงเพียง 30% แทนที่จะเป็น 40% ก็ช่วยลดอัตราการว่างงานลงได้อีกเพียงร้อยละ 2.0
ดังนั้น รัฐบาลต้องมีมาตรการอื่นๆ เข้ามาช่วยบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 40% เช่น การลดหย่อนภาษีจากการจ้างแรงงาน และการส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ หากรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะเพิ่มค่าแรงเป็น 300 บาททั่วประเทศในระยะต่อไป ควรค่อยๆ ปรับขึ้นปีละ 5-10% และประกาศอย่างชัดเจน เพื่อส่งสัญญาณให้กับผู้ประกอบการได้ปรับตัวล่วงหน้า