ศูนย์ข่าวศรีราชา - ประชุม ด่วน คณะอนุกรรมการพัฒนาชุมชนและพัฒนาสังคม รอบท่าเรือแหลมฉบัง หลังจังหวัดชลบุรี มีคำสั่งแต่งตั้ง เพื่อหารือการการแกไข้ปัญหา สิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมจัดทำ CSR
วันนี้ (31 ม.ค.55) นานสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสิ่งแวดล้อม เลขาธิการสมาคมอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย เป็นประธานในการประชุม คณะอนุกรรมการพัฒนาชุมชนและสังคม รอบท่าเรือ เผยว่า เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2554 จังหวัดได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาชุมชนและสังคมรอบท่าเรือแหลมฉบัง
จึงได้มีการเรียกประชุมคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว เพื่อเร่งดำเนินการ เนื่องจากที่ผ่านมานั้นการดำเนินการต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวผลกระทบที่เกิดขึ้นจากากรพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังล่าช้า จนชาวบ้านทนไหวต้องทำหนังสือร้องเรียนไปยัง สมาคมอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย เพราะเกรงว่า ท่าเรือแหลมฉบังจะดำเนินการขยายท่าเรือเฟส 3 ต่อ
สำหรับการหารือกันในวันนี้ ได้มีตัวแทนจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เทศบาลนครแหลมฉบัง และท่าเรือแหลมฉบัง โดยได้มีการ หารือในเรื่องของ หลักการโครงการหรือกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ของท่าเรือแหลมฉบัง ต่อชุมชน ( CSR) โดยต้องมีหลักการ ดังนี้
1.ควรเป็นโครงการที่อยู่ในความต้องการของชุมชน และภาคประชาชน 2. เป็นโครงการเพื่อประโยชน์ สาธารณะส่วนรวม ประชาชนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าว 3. เป็นโครงการที่อยู่อย่างยั่งยืนและต่อเนื่องคู่ชุมชน 4. ต้องเป็นโครงการที่ประชาชนเป็นผู้คิดทำ และได้รับประโยชน์จากกิจกรรมดังกล่าว
ส่วนลักษณะของโครงการจะต้อง มี 1. กิจกรรมหรือโครงการที่สร้างอาชีพ รายได้ต่อชุมชน 2.เกี่ยวข้องกับการศึกษาของเยาวชน ในพื้นที่ 3. สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณี และลักษณะดั้งเดิม ของท้องถิ่น 4.คุณภาพชีวิต สุขภาพอนามัยของชุมชน ท้องถิ่น
5.เกี่ยวข้องกับศาสนา จิตใจ ความเชื่อของชุมชนในท้องถิ่น 6. ส่งเสริมให้ประชาชนท้องถิ่นมาทำประโยชน์ร่วมกัน 7. เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยทั้ง 3 ฝ่ายคือ เทศบาลนครแหลมฉบัง ประชาชน และท่าเรือแหลมฉบัง จะต้อง นำกลับไปคิด และรวบรวม แล้วนำกลับมาหารือกันใหม่อีกครั้งในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 นี้
นายรังสรรค์ สมบูรณ์ ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขยายท่าเรือแหลมฉบัง เผยว่า สำหรับ ความรับผิดชอบที่ทาง ทางเรือฯ ควรจะมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการขยายเฟสใหม่หรือไม่ หากงบประมาณผ่านแล้ว ก็ต้องดำเนินงานต่อ คือ
1. ตั้งศูนย์การเรียนรู้ประมงพื้นที่บ้าน 2. สหกรณ์ชุมชน 3. โครงการเก็บขยะชายหาด 4. พัฒนาเกาะนก ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว 5. โครงการพี่สอนน้อง ปลุกจิตสำนึกรักและหวงแหนคุณค่าของชุมชน 6. โครงการถังบำบัดน้ำเสียในชุมชน 7. มอบทุนการศึกษาเด็กทุกโรงเรียน
8. สนับสนุนเยาวชนรักในการเล่นดนตรี เพื่อให้ห่างไกลยาเสพติด 9. โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 10 โครงการปรับปรุงสนามกีฬา ปรับภูมิทัศน์โดยรอบ 11. เขื่อนกันคลื่น บริเวณป่าสน 12. โครงการรถพยาบาลเคลื่อนที่ 13. จัดสรรที่ดินว่างเปล่าของการท่าเรือ ม. 9 บางละมุง 14. จัดทำรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 15. ส่งเสริมวัฒนาและประเพณีท้องถิ่น
สำหรับในส่วนของท่าเรือแหลมฉบัง ที่ผ่านมาได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ทำการศึกษาการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ชาวบ้านยินยอมให้สามารถทำการศึกษาต่อไปได้ ตามที่ได้ทำสัญญาไว้กับทางท่าเรือแหลมฉบัง แต่จะต้องไม่ส่งผลการศึกษา ฯ ให้กับสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม จะต้องนำผลการศึกษานั้นกลับมาหาหรือกันก่อน
ในส่วนของภาคประชาชน ก็จะต้องทำการศึกษาภาคประชาชนเหมือนกัน รวมทั้งบอกทางออกของการแก้ไขปัญหา แล้วให้ทั้ง 2 ฝ่าย นำผลการศึกษา มาหารือกันอีกครั้ง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีเป็นประธานการดำเนินการ และสรุปว่า จะให้ดำเนินการก่อสร้างท่าเรือเฟส 3 หรือไม่