xs
xsm
sm
md
lg

กาฬสินธุ์เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมผู้ไทนานาชาติ หวังกระตุ้นท่องเที่ยวน้ำโขง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

: ตัวแทนภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วนกว่า ร่วมกันประชุมเพื่อวางแผนและเตรียมความพร้อมในการจัดงานมหกรรมผู้ไทนานาชาติ ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณต้นปี 2555 ที่อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์
กาฬสินธุ์ -ชาวผู้ไทกาฬสินธุ์ เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดใหญ่งานมหกรรมผู้ไทนานาชาติ หวังกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชื่อมความสัมพันธ์ของชนเผ่าผู้ไท ระหว่างประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

วันนี้ (19 ธ.ค.) ที่หอประชุมเทศบาลตำบลกุดสิม อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ นายประเสริฐ บุญเรือง ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 6 พรรคเพื่อไทย นายรณชิต พุทธรา นายอำเภอเขาวง ดร.ธวัชวงศ์ชัย ไตรทิพย์ นักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์ และ นายวิชัย กว้างสวาสดิ์ นายกเทศมนตรีตำบลกุดสิม พร้อมด้วยตัวแทนภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วนร่วมกันประชุมเพื่อวางแผนและเตรียมความพร้อมในการจัดงานมหกรรมผู้ไทนานาชาติ ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณต้นปี 2555 ที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี เชื่อมความสัมพันธ์ของชนเผ่าผู้ไท และกระตุ้นการท่องเที่ยวระหว่างประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ดร.ธวัชวงศ์ชัย ไตรทิพย์ ในฐานะนักวิจัยโครงการแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาพื้นบ้านผู้ไทระหว่างประเทศไทย สปป.ลาว และประเทศเวียดนาม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กล่าวว่า งานมหกรรมผู้ไทนานาชาติจะมีการจัดขึ้นประมาณต้นปี 2555 ที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายและหน่วยงานราชการต่างๆร่วมกันจัดขึ้น เพื่อขับเคลื่อนงานสู่ความร่วมมือทางวิชาการ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของชนเผ่าผู้ไท ทั้งด้านการเกษตร ด้านสุขภาพ ด้านเทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคมวัฒนธรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาได้ให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง

ดร.ธวัชวงศ์ชัย กล่าวอีกว่า สำหรับการร่วมมือกันของเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่ทั้งในประเทศไทย สปป.ลาว และเวียดนาม หากมีการสืบค้นหาจุดดี หรืออัตลักษณ์ ของตนเองจนพบแล้วนำเสนอสู่สาธารณชน

นอกจากจะเป็นการสร้างจุดขายในการกระตุ้นการท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นการสร้างสังคมความเข้มแข็งการเป็นปึกแผ่น เชื่อมความสัมพันธ์ผู้คน โดยเฉพาะสังคมวัฒนธรรมของชนเผ่าระหว่างกลุ่มประเทศภูมิภาคอาเซียน เพื่อยกระดับสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ สามารถนำไปสู่ความร่วมมือและการพัฒนาด้านอื่นๆ ของกลุ่มประเทศอาเซียนต่อไป

กำลังโหลดความคิดเห็น