ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - พิษน้ำท่วมทำผู้เลี้ยงหมูอ่วม ยอมขายขาดทุนเพื่อผู้บริโภค หวั่นโรคระบาดหลังน้ำลด คาดอาหารสัตว์ราคาสูงเหตุวัตถุดิบเสียหาย
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้เกษตรกรกำลังประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก เนื่องจากต้องขายสุกรต่ำกว่าต้นทุนซึ่งสูงกว่า 61 บาทต่อกิโลกรัม แต่พ่อค้าที่มารับซื้อกลับให้ราคาเพียง 50-55 บาทต่อกิโลกรัม เท่ากับต้องขาดทุนถึงตัวละประมาณ 1,000 บาท
ขณะที่ราคาหน้าเขียงกลับไม่ลดลงเท่าที่ควร กับยังหวั่นเรื่องโรคระบาดที่อาจตามมาหลังจากน้ำลด นอกจากนี้ ยังเกรงผลกระทบจากน้ำท่วมที่ทำให้พืชอาหารสัตว์เสียหายเป็นจำนวนมาก จึงมีแนวโน้มว่าราคาอาหารสัตว์จะสูงขึ้น
ทั้งนี้ เกษตรกรต้องแบกรับปัญหาขาดทุนเช่นนี้มานานกว่า 2 เดือน ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตน้ำท่วม ที่ผู้เลี้ยงหมูส่วนใหญ่วิตกกังวลและไม่มั่นใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงระงับการนำหมูเข้าเลี้ยง ที่สำคัญผู้เลี้ยงบางรายจำเป็นต้องขายลูกหมูหนีน้ำ เป็นหมูหันในราคาต่ำ และเมื่อเกิดภาวะน้ำท่วมก็ส่งผลให้การบริโภคเนื้อหมูลดลง จึงยิ่งเป็นการซ้ำเติมปัญหาขึ้นไปอีก
“วันนี้เกษตรกรยอมขายหมูขาดทุน เพราะประชาชนในหลายพื้นที่ต่างได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตน้ำท่วม แต่เราก็จะยังคงอดทนเพื่อผู้บริโภคต่อไป อย่างไรก็ตาม หลังจากน้ำท่วมคลี่คลาย คงต้องเฝ้าระวังเกี่ยวกับปัญหาโรคระบาดที่อาจจะตามมา ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณหมูในตลาดที่อาจลดลงได้” นายสุรชัย กล่าว
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้เกษตรกรกำลังประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก เนื่องจากต้องขายสุกรต่ำกว่าต้นทุนซึ่งสูงกว่า 61 บาทต่อกิโลกรัม แต่พ่อค้าที่มารับซื้อกลับให้ราคาเพียง 50-55 บาทต่อกิโลกรัม เท่ากับต้องขาดทุนถึงตัวละประมาณ 1,000 บาท
ขณะที่ราคาหน้าเขียงกลับไม่ลดลงเท่าที่ควร กับยังหวั่นเรื่องโรคระบาดที่อาจตามมาหลังจากน้ำลด นอกจากนี้ ยังเกรงผลกระทบจากน้ำท่วมที่ทำให้พืชอาหารสัตว์เสียหายเป็นจำนวนมาก จึงมีแนวโน้มว่าราคาอาหารสัตว์จะสูงขึ้น
ทั้งนี้ เกษตรกรต้องแบกรับปัญหาขาดทุนเช่นนี้มานานกว่า 2 เดือน ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตน้ำท่วม ที่ผู้เลี้ยงหมูส่วนใหญ่วิตกกังวลและไม่มั่นใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงระงับการนำหมูเข้าเลี้ยง ที่สำคัญผู้เลี้ยงบางรายจำเป็นต้องขายลูกหมูหนีน้ำ เป็นหมูหันในราคาต่ำ และเมื่อเกิดภาวะน้ำท่วมก็ส่งผลให้การบริโภคเนื้อหมูลดลง จึงยิ่งเป็นการซ้ำเติมปัญหาขึ้นไปอีก
“วันนี้เกษตรกรยอมขายหมูขาดทุน เพราะประชาชนในหลายพื้นที่ต่างได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตน้ำท่วม แต่เราก็จะยังคงอดทนเพื่อผู้บริโภคต่อไป อย่างไรก็ตาม หลังจากน้ำท่วมคลี่คลาย คงต้องเฝ้าระวังเกี่ยวกับปัญหาโรคระบาดที่อาจจะตามมา ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณหมูในตลาดที่อาจลดลงได้” นายสุรชัย กล่าว