มหาสารคาม - ปศุสัตว์มหาสารคาม สำรองหญ้าแห้ง 40 ตัน ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เตือนผู้เลี้ยงดูแลสุขภาพสัตว์ใกล้ชิด หวั่นโรคระบาดสัตว์ระบาด
นายธเนศ ถวิลหวัง ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ขณะนี้จังหวัดมหาสารคาม เกิดน้ำท่วมแล้ว 4 อำเภอ คือ อำเภอเมืองมหาสารคาม เชียงยืน กันทรวิชัย และอำเภอโกสุมพิสัย ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้ต้องมีการเคลื่อนย้ายสัตว์เลี้ยงขึ้นบนที่สูง ซึ่งน้ำชีที่ท่วมขังไร่นา ส่งผลให้หญ้าขาดแคลน ทางปศุสัตว์ได้สำรองหญ้าแห้งไว้จำนวน 40 ตัน เพื่อเตรียมแจกจ่ายให้กับเกษตรกร
ส่วนหญ้าสดที่ปลูกไว้กว่า 100 ไร่ สามารถไปขอรับได้ที่ สถานีพัฒนาอาหารสัตว์เชียงยืน โดยทำหนังสือผ่านมายัง อบต. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
ขณะที่โรคระบาดสัตว์ที่ต้องระวังในช่วงน้ำท่วม คือ โรคในระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหาร หากสัตว์เกิดความเครียดจะเป็นโรคเหล่านี้ได้ง่าย โดยโรคที่ต้องระวัง คือ โรคปากเท้าเปื่อย และโรคระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากการกินหญ้าเน่า และการเคลื่อนย้ายสัตว์จำนวนมากไปรวมกันในที่เดียวกัน อาจทำให้สัตว์เกิดความเครียด และเชื้อโรคมีการกระจายตัวได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้น เกษตรกรควรแจ้งมายังปศุสัตว์ ถึงจุดที่นำสัตว์ไปรวมกัน เพื่อให้ปศุสัตว์อำเภอลงไปดูแลรักษาสัตว์เลี้ยง อย่างไรก็ตาม หากพบสัตว์ล้มตายขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อพิสูจน์ซาก เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในสัตว์ และไม่ควรชำแหละเนื้อไปรับประทาน อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
นายธเนศ ถวิลหวัง ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ขณะนี้จังหวัดมหาสารคาม เกิดน้ำท่วมแล้ว 4 อำเภอ คือ อำเภอเมืองมหาสารคาม เชียงยืน กันทรวิชัย และอำเภอโกสุมพิสัย ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้ต้องมีการเคลื่อนย้ายสัตว์เลี้ยงขึ้นบนที่สูง ซึ่งน้ำชีที่ท่วมขังไร่นา ส่งผลให้หญ้าขาดแคลน ทางปศุสัตว์ได้สำรองหญ้าแห้งไว้จำนวน 40 ตัน เพื่อเตรียมแจกจ่ายให้กับเกษตรกร
ส่วนหญ้าสดที่ปลูกไว้กว่า 100 ไร่ สามารถไปขอรับได้ที่ สถานีพัฒนาอาหารสัตว์เชียงยืน โดยทำหนังสือผ่านมายัง อบต. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
ขณะที่โรคระบาดสัตว์ที่ต้องระวังในช่วงน้ำท่วม คือ โรคในระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหาร หากสัตว์เกิดความเครียดจะเป็นโรคเหล่านี้ได้ง่าย โดยโรคที่ต้องระวัง คือ โรคปากเท้าเปื่อย และโรคระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากการกินหญ้าเน่า และการเคลื่อนย้ายสัตว์จำนวนมากไปรวมกันในที่เดียวกัน อาจทำให้สัตว์เกิดความเครียด และเชื้อโรคมีการกระจายตัวได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้น เกษตรกรควรแจ้งมายังปศุสัตว์ ถึงจุดที่นำสัตว์ไปรวมกัน เพื่อให้ปศุสัตว์อำเภอลงไปดูแลรักษาสัตว์เลี้ยง อย่างไรก็ตาม หากพบสัตว์ล้มตายขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อพิสูจน์ซาก เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในสัตว์ และไม่ควรชำแหละเนื้อไปรับประทาน อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้