พะเยา - “หอฯพะเยา-หอฯเหนือ 2” ประเมินหลังน้ำท่วมหาก รบ.ฟื้นฟูช้า กระทบ ศก.ระยะยาว คาดขาดสภาพคล่อง เตือนนักลงทุนอาจชะลอการลงทุนหรือขยับฐาน ห่วง “แรงงานรายวัน” ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 100%ตกงานขาดรายได้หวั่นเครียด เสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดหามาตรการรองรับด่วน! ด้านธุรกิจอสังหาฯต้องทบทวนการขยายพื้นที่ปิดกั้นทางน้ำ
นายหัสนัย แก้วกูล ประธานหอการค้าจังหวัดพะเยา กล่าวว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ขณะนี้ คาดว่ารัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณในการวางแผนเพื่อฟื้นฟูและเยียวยาประเทศโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจในระยะยาวจำนวนมหาศาล ซึ่งรัฐบาลจะต้องมีแผนวางไว้รองรับแล้ว และต้องทำงานให้เร็ว ไม่ขัดแย้งกันในการทำงาน เพราะต้องให้มีการเดินหน้าความช่วยเหลือทุกด้านทั้งนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศด้วย เพื่อทำให้เกิดความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนโดยเร็ว แต่หากรัฐบาลดำเนินการช้าและไม่มีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นมรรคผลชัดเจน อาจจะกระทบเศรษฐกิจของประเทศระยะยาว และที่สำคัญอาจจะกระทบถึงเสถียรภาพของรัฐบาลด้วย
ปธ.หอการค้า ฯ กล่าวต่อว่า เพราะผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณจำนวนมากมาฟื้นฟู เม็ดเงินที่ประชาชนมีอยู่ในมืออาจจะถูกนำมาใช้จ่ายน้อยลง ส่งผลให้ขาดสภาพคล่อง เศรษฐกิจในภาพรวมชะลอตัว ดังนั้นสิ่งที่เป็นกังวลและฝากความห่วงใยถึงภาคการลงทุนในระยะนี้ ควรต้องทบทวนหรือพิจารณาแผนงานโครงการด้านการลงทุนให้มาก บางครั้งอาจจะต้องถึงขั้นชะลอการลงทุนในบางโครงการไว้ก่อนตามความเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับรัฐบาลจะมีความสามารถเพียงใดในการฟื้นฟูเพื่อไม่ให้นักลงทุนจากต่างประเทศย้ายฐานการลงทุนด้วย
นอกจากนี้ สิ่งที่ตนเป็นห่วงคือผลกระทบจากน้ำท่วมที่ทำให้โรงงานภายในนิคมอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 5 แห่ง ต้องปิดตัวลงและจะต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อพักรอจนกว่าน้ำจะลดและการฟื้นฟูให้โรงงานสามารถดำเนินการได้ดังเดิม ซึ่งแรงงานไม่ทราบว่าเมื่อใดถึงจะได้กลับไปทำงานอีกครั้ง ขณะที่แรงงานต้องกลับบ้านคิดว่าทางจังหวัดแต่ละแห่ง โดยเฉพาะจังหวัดที่น้ำไม่ท่วม อาจจะต้องเร่งหาวิธีการหรือสรรหาตำแหน่งงานที่ว่างเว้นทุกตำแหน่งที่มีข้อมูลอยู่ในฐานข้อมูล เพื่อปิดประกาศแจ้งไปยังกลุ่มแรงงานทุกคนโดยเร็ว เพื่อเป็นการช่วยเหลือแรงงานได้รับการบรรเทาเรื่องการตกงานต่อไป
ปธ.หอการค้า ฯ กล่าวต่อว่า ในส่วนของแรงงานที่เป็นลูกจ้างประจำนั้นตนไม่ห่วง แต่ที่ห่วงคือแรงงานรายวันที่ต้องหาเข้ากินค่ำได้รับผลกระทบ 100% โดยตรง เพราะ เมื่อไม่มีโรงงานไม่มีแหล่งประกอบการจ้างเพราะต้องประสบปัญหาน้ำท่วม ก็ส่งผลให้แรงงานรายวันเหล่านี้ขาดงานทำ ไม่มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวไปด้วย เกรงว่านานไปอาจจะเกิดความเครียดและกลายเป็นปัญหาสังคมตามมาภายหลังได้
“ผมคิดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งวางแผนรับมือเรื่องแรงงานที่กำลังตกงานและจะตกในอนาคต ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม เพื่อให้แรงงานรายวันเหล่านี้มีทางออกให้แก่ชีวิตของตัวเอง จะได้ไม่เกิดความเครียดซึ่งอาจจะนำไปสู่การเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาภายหลังได้ ตรงนี้ภาครัฐสามารถประสานงานภาคเอกชนเพื่อค้นหาตำแหน่งงานที่ว่างใช้รองรับแรงงานได้ส่วนหนึ่ง” นายหัสนัย กล่าว
ทางด้าน นายจรัส สุทธิกุลบุตร ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 กล่าวว่า ภาคธุรกิจพะเยาห่วงใยเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นหลายจังหวัดและจากการติดตามสถานการณ์ยังคงขยายวงกว้างไปยังพื้นที่อื่นอีกมากและการรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ยังจะทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนสถานการณ์จะดีขึ้น โดยในระยะสั้นคนไทยทุกคนช่วยได้ทั้งกำลังทรัพย์และน้ำใจอย่างเต็มที่โดยไม่ได้รอแค่การแก้ไขปัญหาจากรัฐบาล แต่ในระยะยาวภาคส่วนต่างๆทั้งภาครัฐ เอกชนและสถาบันต่างๆ ต้องเกิดการวิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเพื่อหาทางป้องกัน
“ผมคิดว่าภาคธุรกิจก็เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นกลไกหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบ เราไม่โทษแค่ภาวะโลกของเราที่เปลี่ยนไป ไม่โทษเฉพาะภาคเกษตร เพราะภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคธุรกิจที่ขยายโครงการด้านโครงสร้าง บางทีก็ไปปิดกั้นทางน้ำและทับถมพื้นที่พักน้ำในอดีต ซึ่งกลุ่มธุรกิจด้านนี้ต้องมีการพูดคุยกันอย่างจริงจัง และปลูกฝังด้านจิตสำนึกในการทำธุรกิจไปยังทุกกลุ่มธุรกิจในสังคม ว่าต้องมีจิตสำนึกต่อสิงแวดล้อม” นายจรัส กล่าว
นายหัสนัย แก้วกูล ประธานหอการค้าจังหวัดพะเยา กล่าวว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ขณะนี้ คาดว่ารัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณในการวางแผนเพื่อฟื้นฟูและเยียวยาประเทศโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจในระยะยาวจำนวนมหาศาล ซึ่งรัฐบาลจะต้องมีแผนวางไว้รองรับแล้ว และต้องทำงานให้เร็ว ไม่ขัดแย้งกันในการทำงาน เพราะต้องให้มีการเดินหน้าความช่วยเหลือทุกด้านทั้งนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศด้วย เพื่อทำให้เกิดความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนโดยเร็ว แต่หากรัฐบาลดำเนินการช้าและไม่มีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นมรรคผลชัดเจน อาจจะกระทบเศรษฐกิจของประเทศระยะยาว และที่สำคัญอาจจะกระทบถึงเสถียรภาพของรัฐบาลด้วย
ปธ.หอการค้า ฯ กล่าวต่อว่า เพราะผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณจำนวนมากมาฟื้นฟู เม็ดเงินที่ประชาชนมีอยู่ในมืออาจจะถูกนำมาใช้จ่ายน้อยลง ส่งผลให้ขาดสภาพคล่อง เศรษฐกิจในภาพรวมชะลอตัว ดังนั้นสิ่งที่เป็นกังวลและฝากความห่วงใยถึงภาคการลงทุนในระยะนี้ ควรต้องทบทวนหรือพิจารณาแผนงานโครงการด้านการลงทุนให้มาก บางครั้งอาจจะต้องถึงขั้นชะลอการลงทุนในบางโครงการไว้ก่อนตามความเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับรัฐบาลจะมีความสามารถเพียงใดในการฟื้นฟูเพื่อไม่ให้นักลงทุนจากต่างประเทศย้ายฐานการลงทุนด้วย
นอกจากนี้ สิ่งที่ตนเป็นห่วงคือผลกระทบจากน้ำท่วมที่ทำให้โรงงานภายในนิคมอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 5 แห่ง ต้องปิดตัวลงและจะต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อพักรอจนกว่าน้ำจะลดและการฟื้นฟูให้โรงงานสามารถดำเนินการได้ดังเดิม ซึ่งแรงงานไม่ทราบว่าเมื่อใดถึงจะได้กลับไปทำงานอีกครั้ง ขณะที่แรงงานต้องกลับบ้านคิดว่าทางจังหวัดแต่ละแห่ง โดยเฉพาะจังหวัดที่น้ำไม่ท่วม อาจจะต้องเร่งหาวิธีการหรือสรรหาตำแหน่งงานที่ว่างเว้นทุกตำแหน่งที่มีข้อมูลอยู่ในฐานข้อมูล เพื่อปิดประกาศแจ้งไปยังกลุ่มแรงงานทุกคนโดยเร็ว เพื่อเป็นการช่วยเหลือแรงงานได้รับการบรรเทาเรื่องการตกงานต่อไป
ปธ.หอการค้า ฯ กล่าวต่อว่า ในส่วนของแรงงานที่เป็นลูกจ้างประจำนั้นตนไม่ห่วง แต่ที่ห่วงคือแรงงานรายวันที่ต้องหาเข้ากินค่ำได้รับผลกระทบ 100% โดยตรง เพราะ เมื่อไม่มีโรงงานไม่มีแหล่งประกอบการจ้างเพราะต้องประสบปัญหาน้ำท่วม ก็ส่งผลให้แรงงานรายวันเหล่านี้ขาดงานทำ ไม่มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวไปด้วย เกรงว่านานไปอาจจะเกิดความเครียดและกลายเป็นปัญหาสังคมตามมาภายหลังได้
“ผมคิดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งวางแผนรับมือเรื่องแรงงานที่กำลังตกงานและจะตกในอนาคต ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม เพื่อให้แรงงานรายวันเหล่านี้มีทางออกให้แก่ชีวิตของตัวเอง จะได้ไม่เกิดความเครียดซึ่งอาจจะนำไปสู่การเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาภายหลังได้ ตรงนี้ภาครัฐสามารถประสานงานภาคเอกชนเพื่อค้นหาตำแหน่งงานที่ว่างใช้รองรับแรงงานได้ส่วนหนึ่ง” นายหัสนัย กล่าว
ทางด้าน นายจรัส สุทธิกุลบุตร ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 กล่าวว่า ภาคธุรกิจพะเยาห่วงใยเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นหลายจังหวัดและจากการติดตามสถานการณ์ยังคงขยายวงกว้างไปยังพื้นที่อื่นอีกมากและการรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ยังจะทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนสถานการณ์จะดีขึ้น โดยในระยะสั้นคนไทยทุกคนช่วยได้ทั้งกำลังทรัพย์และน้ำใจอย่างเต็มที่โดยไม่ได้รอแค่การแก้ไขปัญหาจากรัฐบาล แต่ในระยะยาวภาคส่วนต่างๆทั้งภาครัฐ เอกชนและสถาบันต่างๆ ต้องเกิดการวิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเพื่อหาทางป้องกัน
“ผมคิดว่าภาคธุรกิจก็เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นกลไกหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบ เราไม่โทษแค่ภาวะโลกของเราที่เปลี่ยนไป ไม่โทษเฉพาะภาคเกษตร เพราะภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคธุรกิจที่ขยายโครงการด้านโครงสร้าง บางทีก็ไปปิดกั้นทางน้ำและทับถมพื้นที่พักน้ำในอดีต ซึ่งกลุ่มธุรกิจด้านนี้ต้องมีการพูดคุยกันอย่างจริงจัง และปลูกฝังด้านจิตสำนึกในการทำธุรกิจไปยังทุกกลุ่มธุรกิจในสังคม ว่าต้องมีจิตสำนึกต่อสิงแวดล้อม” นายจรัส กล่าว