ระนอง-สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง เตือนผู้ประกอบการ ประชาชน ระวังอันตรายจากเชื้อราอะฟลาท็อกซิน พร้อมแนะวิธีเลือกซื้อถั่วลิสง/พริกป่นที่ปลอดสารก่อมะเร็ง
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง เก็บตัวอย่างพริกป่น/ถั่วป่นในร้านก๋วยเตี๋ยวและตลาดสดทุกอำเภอ จำนวน 62 ตัวอย่าง พบเชื้อราอะฟลาท็อกซิน 28 ตัวอย่าง ซึ่งอะฟลาท็อกซิน เป็นสารพิษก่อมะเร็งที่สร้างขึ้นโดยเชื้อราบางชนิดมีลักษณะเป็นสีเขียวหรือสีเขียวแกมเหลืองสามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่มีความอับชื้น สามารถทนต่อความร้อนได้ดี จึงไม่สามารถทำลายให้หมดไปโดยการหุงต้มปกติ อาหารที่พบ ส่วนใหญ่พบในเมล็ดถั่วลิสง ข้าวโพด หอม กระเทียม พริกแห้ง รวมทั้งธัญพืชชนิดต่างๆ
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง กล่าวว่า ถ้ารับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินในปริมาณมากๆจะทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน คือ อาเจียน และท้องเดิน แต่หากรับประทานน้อยๆแต่บ่อยครั้ง จะสะสมทำให้เกิดพิษเรื้อรัง โดยไปยับยั้งไม่ให้ร่างกายสร้างโปรตีน ส่งผลให้ร่างกายสร้างเซลล์ผิดเพี้ยนหรือทำให้เกิดมะเร็งได้
โดยเฉพาะมะเร็งตับ สำหรับวิธีการหลีกเลี่ยงสารพิษอะฟลาท็อกซิน 1. หากเป็นอาหารแห้ง เช่น ถั่วต่างๆ พริกแห้ง หอม ข้าวโพด ควรเลือกซื้อที่ทำเสร็จใหม่ๆ ไม่มีคราบเขียว เหลือง ดำหรือขาวหรือดมแล้วมีกลิ่นเหม็นอับ 2. ควรหลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่ป่นสำเร็จรูปแล้ว โดยเฉพาะถั่วป่น,พริกป่นและไม่ควรเก็บไว้นาน 3. ควรเก็บอาหารแห้งไว้ในที่แห้งหรือนำไปตากแดดให้แห้งก่อนเก็บ
4.ห้ามรับประทานอาหารที่มีราขึ้นโดยเด็ดขาด 5.เมื่อจะปรุงอาหารให้นำถั่วลิสงดิบไปแช่น้ำแล้วช้อนเอาเมล็ดถั่วลิสงที่ลอยน้ำทิ้งไป เมล็ดถั่วลิสงที่จมน้ำล้างให้สะอาดก่อนนำไปปรุงอาหารรับประทาน 6.ควรคั่วถั่วลิสงเองให้พอเหมาะกับการบริโภคแต่ละครั้งและไม่ควรเก็บไว้เกินสามวันหลังจากคั่วแล้ว มีข้อสงสัยหรือต้องการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารติดต่อได้ที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง หมายเลขโทรศัพท์ 0-7782-4880 ในวันและเวลาราชการ
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง เก็บตัวอย่างพริกป่น/ถั่วป่นในร้านก๋วยเตี๋ยวและตลาดสดทุกอำเภอ จำนวน 62 ตัวอย่าง พบเชื้อราอะฟลาท็อกซิน 28 ตัวอย่าง ซึ่งอะฟลาท็อกซิน เป็นสารพิษก่อมะเร็งที่สร้างขึ้นโดยเชื้อราบางชนิดมีลักษณะเป็นสีเขียวหรือสีเขียวแกมเหลืองสามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่มีความอับชื้น สามารถทนต่อความร้อนได้ดี จึงไม่สามารถทำลายให้หมดไปโดยการหุงต้มปกติ อาหารที่พบ ส่วนใหญ่พบในเมล็ดถั่วลิสง ข้าวโพด หอม กระเทียม พริกแห้ง รวมทั้งธัญพืชชนิดต่างๆ
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง กล่าวว่า ถ้ารับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินในปริมาณมากๆจะทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน คือ อาเจียน และท้องเดิน แต่หากรับประทานน้อยๆแต่บ่อยครั้ง จะสะสมทำให้เกิดพิษเรื้อรัง โดยไปยับยั้งไม่ให้ร่างกายสร้างโปรตีน ส่งผลให้ร่างกายสร้างเซลล์ผิดเพี้ยนหรือทำให้เกิดมะเร็งได้
โดยเฉพาะมะเร็งตับ สำหรับวิธีการหลีกเลี่ยงสารพิษอะฟลาท็อกซิน 1. หากเป็นอาหารแห้ง เช่น ถั่วต่างๆ พริกแห้ง หอม ข้าวโพด ควรเลือกซื้อที่ทำเสร็จใหม่ๆ ไม่มีคราบเขียว เหลือง ดำหรือขาวหรือดมแล้วมีกลิ่นเหม็นอับ 2. ควรหลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่ป่นสำเร็จรูปแล้ว โดยเฉพาะถั่วป่น,พริกป่นและไม่ควรเก็บไว้นาน 3. ควรเก็บอาหารแห้งไว้ในที่แห้งหรือนำไปตากแดดให้แห้งก่อนเก็บ
4.ห้ามรับประทานอาหารที่มีราขึ้นโดยเด็ดขาด 5.เมื่อจะปรุงอาหารให้นำถั่วลิสงดิบไปแช่น้ำแล้วช้อนเอาเมล็ดถั่วลิสงที่ลอยน้ำทิ้งไป เมล็ดถั่วลิสงที่จมน้ำล้างให้สะอาดก่อนนำไปปรุงอาหารรับประทาน 6.ควรคั่วถั่วลิสงเองให้พอเหมาะกับการบริโภคแต่ละครั้งและไม่ควรเก็บไว้เกินสามวันหลังจากคั่วแล้ว มีข้อสงสัยหรือต้องการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารติดต่อได้ที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง หมายเลขโทรศัพท์ 0-7782-4880 ในวันและเวลาราชการ