xs
xsm
sm
md
lg

จี้ภาคอุตสาหกรรมใส่ใจผลกระทบจากแร่ใยหิน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สช.-สมาพันธ์อาชีวอนามัยฯ จี้ ภาคอุตสาหกรรมขานรับนโยบายสังคมไทยปลอดแร่ใยหิน ยันผลวิชาการชัดมีผลกระทบต่อร่างกาย

วันนี้ (27 ก.ย. ) ผศ.พญ.พิชญา พรรคทองสุข อาจารย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ กล่าวในการแถลงข่าว สช.เจาะประเด็น “เมืองไทยไร้แร่ใยหิน...คืบหน้าหรือคืบคลาน” ว่า เรื่องการดำเนินการขอให้ประเทศไทยสู่สังคมไร้แร่ใยหินนั้นประเทศไทย มีการใช้มาตรการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพราะส่วนหนึ่งทั่วโลกมีการเลิกใช้มานานกว่า 20 ปีแล้ว ขณะที่ประเทศไทยมีการพบผลกระทบอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้มี สมาพันธ์อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมไทยและเครือข่ายได้มีการนำเสนอข้อมูลทางวิชาการเพื่อผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมรับทราบ ซึ่งชนิดที่นิยมใช้ในประเทศไทย คือ ชนิดไคร์โซไทล์ เป็นสารก่อมะเร็งและก่ออันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งส่วนนี้ทางเครือข่ายพยายามผลักดันให้มีการยกเลิกการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ทันทีโดยไม่ต้องรอให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงของโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดในประเทศไทย และควรดำเนินการควบคุมให้แร่ใยหินเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 อย่างเร่งด่วนภายในปี 2554 ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่นำเข้าและผลิตวัสดุจากแร่ใยหินมากกว่า 70% แล้ว เหตุเพราะมีการทบทวนผลกระทบอย่างรอบด้าน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังเชิงรับ คือต้องเร่งผลักดันให้ภาคส่วนของแพทย์และสถานบริการสาธารณสุข มีเครื่องมือ และเทคโนโลยีเพื่อรองรับการตรวจหาแร่ใยหินในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งทางเครือข่ายภาคีจะมีการประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าในการผลักดันยุทธศาสตร์ดังกล่าวครั้งต่อไปวันที่ 5 ต.ค.นี้
ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
ผศ.พญ.พิชญา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขปี 2551 พบผู้มีความผิดปกติที่มีอาการเข้าได้กับโรคจำนวน 39 ราย และพบผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจากเหตุอาชีพ 1 รายในปี 2553 แอสเบสโตซิส 3 ราย มีอาการเข้าได้กับแอสเบสโตซิสหมายถึงยังไม่ยืนยันผล 7 ราย และเยื่อหุ้มปอดหนา 37 ราย และปี 2554 มีการตรวจพบผู้ต้องสงสัยที่อาจป่วยเป็นมะเร็งเยื่อหุ้มปอดซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวนโรคจำนวน 3-4 ราย

ด้านนพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวะพลา ที่ปรึกษาสำนักงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าว ขณะนี้ทางภาคอุตสาหกรรมขอเวลาในการทบทวนข้อมูลต่างๆ โดยขอเวลาราว 6 เดือน ซึ่งทาง สช.และเครือข่ายก็จะติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยหากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบด้านใดก็พร้อมจะนำเสนอ

ด้านรศ.ดร.วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์ อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ลัยมหิดล กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์การใช้แร่ใยหินในประเทศไทยนั้น ส่วนของกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องและเบรกมีมากกว่า 90% โดยในปี 2003 ประเทศไทยมีการนำเข้าแร่ใยหินราว 1.8 แสนตัน ส่วนปี 2009 ลดลงเหลือ 6.8 หมื่นตัน เนื่องจากเป็นปีที่มีบริษัทใหญ่ 2 บริษัทยกเลิกการใช้แร่ใยหิน คือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
กำลังโหลดความคิดเห็น