ASTVผู้จัดการออนไลน์-ซีพีเอฟเดินหน้าสนับสนุนนักเรียนในโรงเรียนตามถิ่นทุรกันดารเลี้ยงปลา เพื่อสร้างแหล่งโปรตีนด้วยฝีมือตนเอง ล่าสุด ดำเนินโครงการเลี้ยงปลาในโรงเรียน นำร่อง 8 โรงเรียน ในจังหวัดนครนายก
นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ตามที่มูลนิธิประเสริฐ-ทัศนีย์ พุ่งกุมาร ได้ให้การสนับสนุนการศึกษาและการสร้างอาชีพ เช่น การเลี้ยงไก่ไข่ การเพาะปลูกพืช และการเลี้ยงปลา แก่โรงเรียนต่างๆในจังหวัดนครนายกรวม 50 แห่ง ซึ่งซีพีเอฟได้เข้าไปร่วมสนับสนุนในกิจกรรมต่างๆ ของมูลนิธิฯ มาโดยตลอด
“ในปีพ.ศ.2554 นี้ ซีพีเอฟได้นำร่องโครงการเลี้ยงปลาในโรงเรียน 8 แห่ง ด้วยการคัดเลือกโรงเรียนที่มีความพร้อม ทั้งการเลี้ยงในบ่อดินและการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ โดยวางแผนที่จะขยายโครงการไปยังโรงเรียนทั้ง 50 แห่ง เพื่อให้เยาวชนไทยได้รับประทานเนื้อปลาที่มีโปรตีน นอกจากนี้ เด็กๆ ยังเกิดการเรียนรู้ด้านการเกษตรจากการลงมือปฏิบัติจริง ที่จะติดตัวไปเป็นอาชีพได้ในอนาคตได้อย่างยั่งยืน ที่สำคัญโครงการนี้จะกลายเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของพ่อแม่ผู้ปกครองหรือชาวชุมชน ที่อาจจะกลายเป็นอาชีพและเป็นแหล่งสร้างโปรตีนในชุมชนต่อไป” นายอดิศร์ กล่าวและว่า
ขั้นตอนของโครงการ เริ่มจากคัดเลือกโรงเรียนแล้ว โรงเรียนจะดำเนินการเตรียมในส่วนของบ่อเลี้ยงที่จะใช้บ่อน้ำหรือบ่อซีเมนต์เดิมที่โรงเรียนมีอยู่ จากนั้นทางโครงการจะทำการปรับปรุงบ่อและโรงเรือนให้พร้อมสำหรับการเลี้ยงปลา โดยบริษัทจะมอบพันธุ์ปลาซีพีคุณภาพดี อาทิ ปลาดุก ปลาทับทิม หรือปลาเบญจพรรณ ในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงเพื่อให้เพียงพอกับการบริโภคภายในโรงเรียน พร้อมทั้งมอบอาหารปลาในรุ่นแรก และส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้กับอาจารย์และเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
การเลี้ยงปลา 1 รุ่นจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน หรือ 1 ภาคเรียน โดยสามารถเลี้ยงปลาได้ประมาณ 2-2.5 รุ่นต่อปี และเมื่อเลี้ยงปลาได้ตามอายุที่สามารถจับได้ ส่วนหนึ่งจะถูกมามาปรุงเป็นอาหารกลางวันของเด็กๆ ส่วนที่เหลือก็สามารถจำหน่ายในชุมชน เกิดเป็นรายได้และมีกำไรประมาณ 2,000-3,000 บาทต่อรุ่น ซึ่งจะกลายเป็นเงินกองทุนที่เพียงพอสำหรับเลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป ตลอดจนเป็นทุนสำหรับการทำโครงการเกษตรอื่นๆ ของโรงเรียนอีกด้วย
นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ตามที่มูลนิธิประเสริฐ-ทัศนีย์ พุ่งกุมาร ได้ให้การสนับสนุนการศึกษาและการสร้างอาชีพ เช่น การเลี้ยงไก่ไข่ การเพาะปลูกพืช และการเลี้ยงปลา แก่โรงเรียนต่างๆในจังหวัดนครนายกรวม 50 แห่ง ซึ่งซีพีเอฟได้เข้าไปร่วมสนับสนุนในกิจกรรมต่างๆ ของมูลนิธิฯ มาโดยตลอด
“ในปีพ.ศ.2554 นี้ ซีพีเอฟได้นำร่องโครงการเลี้ยงปลาในโรงเรียน 8 แห่ง ด้วยการคัดเลือกโรงเรียนที่มีความพร้อม ทั้งการเลี้ยงในบ่อดินและการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ โดยวางแผนที่จะขยายโครงการไปยังโรงเรียนทั้ง 50 แห่ง เพื่อให้เยาวชนไทยได้รับประทานเนื้อปลาที่มีโปรตีน นอกจากนี้ เด็กๆ ยังเกิดการเรียนรู้ด้านการเกษตรจากการลงมือปฏิบัติจริง ที่จะติดตัวไปเป็นอาชีพได้ในอนาคตได้อย่างยั่งยืน ที่สำคัญโครงการนี้จะกลายเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของพ่อแม่ผู้ปกครองหรือชาวชุมชน ที่อาจจะกลายเป็นอาชีพและเป็นแหล่งสร้างโปรตีนในชุมชนต่อไป” นายอดิศร์ กล่าวและว่า
ขั้นตอนของโครงการ เริ่มจากคัดเลือกโรงเรียนแล้ว โรงเรียนจะดำเนินการเตรียมในส่วนของบ่อเลี้ยงที่จะใช้บ่อน้ำหรือบ่อซีเมนต์เดิมที่โรงเรียนมีอยู่ จากนั้นทางโครงการจะทำการปรับปรุงบ่อและโรงเรือนให้พร้อมสำหรับการเลี้ยงปลา โดยบริษัทจะมอบพันธุ์ปลาซีพีคุณภาพดี อาทิ ปลาดุก ปลาทับทิม หรือปลาเบญจพรรณ ในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงเพื่อให้เพียงพอกับการบริโภคภายในโรงเรียน พร้อมทั้งมอบอาหารปลาในรุ่นแรก และส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้กับอาจารย์และเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
การเลี้ยงปลา 1 รุ่นจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน หรือ 1 ภาคเรียน โดยสามารถเลี้ยงปลาได้ประมาณ 2-2.5 รุ่นต่อปี และเมื่อเลี้ยงปลาได้ตามอายุที่สามารถจับได้ ส่วนหนึ่งจะถูกมามาปรุงเป็นอาหารกลางวันของเด็กๆ ส่วนที่เหลือก็สามารถจำหน่ายในชุมชน เกิดเป็นรายได้และมีกำไรประมาณ 2,000-3,000 บาทต่อรุ่น ซึ่งจะกลายเป็นเงินกองทุนที่เพียงพอสำหรับเลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป ตลอดจนเป็นทุนสำหรับการทำโครงการเกษตรอื่นๆ ของโรงเรียนอีกด้วย