xs
xsm
sm
md
lg

ผู้ว่าฯเพชรสั่งเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมในพื้นที่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เพชุรบุรี - ผู้ว่าฯเพชรบุรี เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัด เผยน้ำในเขือนแก่งกระจาน และอ่างเก็บน้ำแม่ประจันต์ ยังสามารถรองรับน้ำได้อีกมาก

วันนี้ (23 ก.ย.) นายชาย พานิชพรพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี พร้อมผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี หัวหน้าส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าร่วมประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อรับสถานการณ์อุทกภัยในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ที่ห้องประชุมเขื่อนแก่งกระจาน โดยในที่ประชุมได้มีการรายงานปริมาณน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ โดยวันนี้ (23 ก.ย.) น้ำในเขื่อนแก่งกระจานมีปริมาณน้ำ 493.34 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นความจุ 69.48% จากความจุทั้งหมด 710 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ประจันต์ ปริมาณน้ำในอ่าง 19.80 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นความจุ 46.92% จากความจุทั้งหมด 42.20 ล้าน ลบ.ม. ส่วนสภาพน้ำในอ่างฯห้วยผาก ปริมาณน้ำในอ่าง 6.86 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นความจุ 24.94% จากความจุทั้งหมด 27.50 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งยังสามารถรองรับน้ำได้อีกจำนวนมาก

นอกจากนี้ ยังมีการรายงานถึงการเตรียมความพร้อมขณะน้ำมาด้วยการเสริมกระสอบทราย ก่อสร้างคันดินเล็ก ก่อสร้างทำนบชั่วคราวปิดช่องทางน้ำที่ยังไม่มีอาคารบังคับน้ำ ขุดลอกและการกำจัดวัชพืชเพิ่มเติม ส่งน้ำเข้าพื้นที่ชลประทานเพื่อลดปริมาณยอดน้ำสูงสุดสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่น้ำท่วมขัง เป็นต้น

ส่วนแผนหลังอุทกภัยจะเร่งสำรวจความเสียหายของระบบชลประทาน เพื่อซ่อมแซมให้สามารถใช้งานได้ตามปกติโดยเร็วสำรวจพื้นที่การเกษตรในเขตชลประทานที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม ภายหลังที่สภาพน้ำลดระดับลง ก่อนที่จะพิจารณาสนับสนุนการจัดสรรน้ำและเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่เพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งกรณีชดเชยในช่วงฤดูแล้งที่จะมาถึง ถ้ามีแหล่งน้ำต้นทุนเพียงพอ

ขณะที่แนวทางการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่การเกษตร จ่ายน้ำในทุ่งนาคงเหลือเฉพาะตามความต้องการใช้น้ำของข้าวสูงประมาณ 10 ซม.ในช่วงฤดูน้ำหลากจะส่งน้ำตามความสามารถรับน้ำได้ของระบบฯเพิ่มน้ำในทุ่ง 10-15 ซม.

นอกจากนี้ ยังมีการกำจัดวัชพืช สิ่งกีดขวางทางน้ำ ขุดลอก อ่างเก็บน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำและการระบายน้ำ ซ่อมแซม และตรวจสอบความพร้อมใช้งานของอาคารชลประทานต่าง ๆ เช่น คันกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ ประตูน้ำและสถานีสูบน้ำ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดผลผลกระทบต่อเกษตรกรและประชาชนน้อยที่สุด
กำลังโหลดความคิดเห็น