อุดรธานี - สาธารณสุขอุดรฯ เผยพบผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก แล้ว 41 ราย เตือนประชาชนหมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่ และของใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ
นายสัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า โรคมือ เท้า ปาก มักพบในช่วงฤดูฝนเนื่องจากสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศมีความอับชื้น เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อ โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม มักพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก และ ขณะนี้พบผู้ป่วยในจังหวัดอุดรธานีแล้ว 41 ราย กระจายในหลายพื้นที่
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีจึงฝากเตือนมายังพ่อ แม่ ผู้ปกครองทุกท่านได้แนะนำบุตรหลานและผู้เลี้ยงดูเด็กให้เอาใจใส่เรื่องความสะอาด และสุขอนามัยส่วนบุคคล สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล ต้องจัดให้มีอ่างล้างมือและส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงการกำจัดอุจจาระเด็กให้ถูกสุขลักษณะ
นอกจากนี้ หากพบเด็กป่วยต้องรีบป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่น ควรแนะนำผู้ปกครองให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 7-14 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ระหว่างนี้ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ และห้างสรรพสินค้า และผู้เลี้ยงดูเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย หากมีเด็กป่วยจำนวนมาก อาจจำเป็นต้องปิดสถานที่ชั่วคราว (1-2 สัปดาห์) และทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค โดยอาจใช้สารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนผสมกับน้ำ 30
ส่วน อาการของโรคมือ เท้า ปากนั้น หลังจากได้รับเชื้อ 3-9 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วยมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน มีอาการเจ็บปากและไม่ยอมทานอาหาร เนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส ซึ่งบริเวณรอบๆ จะอักเสบและแดง ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ จะพบตุ่มหรือผื่น (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือนิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นด้วย อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน
โรคมือ เท้า ปากยังไม่มีวัคซีนป้องกันและไม่มียาฆ่าเชื้อโดยตรง จึงควรสังเกตอาการเด็กอย่างใกล้ชิด หากพบเด็กมีไข้สูง ซึม ไม่รับประทานอาหารและน้ำ อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง อาจเกิดอาการแทรกซอน คือ ภาวะสมองหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด ซึ่งอาจรุนแรงถึงชีวิต ควรนำเด็กพบแพทย์ทันที
นายสัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า โรคมือ เท้า ปาก มักพบในช่วงฤดูฝนเนื่องจากสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศมีความอับชื้น เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อ โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม มักพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก และ ขณะนี้พบผู้ป่วยในจังหวัดอุดรธานีแล้ว 41 ราย กระจายในหลายพื้นที่
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีจึงฝากเตือนมายังพ่อ แม่ ผู้ปกครองทุกท่านได้แนะนำบุตรหลานและผู้เลี้ยงดูเด็กให้เอาใจใส่เรื่องความสะอาด และสุขอนามัยส่วนบุคคล สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล ต้องจัดให้มีอ่างล้างมือและส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงการกำจัดอุจจาระเด็กให้ถูกสุขลักษณะ
นอกจากนี้ หากพบเด็กป่วยต้องรีบป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่น ควรแนะนำผู้ปกครองให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 7-14 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ระหว่างนี้ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ และห้างสรรพสินค้า และผู้เลี้ยงดูเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย หากมีเด็กป่วยจำนวนมาก อาจจำเป็นต้องปิดสถานที่ชั่วคราว (1-2 สัปดาห์) และทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค โดยอาจใช้สารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนผสมกับน้ำ 30
ส่วน อาการของโรคมือ เท้า ปากนั้น หลังจากได้รับเชื้อ 3-9 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วยมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน มีอาการเจ็บปากและไม่ยอมทานอาหาร เนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส ซึ่งบริเวณรอบๆ จะอักเสบและแดง ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ จะพบตุ่มหรือผื่น (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือนิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นด้วย อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน
โรคมือ เท้า ปากยังไม่มีวัคซีนป้องกันและไม่มียาฆ่าเชื้อโดยตรง จึงควรสังเกตอาการเด็กอย่างใกล้ชิด หากพบเด็กมีไข้สูง ซึม ไม่รับประทานอาหารและน้ำ อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง อาจเกิดอาการแทรกซอน คือ ภาวะสมองหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด ซึ่งอาจรุนแรงถึงชีวิต ควรนำเด็กพบแพทย์ทันที