ศูนย์ข่าวศรีราชา - ชาวสวนยางจันทบุรี ใช้วิถีชาวบ้านแก้ปัญหาต้นยางพาราโค่นจากพายุลมแรงในช่วงฤดูมรสุม ด้วยการนำไม้ค้ำยันที่หาได้ในพื้นที่ มัดต้นยางพาราปลูกใหม่ คาด จะลดความเสียหายได้อย่างมหาศาล
นางทองคำ สิงขรณ์ อายุ 52 ปี พร้อมด้วย นางทองคำ และ นางสาวสุลีวรรณ ก้องเวหน ตลอดจนสมาชิกในครอบครัว ได้ช่วยกันนำท่อนไม้ขนาดความยาวประมาณ 3 เมตร ที่หาได้จากพื้นป่าชุมชนมาทำการคำยันต้นยางพารา ภายในแปลงปลูกยางพารา เนื้อที่กว่า 20 ไร่ ในพื้นที่หมู่ 8 ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ก่อนมัดด้วยเชือกฟาง เพื่อให้เกิดความแน่นเหนียว และไม่หักโค่นเมื่อเจอลมพายุ หลังในช่วงเดือนที่ผ่านมาต้นยางพาราในแปลง ได้รับผลกระทบจากพายุนกเตนจนหักโค่นได้รับความเสียหายกว่า 100 ต้น มูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท
และแม้ว่าความเสียหายที่เกิดจากพายุ จะได้รับการเยียวยาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดหางบประมาณเข้าช่วยเหลือ แต่ก็ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพฟื้นฟู ดูแลต้นยางที่เสียหาย
โดย นางทองคำ เผยว่า จากสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่งผลกระทบต่อต้นยางพาราที่ปลูกใหม่จนมีบางส่วนได้รับความเสียหาย และแม้จะมีการวางมาตรการป้องกันด้วยการใช้วิธีมัดโยงไว้ก่อนหน้าแต่ก็ไม่สามารถต้านทานแรงลมได้ สุดท้ายจึงต้องคิดค้นวิธีใช้ไม้คำยันที่ใช้ได้ผลดีจากการดูแลสวนผลไม้ มาปรับใช้กับต้นยางพารา
ส่วนวัสดุที่ใช้จะเป็นไม้ไผ่แห้ง และท่อนไม้ขนาดเล็กที่หาได้จากป่าชุมชน ก่อนจะใช้กาบกล้วยแห้งที่หาได้จากต้นกล้วยที่ปลูกแซมในสวนยางมาใช้รองง่ามไม้ เพื่อป้องกันการเสียดสีระหว่างไม้ค้ำ กับต้นยางเมื่อถูกแรงลม พร้อมมัดด้วยเชือกฟางที่เหลือจาก การใช้โยงต้นทุเรียน เพื่อให้เกิดความแน่นหนา
จึงนับว่าเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้วกยานำวิถีชาวบ้านชุมชน มาปรับใช้เพื่อรับมือกับพายุลมแรงในช่วงฤดูมรสุม
นางทองคำ สิงขรณ์ อายุ 52 ปี พร้อมด้วย นางทองคำ และ นางสาวสุลีวรรณ ก้องเวหน ตลอดจนสมาชิกในครอบครัว ได้ช่วยกันนำท่อนไม้ขนาดความยาวประมาณ 3 เมตร ที่หาได้จากพื้นป่าชุมชนมาทำการคำยันต้นยางพารา ภายในแปลงปลูกยางพารา เนื้อที่กว่า 20 ไร่ ในพื้นที่หมู่ 8 ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ก่อนมัดด้วยเชือกฟาง เพื่อให้เกิดความแน่นเหนียว และไม่หักโค่นเมื่อเจอลมพายุ หลังในช่วงเดือนที่ผ่านมาต้นยางพาราในแปลง ได้รับผลกระทบจากพายุนกเตนจนหักโค่นได้รับความเสียหายกว่า 100 ต้น มูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท
และแม้ว่าความเสียหายที่เกิดจากพายุ จะได้รับการเยียวยาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดหางบประมาณเข้าช่วยเหลือ แต่ก็ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพฟื้นฟู ดูแลต้นยางที่เสียหาย
โดย นางทองคำ เผยว่า จากสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่งผลกระทบต่อต้นยางพาราที่ปลูกใหม่จนมีบางส่วนได้รับความเสียหาย และแม้จะมีการวางมาตรการป้องกันด้วยการใช้วิธีมัดโยงไว้ก่อนหน้าแต่ก็ไม่สามารถต้านทานแรงลมได้ สุดท้ายจึงต้องคิดค้นวิธีใช้ไม้คำยันที่ใช้ได้ผลดีจากการดูแลสวนผลไม้ มาปรับใช้กับต้นยางพารา
ส่วนวัสดุที่ใช้จะเป็นไม้ไผ่แห้ง และท่อนไม้ขนาดเล็กที่หาได้จากป่าชุมชน ก่อนจะใช้กาบกล้วยแห้งที่หาได้จากต้นกล้วยที่ปลูกแซมในสวนยางมาใช้รองง่ามไม้ เพื่อป้องกันการเสียดสีระหว่างไม้ค้ำ กับต้นยางเมื่อถูกแรงลม พร้อมมัดด้วยเชือกฟางที่เหลือจาก การใช้โยงต้นทุเรียน เพื่อให้เกิดความแน่นหนา
จึงนับว่าเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้วกยานำวิถีชาวบ้านชุมชน มาปรับใช้เพื่อรับมือกับพายุลมแรงในช่วงฤดูมรสุม