พิจิตร - อุปนายกสมาคมโรงสีฯ ฟิวส์ขาด เปิดฉากแฉข้อมูลชนผู้ค้าข้าวถุง โต้เหตุข้าวถุงแพง แฉผู้ค้าข้าวถุงเก็งกำไร แถมเล่นสารพัดเล่ห์ทั้งจ่ายเงินช้า ตัดน้ำหนักอ้างสิ่งเจือปน กินหัวคิวน้ำหนัก แต่โยนบาปให้โรงสี ชำแหละราคาข้าวถุงในตลาดเมืองไทย ผู้ค้ากินกำไรกันพุงกางตั้งแต่ 20-57% ยังหาทางขึ้นราคาอีก
นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนกุล อุปนายกสมาคมโรงสีข้าว -ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตร ได้ให้สัมภาษณ์ถึงความคับข้องใจที่ถูกสังคมกล่าวหาว่า โรงสีเป็นต้นเหตุของการกักตุนข้าวสารจนเป็นเหตุให้ข้าวถุงวันนี้ขึ้นราคา กก.ละ 5-10 บาท และมีแนวโน้มจะขึ้นราคาอีกเรื่อยๆ
โดยระบุว่า แท้ที่จริงแล้ว เมื่อพฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ราคาข้าวเปลือกความชื้น 15% โรงสีรับซื้อตันละ 8 000 บาท รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยให้ชาวนาตันละ 3,000 บาท แต่ราคาข้าวเปลือกในช่วงนั้น ขยับราคาสูงขึ้นเป็นตันละ 9 ,000-10,000 บาท ซึ่งจังหวะไปตรงกับข้าวที่ชาวนาเก็บเกี่ยวเป็นรอบ 2 และมีผลผลิตข้าวของภาคเหนือตอนล่าง - ภาคกลางตอนบนที่กำลังจะเริ่มเก็บเกี่ยว และมีปริมาณมากช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2554 ประกอบกับเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายรัฐบาล จึงไม่มีการจ่ายเงินชดเชย ประกันรายได้ให้กับผลผลิตข้าวนาปรังรอบ 2
ซึ่งถ้าพิจารณาถึงการทำนาของชาวนาต้นทุนจะอยู่ที่ไร่ละ 6,000 บาท ได้ผลผิตเฉลี่ย 70 ถัง ต่อไร่ หักลบกลบหนี้ก็จะมีกำไรคงเหลือไร่ละ 400-600 บาท ซึ่งไม่คุ้ม ในขณะที่ชาวนาหลายกลุ่มหันหลังให้นาข้าวแล้วหันไปปลูกอ้อยแทน พื้นที่ 1 ไร่ได้ผลผลิต 20 ตัน ขายได้ตันละ 1,000 บาท ก็จะมีรายรับ 20,000 บาทต่อไร่ เห็นได้ชัดเจนว่า ชาวไร่อ้อยมีกำไร ไร่ละเกือบ10,000 บาท แต่ทำนาข้าวแล้วเข้าโครงการประกันรายได้ ข้าวตันละ 11,000 บาท ชาวนาจะได้กำไรเพียงไร่ละ 1,000-1,500 บาท เป็นชาวนาลำบากแทบตาย
แต่เมื่อข้าวขึ้นราคากับมีผู้ไม่หวังดีออกมาทุบราคาข้าวลงจะให้ต่ำลงอีก ทั้งที่ราคาส่งออกข้าวสารก็สูงขึ้นคือ ข้าว 5% ตันละ 500 ขึ้นเป็น 539 เหรียญ ผลดีเช่นนี้ได้ทั้งชาวนา ได้ทั้งโรงสียิ้มออกไปตามๆกัน
ล่าสุดสัปดาห์ที่ผ่านมากลุ่มผู้ผลิตข้าวถุง และกลุ่มผู้ส่งออก จะซื้อข้าวสาร 5% ตันละ 14,000- 14,500 บาท โรงสีส่วนใหญ่ก็ไม่ยอมขายสินค้าออกไปมาก เนื่องจากต้นทุนข้าวสารอยู่ที่ตันละ 15 000 บาท แต่บางโรงสียอมขายให้ผู้ส่งออกข้าวสารและผู้ค้าข้าวถุงที่ลงมือซื้อข้าว แล้วไม่โกงน้ำหนักจ่ายเงินเร็ว
ส่วนผู้ส่งออกและผู้ค้าข้าวถุงที่ซื้อข้าวไม่ได้ ก็เพราะมีนิสัยชอบค้าขายเอาเปรียบ กินเล็กกินน้อย ชอบตัดน้ำหนัก 0.7-0.8 % อ้างสารพัดเหตุเจือปนและลงข้าวช้า แถมการเงินไม่สะดวก คือ ชอบค้างจ่ายเงินเป็นเวลานานเกือบ 2 เดือน โดยตีเช็คแบบข้ามเดือนทำเช่นนี้โรงสีที่ไหนจะขายข้าวสารให้
นายบรรจง บอกอีกว่า วันนี้สมาคมข้าวถุง จะซื้อข้าวสารราคาเก่าและล็อคราคา ตลอดจนไม่ยอมชำระเงินหรือจ่ายเงินสดแบบหมูไปไก่มา ยังคงคิดจะตีเช็คกันเป็นเดือน โรงสีก็คิดเป็น จึงกล้าประกาศแข็งข้อ โดยเห็นว่าผู้ค้าข้าวถุงโหดเกินไป จึงจะขายข้าวสารให้กับผู้ที่จ่ายเงินสดหรือใช้เครดิต 15-20 วันแทนเท่านั้น
“ส่วนพวกเงินช้าเขี้ยวลากดิน โรงสีจึงไม่ยอมขายให้ ก็เที่ยวไปป่าวประกาศว่า โรงสีกักตุนแต่แท้ที่จริงผู้ค้าข้าวถุงกลับไม่ย้อนดูตัวเอง”
นายบรรจง บอกอีกว่า ต่อมาเมื่อกรมการค้าภายในเรียกประชุมโรงสี กลุ่มโรงสีก็ตกใจมากว่าสมาคมข้าวถุงจะขอขึ้นราคาข้าวถุง ทั้งที่ยังมีส่วนต่างสูงถึง 20-40% เช่น ข้าวถุง 15% ราคาตลาดถุงละ 103 บาท ต้นทุนข้าว 15% กิโลละ 14 บาท ค่าถุงใบละ 5-7 บาท ค่าบรรจุ 2 บาท ค่าขนส่งดำเนินการ ถุงละ 3 บาท ค่าบริหารถุงละ 6 บาท รวมแล้วต้นทุนข้าวถุงละ 16 บาท บวกค่าข้าวเป็นถุงละ 86 บาท ราคาขาย 103 บาท ส่วนต่าง 17 บาทหรือประมาณ 20%
ข้าวถุง 5% กิโลละ 15บาท (ราคา 19 ก.ค.54 =14.40) ค่าถุง+ค่ากำไร+ ค่าบริหาร 16 บาทต่อถุง ทุน 91 บาทต่อถุง ราคาขาย 115-120 ส่วนต่าง 29 บาท หรือประมาณ 30%
ข้าวถุง 100% ต้นทุนกิโลละ 17.50 บาท ค่าถุง+ ค่าบริหาร 16 บาท รวมต้นทุน 87.50 บาทต่อถุง รวมต้นทุน 103.5 บาทต่อถุง ราคาขาย 123-150 ส่วนต่าง 19-46 บาท เฉลี่ย 32 บาทต่อถุง หรือประมาณ 19-46%
ข้าวหอมปทุมขายจากโรงสี ราคากิโลละ 21 บาท 5 กิโล = 105 + ค่าถุงค่าบริหาร 16 บาท รวมต้นทุน 121 บาท ราคาขาย 190-200 บาท ส่วนต่างถุงละ 70-79 บาท หรือประมาณ 57%
ข้าวหอมมะลิเฉลี่ยโลละ 29 บาท ขนาด 5 กิโล =145 + ค่าถุงค่าบริหาร 16 บาท ต้นทุน 160 กว่าบาท เขาขาย 180-250 บาท ส่วนต่างถุงละ 20-70 บาท หรือประมาณ 20-40%
นอกจากนี้ผู้ค้าข้าวถุงบางรายมีสต็อกข้าวหอมไว้ กิโลละ 26-27 บาท จำนวนมากก็กำไรมากขึ้นอีก
“ผมไม่เห็นว่ากำไรน้อยตรงไหน ส่วนค่าบริหารข้าวถุงค่ากำไรไม่รวมบรรจุภัณฑ์ 9 บาท ต่อถุงนั้นตันละ 1,800 บาท หรือ 9 คูณ 200 ถุง ทำไมมาออกข่าวว่าโรงสีไม่ขายข้าว โรงสีทุกโรง ตลอดจนชาวนา และคนทั่วไปก็รู้ดีว่าราคาข้าวเปลือกขึ้นตันละ1,000 กว่าบาท จะมาซื้อราคาเก่ากิโลละ 13-14 บาทและบางรายจ่ายเงินช้าเป็นเดือน เราจะ เอาเงินตรงไหนไปจ่ายดอกเบี้ยธนาคารและชาวนาได้ ตัวเลขของส่วนต่างข้าวถุงยังมีส่วนต่างหลาย 10% หรือมากกว่าชาวนาทำนาเสียอีก”
สำหรับผู้บริโภคข้าว ทานข้าวกิโลกรัมละ 20 บาท เราทานข้าว 8 กิโลกรัมต่อเดือน ต่อคนเดือนละ 8 คูณ 20 = 160 วัน วันละ 5 บาท มื้อละ 2 บาทเท่านั้น ต่อให้ราคาจำนำข้าวเปลือก 15, 000 บาทเท่ากับข้าวสารกิโลละ 25 บาท จะทานข้าวกันเดือนละ 200 บาท วันละ 7 บาท มื้อละ 2.50 บาท ถือว่ายังถูกกว่าทานน้ำขวดละ 6-7 บาท ต่อมื้ออีก
ส่วนเศรษฐีทานข้าวหอมเดือนละ 6 กิโลกรัม ราคากิโลละ 40 เดือนละ 240 บาท 1วันทานข้าววันละ 8 บาท ถูกกว่าสูบบุหรี่ 3 มวนด้วยซ้ำไป ทำไมต้องโยนบาปให้โรงสี
“ตัวเลขที่กำไรมากมายกรมการค้าภายในต้องไปหาข้อมูลและถ้าพบ ก็ต้องแก้ไขให้ด้วยอย่าเอาเปรียบกันมาก ส่วนต่างมากมาย ทำให้ชาวนาขายข้าวถูกกว่าเดิม ในขณะที่โรงสีข้าวได้ค่าสีข้าวตันละ 500 บาท กำไรตันละ 100 บาท”
อุปนายกสมาคมโรงสีฯ บอกอีกว่า วันนี้โรงสีอยากให้สังคมสื่อมวลชน ได้รับรู้เรื่องการค้าข้าวถุง และผู้ส่งออกบางรายโยนบาปให้โรงสี ว่า ไม่ขายข้าวสารออกสู่ตลาดหรือให้ผู้บริโภค จนกลายเป็นแพะ ถูกสังคมตราหน้าว่าเอาแต่ได้ ค้ากำไร จนสุดทนจึงขอแฉกระบวนการซื้อข้าวสารไปทำข้าวถุงที่มีพฤติการณ์สุดแสนโหดอำมหิต ทั้งการซื้อ การจ่ายเงิน โกงน้ำหนัก
“โรงสีรับไม่ได้และประกาศจะฮึดสู้และถ้าหากข้าวถุง อยากได้ข้าวไปพบกันที่ท่าข้าวกำนันทรงนครสวรรค์ วันที่มีการประมูลข้าวสาร มีเงินสด มีแรงซื้อ เชิญมาได้เลยอย่าดีแต่พูดหลอกสังคม หลอกสื่อมวลชน และหลอกชาวนากันอยู่ ตลาดการค้าคืออุปสงค์อุปทานที่เป็นไปโดยธรรมชาติไม่มีใครสามารถหลอกคนไทยได้ตลอดกาล”
นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนกุล อุปนายกสมาคมโรงสีข้าว -ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตร ได้ให้สัมภาษณ์ถึงความคับข้องใจที่ถูกสังคมกล่าวหาว่า โรงสีเป็นต้นเหตุของการกักตุนข้าวสารจนเป็นเหตุให้ข้าวถุงวันนี้ขึ้นราคา กก.ละ 5-10 บาท และมีแนวโน้มจะขึ้นราคาอีกเรื่อยๆ
โดยระบุว่า แท้ที่จริงแล้ว เมื่อพฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ราคาข้าวเปลือกความชื้น 15% โรงสีรับซื้อตันละ 8 000 บาท รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยให้ชาวนาตันละ 3,000 บาท แต่ราคาข้าวเปลือกในช่วงนั้น ขยับราคาสูงขึ้นเป็นตันละ 9 ,000-10,000 บาท ซึ่งจังหวะไปตรงกับข้าวที่ชาวนาเก็บเกี่ยวเป็นรอบ 2 และมีผลผลิตข้าวของภาคเหนือตอนล่าง - ภาคกลางตอนบนที่กำลังจะเริ่มเก็บเกี่ยว และมีปริมาณมากช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2554 ประกอบกับเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายรัฐบาล จึงไม่มีการจ่ายเงินชดเชย ประกันรายได้ให้กับผลผลิตข้าวนาปรังรอบ 2
ซึ่งถ้าพิจารณาถึงการทำนาของชาวนาต้นทุนจะอยู่ที่ไร่ละ 6,000 บาท ได้ผลผิตเฉลี่ย 70 ถัง ต่อไร่ หักลบกลบหนี้ก็จะมีกำไรคงเหลือไร่ละ 400-600 บาท ซึ่งไม่คุ้ม ในขณะที่ชาวนาหลายกลุ่มหันหลังให้นาข้าวแล้วหันไปปลูกอ้อยแทน พื้นที่ 1 ไร่ได้ผลผลิต 20 ตัน ขายได้ตันละ 1,000 บาท ก็จะมีรายรับ 20,000 บาทต่อไร่ เห็นได้ชัดเจนว่า ชาวไร่อ้อยมีกำไร ไร่ละเกือบ10,000 บาท แต่ทำนาข้าวแล้วเข้าโครงการประกันรายได้ ข้าวตันละ 11,000 บาท ชาวนาจะได้กำไรเพียงไร่ละ 1,000-1,500 บาท เป็นชาวนาลำบากแทบตาย
แต่เมื่อข้าวขึ้นราคากับมีผู้ไม่หวังดีออกมาทุบราคาข้าวลงจะให้ต่ำลงอีก ทั้งที่ราคาส่งออกข้าวสารก็สูงขึ้นคือ ข้าว 5% ตันละ 500 ขึ้นเป็น 539 เหรียญ ผลดีเช่นนี้ได้ทั้งชาวนา ได้ทั้งโรงสียิ้มออกไปตามๆกัน
ล่าสุดสัปดาห์ที่ผ่านมากลุ่มผู้ผลิตข้าวถุง และกลุ่มผู้ส่งออก จะซื้อข้าวสาร 5% ตันละ 14,000- 14,500 บาท โรงสีส่วนใหญ่ก็ไม่ยอมขายสินค้าออกไปมาก เนื่องจากต้นทุนข้าวสารอยู่ที่ตันละ 15 000 บาท แต่บางโรงสียอมขายให้ผู้ส่งออกข้าวสารและผู้ค้าข้าวถุงที่ลงมือซื้อข้าว แล้วไม่โกงน้ำหนักจ่ายเงินเร็ว
ส่วนผู้ส่งออกและผู้ค้าข้าวถุงที่ซื้อข้าวไม่ได้ ก็เพราะมีนิสัยชอบค้าขายเอาเปรียบ กินเล็กกินน้อย ชอบตัดน้ำหนัก 0.7-0.8 % อ้างสารพัดเหตุเจือปนและลงข้าวช้า แถมการเงินไม่สะดวก คือ ชอบค้างจ่ายเงินเป็นเวลานานเกือบ 2 เดือน โดยตีเช็คแบบข้ามเดือนทำเช่นนี้โรงสีที่ไหนจะขายข้าวสารให้
นายบรรจง บอกอีกว่า วันนี้สมาคมข้าวถุง จะซื้อข้าวสารราคาเก่าและล็อคราคา ตลอดจนไม่ยอมชำระเงินหรือจ่ายเงินสดแบบหมูไปไก่มา ยังคงคิดจะตีเช็คกันเป็นเดือน โรงสีก็คิดเป็น จึงกล้าประกาศแข็งข้อ โดยเห็นว่าผู้ค้าข้าวถุงโหดเกินไป จึงจะขายข้าวสารให้กับผู้ที่จ่ายเงินสดหรือใช้เครดิต 15-20 วันแทนเท่านั้น
“ส่วนพวกเงินช้าเขี้ยวลากดิน โรงสีจึงไม่ยอมขายให้ ก็เที่ยวไปป่าวประกาศว่า โรงสีกักตุนแต่แท้ที่จริงผู้ค้าข้าวถุงกลับไม่ย้อนดูตัวเอง”
นายบรรจง บอกอีกว่า ต่อมาเมื่อกรมการค้าภายในเรียกประชุมโรงสี กลุ่มโรงสีก็ตกใจมากว่าสมาคมข้าวถุงจะขอขึ้นราคาข้าวถุง ทั้งที่ยังมีส่วนต่างสูงถึง 20-40% เช่น ข้าวถุง 15% ราคาตลาดถุงละ 103 บาท ต้นทุนข้าว 15% กิโลละ 14 บาท ค่าถุงใบละ 5-7 บาท ค่าบรรจุ 2 บาท ค่าขนส่งดำเนินการ ถุงละ 3 บาท ค่าบริหารถุงละ 6 บาท รวมแล้วต้นทุนข้าวถุงละ 16 บาท บวกค่าข้าวเป็นถุงละ 86 บาท ราคาขาย 103 บาท ส่วนต่าง 17 บาทหรือประมาณ 20%
ข้าวถุง 5% กิโลละ 15บาท (ราคา 19 ก.ค.54 =14.40) ค่าถุง+ค่ากำไร+ ค่าบริหาร 16 บาทต่อถุง ทุน 91 บาทต่อถุง ราคาขาย 115-120 ส่วนต่าง 29 บาท หรือประมาณ 30%
ข้าวถุง 100% ต้นทุนกิโลละ 17.50 บาท ค่าถุง+ ค่าบริหาร 16 บาท รวมต้นทุน 87.50 บาทต่อถุง รวมต้นทุน 103.5 บาทต่อถุง ราคาขาย 123-150 ส่วนต่าง 19-46 บาท เฉลี่ย 32 บาทต่อถุง หรือประมาณ 19-46%
ข้าวหอมปทุมขายจากโรงสี ราคากิโลละ 21 บาท 5 กิโล = 105 + ค่าถุงค่าบริหาร 16 บาท รวมต้นทุน 121 บาท ราคาขาย 190-200 บาท ส่วนต่างถุงละ 70-79 บาท หรือประมาณ 57%
ข้าวหอมมะลิเฉลี่ยโลละ 29 บาท ขนาด 5 กิโล =145 + ค่าถุงค่าบริหาร 16 บาท ต้นทุน 160 กว่าบาท เขาขาย 180-250 บาท ส่วนต่างถุงละ 20-70 บาท หรือประมาณ 20-40%
นอกจากนี้ผู้ค้าข้าวถุงบางรายมีสต็อกข้าวหอมไว้ กิโลละ 26-27 บาท จำนวนมากก็กำไรมากขึ้นอีก
“ผมไม่เห็นว่ากำไรน้อยตรงไหน ส่วนค่าบริหารข้าวถุงค่ากำไรไม่รวมบรรจุภัณฑ์ 9 บาท ต่อถุงนั้นตันละ 1,800 บาท หรือ 9 คูณ 200 ถุง ทำไมมาออกข่าวว่าโรงสีไม่ขายข้าว โรงสีทุกโรง ตลอดจนชาวนา และคนทั่วไปก็รู้ดีว่าราคาข้าวเปลือกขึ้นตันละ1,000 กว่าบาท จะมาซื้อราคาเก่ากิโลละ 13-14 บาทและบางรายจ่ายเงินช้าเป็นเดือน เราจะ เอาเงินตรงไหนไปจ่ายดอกเบี้ยธนาคารและชาวนาได้ ตัวเลขของส่วนต่างข้าวถุงยังมีส่วนต่างหลาย 10% หรือมากกว่าชาวนาทำนาเสียอีก”
สำหรับผู้บริโภคข้าว ทานข้าวกิโลกรัมละ 20 บาท เราทานข้าว 8 กิโลกรัมต่อเดือน ต่อคนเดือนละ 8 คูณ 20 = 160 วัน วันละ 5 บาท มื้อละ 2 บาทเท่านั้น ต่อให้ราคาจำนำข้าวเปลือก 15, 000 บาทเท่ากับข้าวสารกิโลละ 25 บาท จะทานข้าวกันเดือนละ 200 บาท วันละ 7 บาท มื้อละ 2.50 บาท ถือว่ายังถูกกว่าทานน้ำขวดละ 6-7 บาท ต่อมื้ออีก
ส่วนเศรษฐีทานข้าวหอมเดือนละ 6 กิโลกรัม ราคากิโลละ 40 เดือนละ 240 บาท 1วันทานข้าววันละ 8 บาท ถูกกว่าสูบบุหรี่ 3 มวนด้วยซ้ำไป ทำไมต้องโยนบาปให้โรงสี
“ตัวเลขที่กำไรมากมายกรมการค้าภายในต้องไปหาข้อมูลและถ้าพบ ก็ต้องแก้ไขให้ด้วยอย่าเอาเปรียบกันมาก ส่วนต่างมากมาย ทำให้ชาวนาขายข้าวถูกกว่าเดิม ในขณะที่โรงสีข้าวได้ค่าสีข้าวตันละ 500 บาท กำไรตันละ 100 บาท”
อุปนายกสมาคมโรงสีฯ บอกอีกว่า วันนี้โรงสีอยากให้สังคมสื่อมวลชน ได้รับรู้เรื่องการค้าข้าวถุง และผู้ส่งออกบางรายโยนบาปให้โรงสี ว่า ไม่ขายข้าวสารออกสู่ตลาดหรือให้ผู้บริโภค จนกลายเป็นแพะ ถูกสังคมตราหน้าว่าเอาแต่ได้ ค้ากำไร จนสุดทนจึงขอแฉกระบวนการซื้อข้าวสารไปทำข้าวถุงที่มีพฤติการณ์สุดแสนโหดอำมหิต ทั้งการซื้อ การจ่ายเงิน โกงน้ำหนัก
“โรงสีรับไม่ได้และประกาศจะฮึดสู้และถ้าหากข้าวถุง อยากได้ข้าวไปพบกันที่ท่าข้าวกำนันทรงนครสวรรค์ วันที่มีการประมูลข้าวสาร มีเงินสด มีแรงซื้อ เชิญมาได้เลยอย่าดีแต่พูดหลอกสังคม หลอกสื่อมวลชน และหลอกชาวนากันอยู่ ตลาดการค้าคืออุปสงค์อุปทานที่เป็นไปโดยธรรมชาติไม่มีใครสามารถหลอกคนไทยได้ตลอดกาล”