ศูนย์ข่าวศรีราชา - เมืองพัทยาเสียค่าโง่กว่า 70 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยอีก 7.5 ต่อปี หลังศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เป็นผู้ชำระค่าเค แก่ผู้รับเหมาโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียมูลค่ากว่า 98 ล้าน หลังดึงเกมนานกว่า 10 ปี และต้องชำระให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน
วันนี้ (8 ก.ค.) ที่ห้องประชุมตากสิน ศาลาว่าการเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี นายทวิช ฉายสว่างวงศ์ ประธานสภาเมืองพัทยา ได้เป็นประธานการประชุมสภาเมืองพัทยา สมัยสามัญ เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา โดยมีคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเมืองพัทยา หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
สำหรับการประชุมครั้งนี้ สาระสำคัญอยู่ที่การนำเสนอญัตติการขอรับความเห็นชอบในการอนุมัติจ่ายขาดเงินสะสม เพื่อเป็นค่าชดเชยงานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่าเค )ในโครงการระบบระบายน้ำ ระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียเมืองพัทยา เขตควบคุมมลพิษเมืองพัทยา ให้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามประสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้รับเหมาโครงการ
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเมืองพัทยาได้ทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนสามประสิทธิ์ ให้เป็นผู้ดำเนินโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำ ระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย เขตควบคุมมลพิษ เป็นวงเงินค่าจ้างจำนวน 1,799,450,000 บาท หลังได้รับงบประมาณอุดหนุนจากคณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาจัดสร้างระบบ ในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียเมืองพัทยาในเดือนเมษายน 2540
สัญญาจ้างดังกล่าวมีข้อกำหนดการจัดทำโครงการในระยะเวลา 600 วัน ซึ่งนอกจากนี้ ในสัญญายังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการปรับราคาค่างานก่อสร้างให้เป็นไปตามสูตรการปรับราคาแนบท้ายสัญญา หรือค่าเค เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในขณะดำเนินการก่อสร้างที่วัสดุมีการปรับราคาสูงขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจโลก โดยมีเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่จะต้องพิจารณาคำนวณเงินเพิ่ม หรือลดให้กับผู้ประกอบการตามราคาที่เกิดขึ้นจริงในระหว่างจัดทำโครงการ
ซึ่งปรากฏว่าโครงการดังกล่าว ห้างหุ้นส่วนสามประสิทธิ์ ได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญาและได้ส่งมอบงานให้กับเมืองพัทยาอย่างสมบูรณ์ในปี 2543 และได้ทำการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เหลือเพียงการจ่ายเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ หรือค่าเค จากเมืองพัทยาเพิ่มเติมเป็นเงิน 105,542,150 บาท แต่สำนักงบประมาณได้ตรวจสอบและแจ้งว่าเงินชดเชยที่ต้องชำระนั้นอยู่ที่จำนวน 98,295,860 บาท เมืองพัทยาจึงได้เสนอเรื่องไปยังคณะ กรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อขอจัดสรรเงินกองทุนสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม
สำหรับจ่ายเงินชดเชยดังกล่าวให้แก่ผู้รับจ้าง โดยร้องขอให้ทางกองทุนเป็นผู้ชำระเงินจำนวน 90% ของยอดรวมและเมืองพัทยาจะชำระในอัตรา 10 แต่ปรากฏว่า คณะกรรมการฯไม่อนุมัติตามขอเสนอ โดยชี้แจงว่าเมืองพัทยาเป็นผู้ได้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าวและกองทุนก็เป็นผู้ลงทุนโครงการให้ตั้งแต่แรก จึงทำให้ผู้รับจ้างทำการฟ้องร้องเมืองพัทยากับพวกรวม 12 หน่วยงานต่อศาลปกครอง เพื่อให้มีการชำระค่าเคอย่างเป็นรูปธรรม ในคดีแดงหมายเลข อ.26/2554
ล่าสุด ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้เมืองพัทยาเป็นผู้ชำระเงินดังกล่าว จำนวน 98,298,860 ล้านเศษพร้อมดอกเบี้ยในอัตรา 7.5 ปีต่อปี คิดระหว่างวันที่ 24 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 รวมเป็นเงิน 168,462,945 บาทเศษ ซึ่งหากเลยกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเมืองพัทยาจำเป็นจะต้องจ่ายเงินค่าปรับเพิ่มในอัตรา 20,000 บาทต่อวัน
ด้วยเหตุนี้เมืองพัทยาจึงต้องรับผิดชอบต่อกรณีดังกล่าว แต่ด้วยที่เมืองพัทยาไม่ได้ตั้งงบประมาณเพื่อการนี้ไว้ จึงมีความจำเป็นต้องขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสม เพื่อจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างต่อไป ซึ่งก็พบว่า สภาเมืองพัทยามีมติเห็นชอบในการอนุมัติตามหลักการดังกล่าวแล้ว
วันนี้ (8 ก.ค.) ที่ห้องประชุมตากสิน ศาลาว่าการเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี นายทวิช ฉายสว่างวงศ์ ประธานสภาเมืองพัทยา ได้เป็นประธานการประชุมสภาเมืองพัทยา สมัยสามัญ เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา โดยมีคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเมืองพัทยา หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
สำหรับการประชุมครั้งนี้ สาระสำคัญอยู่ที่การนำเสนอญัตติการขอรับความเห็นชอบในการอนุมัติจ่ายขาดเงินสะสม เพื่อเป็นค่าชดเชยงานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่าเค )ในโครงการระบบระบายน้ำ ระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียเมืองพัทยา เขตควบคุมมลพิษเมืองพัทยา ให้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามประสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้รับเหมาโครงการ
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเมืองพัทยาได้ทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนสามประสิทธิ์ ให้เป็นผู้ดำเนินโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำ ระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย เขตควบคุมมลพิษ เป็นวงเงินค่าจ้างจำนวน 1,799,450,000 บาท หลังได้รับงบประมาณอุดหนุนจากคณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาจัดสร้างระบบ ในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียเมืองพัทยาในเดือนเมษายน 2540
สัญญาจ้างดังกล่าวมีข้อกำหนดการจัดทำโครงการในระยะเวลา 600 วัน ซึ่งนอกจากนี้ ในสัญญายังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการปรับราคาค่างานก่อสร้างให้เป็นไปตามสูตรการปรับราคาแนบท้ายสัญญา หรือค่าเค เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในขณะดำเนินการก่อสร้างที่วัสดุมีการปรับราคาสูงขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจโลก โดยมีเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่จะต้องพิจารณาคำนวณเงินเพิ่ม หรือลดให้กับผู้ประกอบการตามราคาที่เกิดขึ้นจริงในระหว่างจัดทำโครงการ
ซึ่งปรากฏว่าโครงการดังกล่าว ห้างหุ้นส่วนสามประสิทธิ์ ได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญาและได้ส่งมอบงานให้กับเมืองพัทยาอย่างสมบูรณ์ในปี 2543 และได้ทำการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เหลือเพียงการจ่ายเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ หรือค่าเค จากเมืองพัทยาเพิ่มเติมเป็นเงิน 105,542,150 บาท แต่สำนักงบประมาณได้ตรวจสอบและแจ้งว่าเงินชดเชยที่ต้องชำระนั้นอยู่ที่จำนวน 98,295,860 บาท เมืองพัทยาจึงได้เสนอเรื่องไปยังคณะ กรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อขอจัดสรรเงินกองทุนสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม
สำหรับจ่ายเงินชดเชยดังกล่าวให้แก่ผู้รับจ้าง โดยร้องขอให้ทางกองทุนเป็นผู้ชำระเงินจำนวน 90% ของยอดรวมและเมืองพัทยาจะชำระในอัตรา 10 แต่ปรากฏว่า คณะกรรมการฯไม่อนุมัติตามขอเสนอ โดยชี้แจงว่าเมืองพัทยาเป็นผู้ได้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าวและกองทุนก็เป็นผู้ลงทุนโครงการให้ตั้งแต่แรก จึงทำให้ผู้รับจ้างทำการฟ้องร้องเมืองพัทยากับพวกรวม 12 หน่วยงานต่อศาลปกครอง เพื่อให้มีการชำระค่าเคอย่างเป็นรูปธรรม ในคดีแดงหมายเลข อ.26/2554
ล่าสุด ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้เมืองพัทยาเป็นผู้ชำระเงินดังกล่าว จำนวน 98,298,860 ล้านเศษพร้อมดอกเบี้ยในอัตรา 7.5 ปีต่อปี คิดระหว่างวันที่ 24 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 รวมเป็นเงิน 168,462,945 บาทเศษ ซึ่งหากเลยกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเมืองพัทยาจำเป็นจะต้องจ่ายเงินค่าปรับเพิ่มในอัตรา 20,000 บาทต่อวัน
ด้วยเหตุนี้เมืองพัทยาจึงต้องรับผิดชอบต่อกรณีดังกล่าว แต่ด้วยที่เมืองพัทยาไม่ได้ตั้งงบประมาณเพื่อการนี้ไว้ จึงมีความจำเป็นต้องขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสม เพื่อจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างต่อไป ซึ่งก็พบว่า สภาเมืองพัทยามีมติเห็นชอบในการอนุมัติตามหลักการดังกล่าวแล้ว