“พรเทพ” ตรวจความคืบหน้าศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ เผย คืบแล้ว 90% คาดแล้วเสร็จและเริ่มทดสอบระบบได้ปลายปี 2555
วันนี้ (28 มิ.ย.) นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร กทม.ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการก่อสร้างศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ กรุงเทพมหานคร โดยมีนายสัญญา ชีนิมิต ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักการระบายน้ำ เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร
สำนักการระบายน้ำ กทม.ได้มีมาตรการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในคูคลอง ซึ่งมาตรการระยะสั้นได้ดำเนินการฟื้นฟูคุณภาพน้ำคลองโดยการใช้ระบบนำน้ำดีหมุนเวียนไล่น้ำเสียในคูคลอง เพิ่มค่าออกซิเจนละลายน้ำในคลองให้มีค่าไม่น้อยกว่า 1.3 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนมาตรการระยะยาวได้ดำเนินการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งเป็นพื้นที่ย่อยจำนวน 27 พื้นที่ ปัจจุบัน กทม.มีระบบบำบัดน้ำเสียที่เปิดดำเนินการแล้ว 7 โครงการ ได้แก่ โรงควบคุมคุณภาพน้ำสี่พระยา โรงควบคุมคุณภาพน้ำรัตนโกสินทร์ โรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง โรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี โรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขม โรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งครุ และโรงควบคุมคุณภาพน้ำจตุจักร มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียประมาณ 992,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เมื่อรวมกับความสามารถในการบำบัดน้ำเสียขนาดเล็กของการเคหะแห่งชาติ 12 แห่งแล้ว คิดเป็น 40% ของน้ำเสียทั้งหมด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20 เขต ทั้งนี้ กทม.ได้ดำเนินการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการก่อสร้างศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ กรุงเทพมหานคร และจะดำเนินโครงการตามแผนอีก 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย โครงการบำบัดน้ำเสียธนบุรี โครงการบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอน และโครงการบำบัดน้ำเสียมีนบุรี ซึ่งมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย รวมประมาณ 773,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เมื่อรวมกับโครงการบำบัดน้ำเสียทั้งหมดแล้ว จะมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ประมาณ 1,765,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสีย 20.7 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย งานก่อสร้างอาคารศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ กทม.มีระบบบำบัดน้ำเสียใต้อาคาร มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสียเฉลี่ย 120,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และงานก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสีย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 300-1,800 มิลลิเมตร รวมความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในพื้นที่เขตบางซื่อ และบางส่วนของเขตจตุจักร เขตพญาไท และเขตดุสิต โดยเฉพาะในคลองเปรมประชากร คลองบางเขน และคลองบางซื่อ เป็นการสานต่อการจัดการน้ำเสียที่ กทม.ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ให้สามารถเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะนำน้ำที่บำบัดแล้วไปใช้สำหรับรดน้ำต้นไม้และเติมสระน้ำในสวนวชิรเบญจทัศ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และ สวนจตุจักร นอกจากนี้ จะพิจารณานำไปใช้ล้างทำความสะอาดในบริเวณตลาดนัดจตุจักรต่อไป ปัจจุบันการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียแล้วเสร็จประมาณ 90% คาดว่า จะแล้วเสร็จและเริ่มทดสอบระบบได้ประมาณปลายปี พ.ศ.2555
วันนี้ (28 มิ.ย.) นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร กทม.ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการก่อสร้างศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ กรุงเทพมหานคร โดยมีนายสัญญา ชีนิมิต ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักการระบายน้ำ เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร
สำนักการระบายน้ำ กทม.ได้มีมาตรการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในคูคลอง ซึ่งมาตรการระยะสั้นได้ดำเนินการฟื้นฟูคุณภาพน้ำคลองโดยการใช้ระบบนำน้ำดีหมุนเวียนไล่น้ำเสียในคูคลอง เพิ่มค่าออกซิเจนละลายน้ำในคลองให้มีค่าไม่น้อยกว่า 1.3 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนมาตรการระยะยาวได้ดำเนินการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งเป็นพื้นที่ย่อยจำนวน 27 พื้นที่ ปัจจุบัน กทม.มีระบบบำบัดน้ำเสียที่เปิดดำเนินการแล้ว 7 โครงการ ได้แก่ โรงควบคุมคุณภาพน้ำสี่พระยา โรงควบคุมคุณภาพน้ำรัตนโกสินทร์ โรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง โรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี โรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขม โรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งครุ และโรงควบคุมคุณภาพน้ำจตุจักร มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียประมาณ 992,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เมื่อรวมกับความสามารถในการบำบัดน้ำเสียขนาดเล็กของการเคหะแห่งชาติ 12 แห่งแล้ว คิดเป็น 40% ของน้ำเสียทั้งหมด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20 เขต ทั้งนี้ กทม.ได้ดำเนินการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการก่อสร้างศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ กรุงเทพมหานคร และจะดำเนินโครงการตามแผนอีก 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย โครงการบำบัดน้ำเสียธนบุรี โครงการบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอน และโครงการบำบัดน้ำเสียมีนบุรี ซึ่งมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย รวมประมาณ 773,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เมื่อรวมกับโครงการบำบัดน้ำเสียทั้งหมดแล้ว จะมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ประมาณ 1,765,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสีย 20.7 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย งานก่อสร้างอาคารศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ กทม.มีระบบบำบัดน้ำเสียใต้อาคาร มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสียเฉลี่ย 120,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และงานก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสีย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 300-1,800 มิลลิเมตร รวมความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในพื้นที่เขตบางซื่อ และบางส่วนของเขตจตุจักร เขตพญาไท และเขตดุสิต โดยเฉพาะในคลองเปรมประชากร คลองบางเขน และคลองบางซื่อ เป็นการสานต่อการจัดการน้ำเสียที่ กทม.ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ให้สามารถเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะนำน้ำที่บำบัดแล้วไปใช้สำหรับรดน้ำต้นไม้และเติมสระน้ำในสวนวชิรเบญจทัศ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และ สวนจตุจักร นอกจากนี้ จะพิจารณานำไปใช้ล้างทำความสะอาดในบริเวณตลาดนัดจตุจักรต่อไป ปัจจุบันการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียแล้วเสร็จประมาณ 90% คาดว่า จะแล้วเสร็จและเริ่มทดสอบระบบได้ประมาณปลายปี พ.ศ.2555