ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - กลุ่ม จว.ภาคเหนือตอนบน 1 เร่งเครื่องทำแผนแม่บทลอจิสติกส์ นัดตระเวนเปิดเวทีระดมความเห็น 4 จว.ภายในเดือนนี้ ก่อนสรุปขั้นสุดท้าย ก.ย.นี้ วางเชียงใหม่ดันรถไฟความเร็วสูง-ส่งออก ลำปาง มุ่งเซรามิก ลำพูน เป็นลอจิสติกส์พาร์ก ขณะที่แม่ฮ่องสอน เดินหน้าท่องเที่ยว รับตลาดลุ่มน้ำโขง
นายชูชาติ กีฬาแปง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบลอจิสติกส์ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เปิดเผยว่า หลังจากจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับมอบหมายจากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง และแม่ฮ่องสอน) ให้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการลอจิสติสก์จังหวัดเชื่อมโยงอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS ประจำปีงบประมาณ 2554 มูลค่าโครงการ 20 ล้านบาทแล้ว ได้กำหนดจัดประชุมจัดทำแผนเป็นครั้งแรกวันนี้ (18 พ.ค.)
ขณะที่ จากนี้ไปก็จะตระเวนจัดสัมมนาอีก 3 จังหวัด คือ ลำปาง 23 พ.ค.2554 ณ โรงแรมลำปางเวียงทอง, ลำพูน 25 พ.ค.ณ โรงแรมลำพูนวิลล์ และแม่ฮ่องสอน 27 พ.ค.ณ โรงแรมอิมพีเรียลธารา แม่ฮ่องสอน และจะกลับมาที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อทำแผนแม่บทของกลุ่มจังหวัดอีกครั้งในวันที่ 26 ก.ย.2554 โรงแรมแคนทารี่ ฮิลล์
รองผู้ว่าฯเชียงใหม่ กล่าวว่า การทำแผนแม่บท 4 จังหวัดนี้ มีเป้าหมายให้ธุรกิจลอจิสติกส์ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือมีการพัฒนาการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและมีการเชื่อมโยงเครือข่ายทางการค้าระหว่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่จะมุ่งเน้นการผลักดันเรื่องรถไฟความเร็วสูง และตลาดด้านการส่งออก ลำปาง เป็นเรื่องเซรามิก ด้านการขนส่งพลังงาน และสินค้า ลำพูน เป็นการส่งเสริมด้านลอจิสติกส์พาร์ก เชื่อมโยงรถไฟ เครื่องบิน และรถยนต์ และแม่ฮ่องสอน ด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น
ทั้งนี้ จะทำให้กลุ่มจังหวัดสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านลอจิสติกส์ ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจลอจิสติกส์สามารถแข่งขันได้ และผู้ประกอบธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่าย และพัฒนาศักยภาพ ให้เท่าทันสถานการณ์ได้ โดยเฉพาะการลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ลงและสามารถแข่งขันในเวทีความร่วมมือในกลุ่มอนุภูมิภาคหรือเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AEC ในอีก 4 ปีข้างหน้าได้
ด้าน นายณรงค์ คองประเสริฐ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ล่าสุดจากการร่วมประชุมหอการค้าภาคเหนือ 17 จังหวัดที่พิษณุโลก ได้ข้อสรุปร่วมกันที่น่าสนใจจากการรวบรวมเสียงทุกหอการค้า เห็นด้วยที่จะให้เกิดรถไฟความเร็วสูงในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเป็นความต้องการอย่างยิ่งของภาคเอกชน เพราะรถไฟความเร็วสูงไม่ได้ตอบสนองเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ แต่จะเป็นแก้ไขภาคสังคม จากการใช้รถยนต์ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก ทั้งรถไฟความเร็วสูงจะช่วยลดต้นทุนทางด้านการขนส่งได้เป็นอย่างดี
ส่วนการผลักดันเรื่องรถไฟรางคู่ ที่ประชุมเห็นว่าจากแผนการพัฒนาจะใช้เวลาอีก 20 ปี ถือว่านานเกินไปไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง แม้รถไฟรางคู่จำเป็นต่อระบบการขนส่งระบบลอจิสติกส์อย่างมาก ที่ประชุมได้เสนอให้รัฐบาลร่นระยะทางของแผนลงมาอย่างน้อย 10 ปี
“ข้อสรุปจากแนวคิดครั้งนี้ จะเสนอไปยังพรรคการเมืองทุกพรรคและรัฐบาลใหม่ ให้ความสำคัญและเร่งรัดการดำเนินโครงการนี้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เนื่องจากเป็นโครงการที่เป็นความหวังของประชาชนทางภาคเหนือทั้งหมด”
นายชูชาติ กีฬาแปง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบลอจิสติกส์ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เปิดเผยว่า หลังจากจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับมอบหมายจากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง และแม่ฮ่องสอน) ให้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการลอจิสติสก์จังหวัดเชื่อมโยงอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS ประจำปีงบประมาณ 2554 มูลค่าโครงการ 20 ล้านบาทแล้ว ได้กำหนดจัดประชุมจัดทำแผนเป็นครั้งแรกวันนี้ (18 พ.ค.)
ขณะที่ จากนี้ไปก็จะตระเวนจัดสัมมนาอีก 3 จังหวัด คือ ลำปาง 23 พ.ค.2554 ณ โรงแรมลำปางเวียงทอง, ลำพูน 25 พ.ค.ณ โรงแรมลำพูนวิลล์ และแม่ฮ่องสอน 27 พ.ค.ณ โรงแรมอิมพีเรียลธารา แม่ฮ่องสอน และจะกลับมาที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อทำแผนแม่บทของกลุ่มจังหวัดอีกครั้งในวันที่ 26 ก.ย.2554 โรงแรมแคนทารี่ ฮิลล์
รองผู้ว่าฯเชียงใหม่ กล่าวว่า การทำแผนแม่บท 4 จังหวัดนี้ มีเป้าหมายให้ธุรกิจลอจิสติกส์ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือมีการพัฒนาการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและมีการเชื่อมโยงเครือข่ายทางการค้าระหว่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่จะมุ่งเน้นการผลักดันเรื่องรถไฟความเร็วสูง และตลาดด้านการส่งออก ลำปาง เป็นเรื่องเซรามิก ด้านการขนส่งพลังงาน และสินค้า ลำพูน เป็นการส่งเสริมด้านลอจิสติกส์พาร์ก เชื่อมโยงรถไฟ เครื่องบิน และรถยนต์ และแม่ฮ่องสอน ด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น
ทั้งนี้ จะทำให้กลุ่มจังหวัดสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านลอจิสติกส์ ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจลอจิสติกส์สามารถแข่งขันได้ และผู้ประกอบธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่าย และพัฒนาศักยภาพ ให้เท่าทันสถานการณ์ได้ โดยเฉพาะการลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ลงและสามารถแข่งขันในเวทีความร่วมมือในกลุ่มอนุภูมิภาคหรือเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AEC ในอีก 4 ปีข้างหน้าได้
ด้าน นายณรงค์ คองประเสริฐ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ล่าสุดจากการร่วมประชุมหอการค้าภาคเหนือ 17 จังหวัดที่พิษณุโลก ได้ข้อสรุปร่วมกันที่น่าสนใจจากการรวบรวมเสียงทุกหอการค้า เห็นด้วยที่จะให้เกิดรถไฟความเร็วสูงในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเป็นความต้องการอย่างยิ่งของภาคเอกชน เพราะรถไฟความเร็วสูงไม่ได้ตอบสนองเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ แต่จะเป็นแก้ไขภาคสังคม จากการใช้รถยนต์ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก ทั้งรถไฟความเร็วสูงจะช่วยลดต้นทุนทางด้านการขนส่งได้เป็นอย่างดี
ส่วนการผลักดันเรื่องรถไฟรางคู่ ที่ประชุมเห็นว่าจากแผนการพัฒนาจะใช้เวลาอีก 20 ปี ถือว่านานเกินไปไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง แม้รถไฟรางคู่จำเป็นต่อระบบการขนส่งระบบลอจิสติกส์อย่างมาก ที่ประชุมได้เสนอให้รัฐบาลร่นระยะทางของแผนลงมาอย่างน้อย 10 ปี
“ข้อสรุปจากแนวคิดครั้งนี้ จะเสนอไปยังพรรคการเมืองทุกพรรคและรัฐบาลใหม่ ให้ความสำคัญและเร่งรัดการดำเนินโครงการนี้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เนื่องจากเป็นโครงการที่เป็นความหวังของประชาชนทางภาคเหนือทั้งหมด”