พะเยา - เกษตรพะเยาคาดผลผลิตลิ้นจี่-ลำไย ลดลงร้อยละ 50 เหตุถูกตัดปลูกยางพาราทดแทนและอากาศแปรปรวน ด้านสหกรณ์แจ้ง คชก.เปิดช่องให้สหกรณ์กู้ช่วยเหลือเกษตรกรหากประสบปัญหา
นายนเรศ ฝีปากเพราะ นักวิชาการเกษตร หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า จาการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกและแนวโน้มการให้ผลผลิตของผลไม้จังหวัดพะเยา คือ ลำไย และลิ้นจี่ พบว่าผลไม้ทั้งสองชนิดมีแนวโน้มผลผลิตลดลงร้อยละ 50 โดยลิ้นจี่มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 20,707 ไร่ ผลผลิตรวม 6,486 ตัน สูงสุดปลูกที่ อ.แม่ใจ 15,074 ไร่ และลำไย มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 61,195 ไร่ ผลผลิตรวม 21,565 ตัน สูงสุดที่ อ.เชียงคำ 22,695 ไร่
นายนเรศกล่าวต่ออีกว่า เหตุผลที่ผลผลิตผลไม้ทั้งสองลดลง เนื่องจากปัจจัย 2 ประการหลัก คือ 1.พื้นที่ปลูกลดลงเพราะเกษตรกรปลูกยางพาราทดแทน และ 2.สภาพอากาศแปรปรวนกระทบต่อผลผลิตที่ลดลง
ด้าน นายชำนาญ กองแก้ว สหกรณ์จังหวัดพะเยา กล่าวว่า ทางภาครัฐโดยจังหวัดพะเยาได้มีโครงการแก้ไขปัญหาด้านการตลาดผลผลิตลิ้นจี่ ปี 2554 จังหวัดพะเยา ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกร อันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด กำหนดมาตรการและกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรด้านการกระจายผลผลิตลิ้นจี่ ซึ่งสหกรณ์ในจังหวัดพะเยาสามารถขอรับงบประมาณสนับสนุนจากคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เพื่อเป็นเงินจ่ายขาดและเงินทุนหมุนเวียนได้ ประกอบด้วยการกระจายผลผลิตภายในประเทศ 3,000 ตัน และมาตรการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ 100 ตัน
นายนเรศ ฝีปากเพราะ นักวิชาการเกษตร หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า จาการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกและแนวโน้มการให้ผลผลิตของผลไม้จังหวัดพะเยา คือ ลำไย และลิ้นจี่ พบว่าผลไม้ทั้งสองชนิดมีแนวโน้มผลผลิตลดลงร้อยละ 50 โดยลิ้นจี่มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 20,707 ไร่ ผลผลิตรวม 6,486 ตัน สูงสุดปลูกที่ อ.แม่ใจ 15,074 ไร่ และลำไย มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 61,195 ไร่ ผลผลิตรวม 21,565 ตัน สูงสุดที่ อ.เชียงคำ 22,695 ไร่
นายนเรศกล่าวต่ออีกว่า เหตุผลที่ผลผลิตผลไม้ทั้งสองลดลง เนื่องจากปัจจัย 2 ประการหลัก คือ 1.พื้นที่ปลูกลดลงเพราะเกษตรกรปลูกยางพาราทดแทน และ 2.สภาพอากาศแปรปรวนกระทบต่อผลผลิตที่ลดลง
ด้าน นายชำนาญ กองแก้ว สหกรณ์จังหวัดพะเยา กล่าวว่า ทางภาครัฐโดยจังหวัดพะเยาได้มีโครงการแก้ไขปัญหาด้านการตลาดผลผลิตลิ้นจี่ ปี 2554 จังหวัดพะเยา ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกร อันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด กำหนดมาตรการและกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรด้านการกระจายผลผลิตลิ้นจี่ ซึ่งสหกรณ์ในจังหวัดพะเยาสามารถขอรับงบประมาณสนับสนุนจากคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เพื่อเป็นเงินจ่ายขาดและเงินทุนหมุนเวียนได้ ประกอบด้วยการกระจายผลผลิตภายในประเทศ 3,000 ตัน และมาตรการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ 100 ตัน