ตราด - ส.ส.ตราด ดันงบประมาณรัฐแก้ปัญหาผลไม้ 3 จังหวัดภาคตะวันออก เน้นกระจายผลผลิตสู่นอกพื้นที่ผลิต
นายธีระ สลักเพชร และอดีต รมว.วัฒนธรรม เปิดเผยว่า ในอ่าวผลผลิตผลไม้ของ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก (ระยอง, จันทบุรี และตราด) ออกสู่ตลาดในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ของทุกปี รัฐบาลได้ให้ คชก.เป็นผู้ผู้ดำเนินการแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ทั้งการให้งบประมาณในการพยุงราคา การกระจายผลผลิตออกสู่พื้นที่การผลิต
ในปีนี้ก็จะเน้นในเรื่องการกระจายผลผลิตมาสู่พื้นที่นอกการผลิตโดยจะพยายามกระจายผลไม้ออกไปยังต่างประเทศและในประเทศให้มากขึ้น แต่ปัญหา คือ การที่ผลไม้ได้รับผลกระทบจากภูมิอากาศที่แปรปรวนผลไม้ออกผลผลิตล่าช้าและไม่พร้อมกัน โดยส่งผลกระทบต่อการเก็บเกี่ยว
“ที่มีปัญหามาก คือ มังคุด เพราะปีนี้ได้รับผลกระทบมากถึงขั้นออกผลผลิต 2-3 รุ่น ทำให้การเก็บเกี่ยวต้องใช้แรงงานงานมาก อีกทั้งยังทำให้เกษตรกรไม่สามารถขายผลผลิตออกได้ในคราวเดียวกัน และอาจต้องมีผลผลิตพร้อมกับจังหวัดในภาคใต้ ยิ่งจะทำให้ราคาลดลงด้วย ส่วนการแก้ไขราคาผลผลิตนั้น ได้เน้นย้ำให้แต่ละจังหวัดไม่นำเงินไปให้พ่อค้าคนกลาง หรือล้งในการรับซื้อเพราะพ่อค้าคนกลางมีสภาพคล่องดีอยู่แล้ว”
นายธีระ กล่าวด้วยว่า สิ่งที่เป็นห่วง ก็คือ ชาวสวนผลไม้ในภาคตะวันออกจะหันไปปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมันมากขึ้น เนื่องจากราคาผลไม้มีปัญหาทุกปี ซึ่งตนไม่ต้องการเห็นภาพเช่นนั้น เพราะพื้นที่ปลูกยางพาราจะปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ, ภาคอีสานได้ แต่ผลไม้จะปลูกในพื้นที่อื่นๆ ไม่ได้ อีกทั้งช่วงที่ผลไม้ของ 3 จังหวัดภาคตะวันออก จะมีผลผลิตออกมาในช่วงที่ประเทศจีนมีความต้องการพอดีทำให้สามารถส่งไปขายในประเทศจีนได้
นอกจากนี้ รัฐบาลกำลังจะผลักดันให้มีการประกันความเสี่ยงผลผลิตทางการเกษตร ที่ถูกภัยธรรมชาติทำลาย จนได้รับความเสียหายเพื่อสร้างหลักประกันให้กับเกษตรกรด้วย
นายธีระ สลักเพชร และอดีต รมว.วัฒนธรรม เปิดเผยว่า ในอ่าวผลผลิตผลไม้ของ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก (ระยอง, จันทบุรี และตราด) ออกสู่ตลาดในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ของทุกปี รัฐบาลได้ให้ คชก.เป็นผู้ผู้ดำเนินการแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ทั้งการให้งบประมาณในการพยุงราคา การกระจายผลผลิตออกสู่พื้นที่การผลิต
ในปีนี้ก็จะเน้นในเรื่องการกระจายผลผลิตมาสู่พื้นที่นอกการผลิตโดยจะพยายามกระจายผลไม้ออกไปยังต่างประเทศและในประเทศให้มากขึ้น แต่ปัญหา คือ การที่ผลไม้ได้รับผลกระทบจากภูมิอากาศที่แปรปรวนผลไม้ออกผลผลิตล่าช้าและไม่พร้อมกัน โดยส่งผลกระทบต่อการเก็บเกี่ยว
“ที่มีปัญหามาก คือ มังคุด เพราะปีนี้ได้รับผลกระทบมากถึงขั้นออกผลผลิต 2-3 รุ่น ทำให้การเก็บเกี่ยวต้องใช้แรงงานงานมาก อีกทั้งยังทำให้เกษตรกรไม่สามารถขายผลผลิตออกได้ในคราวเดียวกัน และอาจต้องมีผลผลิตพร้อมกับจังหวัดในภาคใต้ ยิ่งจะทำให้ราคาลดลงด้วย ส่วนการแก้ไขราคาผลผลิตนั้น ได้เน้นย้ำให้แต่ละจังหวัดไม่นำเงินไปให้พ่อค้าคนกลาง หรือล้งในการรับซื้อเพราะพ่อค้าคนกลางมีสภาพคล่องดีอยู่แล้ว”
นายธีระ กล่าวด้วยว่า สิ่งที่เป็นห่วง ก็คือ ชาวสวนผลไม้ในภาคตะวันออกจะหันไปปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมันมากขึ้น เนื่องจากราคาผลไม้มีปัญหาทุกปี ซึ่งตนไม่ต้องการเห็นภาพเช่นนั้น เพราะพื้นที่ปลูกยางพาราจะปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ, ภาคอีสานได้ แต่ผลไม้จะปลูกในพื้นที่อื่นๆ ไม่ได้ อีกทั้งช่วงที่ผลไม้ของ 3 จังหวัดภาคตะวันออก จะมีผลผลิตออกมาในช่วงที่ประเทศจีนมีความต้องการพอดีทำให้สามารถส่งไปขายในประเทศจีนได้
นอกจากนี้ รัฐบาลกำลังจะผลักดันให้มีการประกันความเสี่ยงผลผลิตทางการเกษตร ที่ถูกภัยธรรมชาติทำลาย จนได้รับความเสียหายเพื่อสร้างหลักประกันให้กับเกษตรกรด้วย