ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - หอการค้าญี่ปุ่นปลื้ม โครงการเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรียนช่วยเหลือเด็กไทยได้จริง จับมือ CPF ขยายโครงการฯ ต่อเนื่อง
นายสุปรี เบ้าสิงห์สวย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท สนับสนุนโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า นอกจากมูลนิธิฯ และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้ดำเนินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันนักเรียน โดยน้อมรับแนวพระดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม ภายใต้ “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน” ในโรงเรียนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2532 แล้ว มูลนิธิฯ และซีพีเอฟ ยังได้ดำเนินโครงการร่วมกับ หอการค้าญี่ปุ่น - กรุงเทพฯ (JCCB) และกระทรวงศึกษาธิการ มาตั้งแต่พ.ศ.2543 และมีความร่วมมือระหว่างกันมาจนครบ 10 ปี ใน สำหรับปี 2554 จะเป็นการขยายผลความร่วมมือระยะที่ 2 ในโรงเรียนอีก 7 แห่ง ด้วยเงินงบประมาณสนับสนุนจาก JCCB รวม 1.24 ล้านบาท
“ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา JCCBได้ร่วมดำเนินโครงการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาพื้นฐานแล้ว 50 แห่ง และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 14 แห่ง รวมทั้งสิ้น 64 แห่ง ใน 28 จังหวัด ด้วยงบประมาณสนับสนุนรวม 13.8 ล้านบาท สามารถช่วยให้นักเรียนกว่า 20,000 คนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น นอกจากนี้โรงเรียนยังมีเงินกองทุนหมุนเวียนที่เกิดจากการดำเนินโครงการ 6.09 ล้าน นำมาบริหารจัดการโครงการได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการพึ่งพาตนเองของโรงเรียนได้อย่างยั่งยืนแล้ว ยังเกิดการบูรณาการกิจกรรมกับแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนทางโรงเรียนได้นำรูปแบบไปขยายผลในเครือข่ายของโรงเรียน” นายสุปรี กล่าวและว่า
การดำเนินโครงการความร่วมมือ ระหว่าง มูลนิธิฯ ซีพีเอฟ JCCB และกระทรวงศึกษาฯ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก ในการส่งเสริมโภชนาการที่ดีแก่นักเรียนในชนบท มีกรอบระยะเวลา 10 ปี เริ่มต้นแต่ปี 2543 จากเจตนารมณ์ของ หอการค้าญี่ปุ่น - กรุงเทพฯ ที่ต้องการจะจัดทำโครงการเพื่อร่วมเฉลิมฉลอง เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระชนมายุครบ 6 รอบ (72 พรรษา) จึงได้ร่วมสนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันนักเรียนในรูปแบบที่โรงเรียนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน เป็นเวลาต่อเนื่อง 10 ปี ปีละประมาณ 5-8 แห่ง ต่อมาในปี 2548 ได้ขยายผลการดำเนินการร่วมกับ สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อดำเนินการเพิ่มเติมในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ทั้งนี้ มีรูปแบบการดำเนินการ คือ หอการค้าญี่ป่น-กรุงเทพฯ (JCCB โดยคณะกรรมการช่วยเหลือสังคม) ให้การสนับสนุนงบประมาณสำหรับก่อสร้างโรงเรียนพร้อมอุปกรณ์การเลี้ยงพันธุ์ไก่ไข่ อาหาร และยาสัตว์ในการเลี้ยงรุ่นแรก สำหรับ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้เสนอรายชื่อโรงเรียนเพื่อเข้าร่วมโครงการ ส่วนมูลนิธิพัฒนาชนบทฯ บริหารจัดการโครงการและงบประมาณ คัดเลือกโรงเรียนที่จะดำเนินโครงการ จัดทำแผนการดำเนินงาน ติดตามและรายงานผล โดยมีซีพีเอฟ ทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิควิชาการและการจัดการ และเข้าดูแล ตลอดจนให้คำปรึกษาแก่อาจารย์และนักเรียนผู้ดูแลโครงการเพื่อให้มีประสิทธิภาพการผลิตสูงสุด
ปัจจุบัน มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน แล้วกว่า 320 แห่ง ช่วยให้นักเรียนกว่า 65,000 คน มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น จากการบริโภคไข่ไก่ สัปดาห์ละ 2-3 ฟอง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังคงมีหน่วยงานเอกชนหลายแห่ง ตลอดจน NGO ต่างๆ ที่มีงบประมาณสนับสนุน แต่ขาดแคลนบุคลากรผู้ลงมือทำ ได้แสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการด้วยอย่างต่อเนื่อง โดยมูลนิธิฯ และซีพีเอฟ ซึ่งเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการดำเนินโครงการฯ จะร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการฯ ของแต่ละโรงเรียน โดยได้ตั้งเป้าขยายโครงการให้ได้ 500 แห่งภายในปี 2556
นายสุปรี เบ้าสิงห์สวย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท สนับสนุนโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า นอกจากมูลนิธิฯ และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้ดำเนินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันนักเรียน โดยน้อมรับแนวพระดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม ภายใต้ “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน” ในโรงเรียนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2532 แล้ว มูลนิธิฯ และซีพีเอฟ ยังได้ดำเนินโครงการร่วมกับ หอการค้าญี่ปุ่น - กรุงเทพฯ (JCCB) และกระทรวงศึกษาธิการ มาตั้งแต่พ.ศ.2543 และมีความร่วมมือระหว่างกันมาจนครบ 10 ปี ใน สำหรับปี 2554 จะเป็นการขยายผลความร่วมมือระยะที่ 2 ในโรงเรียนอีก 7 แห่ง ด้วยเงินงบประมาณสนับสนุนจาก JCCB รวม 1.24 ล้านบาท
“ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา JCCBได้ร่วมดำเนินโครงการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาพื้นฐานแล้ว 50 แห่ง และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 14 แห่ง รวมทั้งสิ้น 64 แห่ง ใน 28 จังหวัด ด้วยงบประมาณสนับสนุนรวม 13.8 ล้านบาท สามารถช่วยให้นักเรียนกว่า 20,000 คนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น นอกจากนี้โรงเรียนยังมีเงินกองทุนหมุนเวียนที่เกิดจากการดำเนินโครงการ 6.09 ล้าน นำมาบริหารจัดการโครงการได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการพึ่งพาตนเองของโรงเรียนได้อย่างยั่งยืนแล้ว ยังเกิดการบูรณาการกิจกรรมกับแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนทางโรงเรียนได้นำรูปแบบไปขยายผลในเครือข่ายของโรงเรียน” นายสุปรี กล่าวและว่า
การดำเนินโครงการความร่วมมือ ระหว่าง มูลนิธิฯ ซีพีเอฟ JCCB และกระทรวงศึกษาฯ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก ในการส่งเสริมโภชนาการที่ดีแก่นักเรียนในชนบท มีกรอบระยะเวลา 10 ปี เริ่มต้นแต่ปี 2543 จากเจตนารมณ์ของ หอการค้าญี่ปุ่น - กรุงเทพฯ ที่ต้องการจะจัดทำโครงการเพื่อร่วมเฉลิมฉลอง เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระชนมายุครบ 6 รอบ (72 พรรษา) จึงได้ร่วมสนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันนักเรียนในรูปแบบที่โรงเรียนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน เป็นเวลาต่อเนื่อง 10 ปี ปีละประมาณ 5-8 แห่ง ต่อมาในปี 2548 ได้ขยายผลการดำเนินการร่วมกับ สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อดำเนินการเพิ่มเติมในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ทั้งนี้ มีรูปแบบการดำเนินการ คือ หอการค้าญี่ป่น-กรุงเทพฯ (JCCB โดยคณะกรรมการช่วยเหลือสังคม) ให้การสนับสนุนงบประมาณสำหรับก่อสร้างโรงเรียนพร้อมอุปกรณ์การเลี้ยงพันธุ์ไก่ไข่ อาหาร และยาสัตว์ในการเลี้ยงรุ่นแรก สำหรับ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้เสนอรายชื่อโรงเรียนเพื่อเข้าร่วมโครงการ ส่วนมูลนิธิพัฒนาชนบทฯ บริหารจัดการโครงการและงบประมาณ คัดเลือกโรงเรียนที่จะดำเนินโครงการ จัดทำแผนการดำเนินงาน ติดตามและรายงานผล โดยมีซีพีเอฟ ทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิควิชาการและการจัดการ และเข้าดูแล ตลอดจนให้คำปรึกษาแก่อาจารย์และนักเรียนผู้ดูแลโครงการเพื่อให้มีประสิทธิภาพการผลิตสูงสุด
ปัจจุบัน มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน แล้วกว่า 320 แห่ง ช่วยให้นักเรียนกว่า 65,000 คน มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น จากการบริโภคไข่ไก่ สัปดาห์ละ 2-3 ฟอง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังคงมีหน่วยงานเอกชนหลายแห่ง ตลอดจน NGO ต่างๆ ที่มีงบประมาณสนับสนุน แต่ขาดแคลนบุคลากรผู้ลงมือทำ ได้แสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการด้วยอย่างต่อเนื่อง โดยมูลนิธิฯ และซีพีเอฟ ซึ่งเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการดำเนินโครงการฯ จะร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการฯ ของแต่ละโรงเรียน โดยได้ตั้งเป้าขยายโครงการให้ได้ 500 แห่งภายในปี 2556