ตราด - ภัยแล้งคุกคามตราดหนัก ลามแล้ว 30 ตำบล 5 อำเภอ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เร่งรัดทุกหน่วยออกมาตรการ จี้ปลูกพืชหน้าแล้ง ถั่วและพริก เตือนประชาชนประหยัดน้ำ
นายชลอ ใบเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เปิดเผยว่า ขณะนี้จังหวัดตราดได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินจากภัยแล้งแล้ว รวม 5 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองตราด 13 ตำบล อำเภอเกาะกูด 2 ตำบล อำเภอเขาสมิง 8 ตำบล อำเภอคลองใหญ่ 3 ตำบล และอำเภอแหลมงอบ 4 ตำบล รวมทั้งสิ้น 30 ตำบล
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้สถานการณ์ยังไม่รุนแรงแต่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับ อำเภอ และตำบล ทุกพื้นที่กำลังเร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการป้องและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง อาทิ มาตรการส่งเสริมการปลูกพืชในหน้าแล้ง ประกอบด้วยการจัดสรรน้ำที่เน้นดำเนินการตามแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนโดยแยกเฉพาะน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การประปา เพื่อการเกษตร โดยมีโครงการชลประทานตราดเป็นเจ้าภาพหลัก พร้อมทั้งมีหน่วยทหารในพื้นที่ และฝ่ายปกครองเป็นเจ้าภาพรอง
“แผนการด้านการเกษตรจะเน้นให้ส่งเสริมให้เกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะรณรงค์งดให้เกษตรกรงดปลูกพืชที่ใช้น้ำมาก โดยเฉพาะบริเวณนอกเขตพื้นที่ชลประทาน พร้อมทั้งหันมาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและมีลู่ทางการตลาดดี เช่น พืชตระกูลถั่ว หรือผักที่ต้องการใช้น้ำน้อย โดยมีสำนักงานเกษตรจังหวัดเป็นเจ้าภาพหลัก อย่างไรก็ตามยังได้มุ่งการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด”
พ.อ.โสภณ ศรีมงคล รองผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 14 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย เปิดเผยว่า การเตรียมการช่วยเหลือปัญหาภัยแล้งในอำเภอบ่อไร่ในขณะนี้ ยังไม่มีปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องของน้ำ เพราะอำเภอบ่อไร่เป็นบริเวณต้นน้ำจึงมีน้ำใช้ตลอด แต่อย่างไรก็ตามทางหน่วยร่วมกับทางอำเภอได้มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของรถน้ำ ไว้ให้บริการชาวบ้านในพื้นที่อำเภอบ่อไร่
ขณะที่นายอภิเดช บุญล้อม นายกเทศบาล ต.ตะกาง อ.เมืองตราด กล่าวว่า ใน ต.ตะกาง เริ่มมีปัญหาด้านภัยแล้งเกิดขึ้น ทำให้เทศบาลได้ออกประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในพื้นที่ลดพื้นที่การปลูกพืชที่ต้องใช้น้ำจำนวนมาก หรือไม่ปลูกเลยก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะอาจจะทำให้พืชไร่ได้รับความเสียหายจากการขาดแคลนน้ำได้
นายชลอ ใบเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เปิดเผยว่า ขณะนี้จังหวัดตราดได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินจากภัยแล้งแล้ว รวม 5 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองตราด 13 ตำบล อำเภอเกาะกูด 2 ตำบล อำเภอเขาสมิง 8 ตำบล อำเภอคลองใหญ่ 3 ตำบล และอำเภอแหลมงอบ 4 ตำบล รวมทั้งสิ้น 30 ตำบล
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้สถานการณ์ยังไม่รุนแรงแต่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับ อำเภอ และตำบล ทุกพื้นที่กำลังเร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการป้องและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง อาทิ มาตรการส่งเสริมการปลูกพืชในหน้าแล้ง ประกอบด้วยการจัดสรรน้ำที่เน้นดำเนินการตามแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนโดยแยกเฉพาะน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การประปา เพื่อการเกษตร โดยมีโครงการชลประทานตราดเป็นเจ้าภาพหลัก พร้อมทั้งมีหน่วยทหารในพื้นที่ และฝ่ายปกครองเป็นเจ้าภาพรอง
“แผนการด้านการเกษตรจะเน้นให้ส่งเสริมให้เกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะรณรงค์งดให้เกษตรกรงดปลูกพืชที่ใช้น้ำมาก โดยเฉพาะบริเวณนอกเขตพื้นที่ชลประทาน พร้อมทั้งหันมาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและมีลู่ทางการตลาดดี เช่น พืชตระกูลถั่ว หรือผักที่ต้องการใช้น้ำน้อย โดยมีสำนักงานเกษตรจังหวัดเป็นเจ้าภาพหลัก อย่างไรก็ตามยังได้มุ่งการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด”
พ.อ.โสภณ ศรีมงคล รองผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 14 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย เปิดเผยว่า การเตรียมการช่วยเหลือปัญหาภัยแล้งในอำเภอบ่อไร่ในขณะนี้ ยังไม่มีปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องของน้ำ เพราะอำเภอบ่อไร่เป็นบริเวณต้นน้ำจึงมีน้ำใช้ตลอด แต่อย่างไรก็ตามทางหน่วยร่วมกับทางอำเภอได้มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของรถน้ำ ไว้ให้บริการชาวบ้านในพื้นที่อำเภอบ่อไร่
ขณะที่นายอภิเดช บุญล้อม นายกเทศบาล ต.ตะกาง อ.เมืองตราด กล่าวว่า ใน ต.ตะกาง เริ่มมีปัญหาด้านภัยแล้งเกิดขึ้น ทำให้เทศบาลได้ออกประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในพื้นที่ลดพื้นที่การปลูกพืชที่ต้องใช้น้ำจำนวนมาก หรือไม่ปลูกเลยก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะอาจจะทำให้พืชไร่ได้รับความเสียหายจากการขาดแคลนน้ำได้