เชียงราย - คนเชียงราย แห่สมัครร่วมปลูกยาง 8 แสนไร่ คึกคักไม่แพ้หลายจังหวัดในภาคเหนือ บางส่วนเดินทางไปปักหลักรอต่อแถวกันตั้งแต่เช้ามืด จน สกย.ต้องขยายเวลารับเอกสาร คาดจนถึง 15 มีนาฯยอดสมัครล้นโควตาแน่
รายงานข่าวจาก จ.เชียงราย แจ้งว่า การเปิดรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ระยะที่ 3 (2554-2556) หรือโครงการปลูกยาง 800,000 ไร่ ทั่วประเทศ ซึ่งจัดสรรโควตาให้แต่ละจังหวัดนำไปดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร ที่ไม่เคยปลูกยางพารามาก่อนและมีเนื้อที่ไม่เกิน 2-15 ไร่ และเปิดรับสมัครวันนี้ (15 ก.พ.) เป็นวันแรกนั้น ปรากฏว่า เป็นไปด้วยความคึกคักอย่างมาก โดยพบว่าได้มีเกษตรกรนำเอกสารหลักฐานเดินทางไปสมัครตั้งแต่ช่วงเช้ามืด จนทางเจ้าหน้าที่ต้องขยายเวลาการยื่นเอกสารออกไปสำหรับพื้นที่เดิมอีก 1 วัน
นายวิทยา ชุมวณิชย์ ผู้อำนวยการ กสย.เชียงราย กล่าวว่า เชียงราย ได้รับการจัดสรรพื้นที่ปลูกตามโครงการนี้ในปี 2554 จำนวน 6,700 ไร่ ปี 2555และ 2556 ปีละ 9,150 ไร่ตามลำดับ รวมทั้งสิ้น 25,000 ไร่ ซึ่งผลการเปิดรับสมัครวันแรกใน 3 อำเภอ คือ ที่ว่าการ อ.แม่จัน ที่ว่าการ อ.แม่สาย และสำนักงาน สกย.เมืองเชียงราย พบมีผู้ไปสมัครเป็นจำนวนมาก เดิมเจ้าหน้าที่ได้ตั้งเต็นท์รองรับเอาไว้แห่งละ 2 เต็นท์ และเก้าอี้ 100 ตัว ปรากฏว่าไม่พอ
ด้วยเหตุนี้เจ้าหน้าที่จึงต้องปรับวิธีการด้วยการแจกบัตรคิวสำหรับผู้ที่เดินทางไปถึงก่อน และขยายระยะเวลา สำหรับคนที่ได้รับบัตรคิวแล้วออกไปอีก 1 วัน โดยวันที่ 16 ก.พ.นี้ ผู้ที่ได้รับบัตรคิวแล้วและยังไม่ได้รับการดำเนินการจากเจ้าหน้าที่ ให้นำบัตรคิวพร้อมหลักฐานต่างๆ ที่กำหนดไปแสดงตัวเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่เดิมได้คาดว่าแต่ละแห่งใช้เวลาอีก 1 วันก็คงจะแล้วเสร็จ
นายวิทยา บอกว่า ยอดล่าสุดจนถึงช่วงบ่ายวันนี้ มีเกษตรกรไปรับบัตรคิวแล้วจำนวนประมาณ 1,000 คน เชื่อว่า ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่รับสมัครโดยตระเวนไปรับสมัครวันละ 3 อำเภอ จะมีเกษตรกรไปสมัครเป็นจำนวนมากจนล้นโควตาแน่นอน
“สาเหตุที่มีการไปสมัครกันมากเพราะโครงการนี้มีการสนุนปัจจัยการผลิตในช่วง 3 ปีแรกรวมเป็นเงินไร่ละ 3,529 บาท เช่น ปุ๋ย เมล็ดพืชคลุมดิน กล้าพันธุ์ยาง ฯลฯ ส่วนช่วงที่เหลือก่อนกรีดน้ำยางยังได้รับการสนับสนุนด้านการถ่ายทอดความรู้ด้านต่างๆ อีกมากมาย” นายวิทยา กล่าว
นายวิทยา กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ สกย.เคยสำรวจเกษตรกรที่เคยไปลงทะเบียนเอาไว้นอกโครงการ พบว่ามีผู้ปลูกรวมกันกว่า 347,857 ไร่ และมีผู้ที่ไม่เคยปลูกยางพารามาก่อนกว่า 30,000 ไร่ ซึ่งมากกว่าโควตาที่เชียงรายได้รวมกันทั้ง 3 ปีเสียอีก ดังนั้น วิธีการแก้ไขกรณีมีเกษตรกรไปยื่นหลักฐานได้ครบ แต่เกินจำนวน คือ จะดูจากบัตรคิวก่อนหลังของผู้ที่ไปยื่นหลักฐานก่อน แต่ก็เชื่อว่าคุณสมบัติผู้ไปสมัครคงจะไม่ครบทั้งหมด โดยอาจจะมีร่วม 50%ที่ตกเกณฑ์ เพราะคุณสมบัติที่ตั้งเอาไว้คือต้องไม่เคยปลูกยางพาราในพื้นที่นั้นๆ มาก่อน เป็นที่ดินที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีที่ดินเป็นรายย่อยตั้งแต่ 2-15 ไร่ เป็นต้น
รายงานข่าวจาก จ.เชียงราย แจ้งว่า การเปิดรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ระยะที่ 3 (2554-2556) หรือโครงการปลูกยาง 800,000 ไร่ ทั่วประเทศ ซึ่งจัดสรรโควตาให้แต่ละจังหวัดนำไปดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร ที่ไม่เคยปลูกยางพารามาก่อนและมีเนื้อที่ไม่เกิน 2-15 ไร่ และเปิดรับสมัครวันนี้ (15 ก.พ.) เป็นวันแรกนั้น ปรากฏว่า เป็นไปด้วยความคึกคักอย่างมาก โดยพบว่าได้มีเกษตรกรนำเอกสารหลักฐานเดินทางไปสมัครตั้งแต่ช่วงเช้ามืด จนทางเจ้าหน้าที่ต้องขยายเวลาการยื่นเอกสารออกไปสำหรับพื้นที่เดิมอีก 1 วัน
นายวิทยา ชุมวณิชย์ ผู้อำนวยการ กสย.เชียงราย กล่าวว่า เชียงราย ได้รับการจัดสรรพื้นที่ปลูกตามโครงการนี้ในปี 2554 จำนวน 6,700 ไร่ ปี 2555และ 2556 ปีละ 9,150 ไร่ตามลำดับ รวมทั้งสิ้น 25,000 ไร่ ซึ่งผลการเปิดรับสมัครวันแรกใน 3 อำเภอ คือ ที่ว่าการ อ.แม่จัน ที่ว่าการ อ.แม่สาย และสำนักงาน สกย.เมืองเชียงราย พบมีผู้ไปสมัครเป็นจำนวนมาก เดิมเจ้าหน้าที่ได้ตั้งเต็นท์รองรับเอาไว้แห่งละ 2 เต็นท์ และเก้าอี้ 100 ตัว ปรากฏว่าไม่พอ
ด้วยเหตุนี้เจ้าหน้าที่จึงต้องปรับวิธีการด้วยการแจกบัตรคิวสำหรับผู้ที่เดินทางไปถึงก่อน และขยายระยะเวลา สำหรับคนที่ได้รับบัตรคิวแล้วออกไปอีก 1 วัน โดยวันที่ 16 ก.พ.นี้ ผู้ที่ได้รับบัตรคิวแล้วและยังไม่ได้รับการดำเนินการจากเจ้าหน้าที่ ให้นำบัตรคิวพร้อมหลักฐานต่างๆ ที่กำหนดไปแสดงตัวเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่เดิมได้คาดว่าแต่ละแห่งใช้เวลาอีก 1 วันก็คงจะแล้วเสร็จ
นายวิทยา บอกว่า ยอดล่าสุดจนถึงช่วงบ่ายวันนี้ มีเกษตรกรไปรับบัตรคิวแล้วจำนวนประมาณ 1,000 คน เชื่อว่า ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่รับสมัครโดยตระเวนไปรับสมัครวันละ 3 อำเภอ จะมีเกษตรกรไปสมัครเป็นจำนวนมากจนล้นโควตาแน่นอน
“สาเหตุที่มีการไปสมัครกันมากเพราะโครงการนี้มีการสนุนปัจจัยการผลิตในช่วง 3 ปีแรกรวมเป็นเงินไร่ละ 3,529 บาท เช่น ปุ๋ย เมล็ดพืชคลุมดิน กล้าพันธุ์ยาง ฯลฯ ส่วนช่วงที่เหลือก่อนกรีดน้ำยางยังได้รับการสนับสนุนด้านการถ่ายทอดความรู้ด้านต่างๆ อีกมากมาย” นายวิทยา กล่าว
นายวิทยา กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ สกย.เคยสำรวจเกษตรกรที่เคยไปลงทะเบียนเอาไว้นอกโครงการ พบว่ามีผู้ปลูกรวมกันกว่า 347,857 ไร่ และมีผู้ที่ไม่เคยปลูกยางพารามาก่อนกว่า 30,000 ไร่ ซึ่งมากกว่าโควตาที่เชียงรายได้รวมกันทั้ง 3 ปีเสียอีก ดังนั้น วิธีการแก้ไขกรณีมีเกษตรกรไปยื่นหลักฐานได้ครบ แต่เกินจำนวน คือ จะดูจากบัตรคิวก่อนหลังของผู้ที่ไปยื่นหลักฐานก่อน แต่ก็เชื่อว่าคุณสมบัติผู้ไปสมัครคงจะไม่ครบทั้งหมด โดยอาจจะมีร่วม 50%ที่ตกเกณฑ์ เพราะคุณสมบัติที่ตั้งเอาไว้คือต้องไม่เคยปลูกยางพาราในพื้นที่นั้นๆ มาก่อน เป็นที่ดินที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีที่ดินเป็นรายย่อยตั้งแต่ 2-15 ไร่ เป็นต้น