พิจิตร - กลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองทอง ของ “อัคราไมนิ่ง” บุกพบ รมว.สธ.ร้องเหมืองทองทำสุขภาพชาวบ้านทรุด
รายงานข่าวจากจังหวัดพิจิตร แจ้งว่า ระหว่างที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข เดินทางมาลงพื้นที่พิจิตรสุดสัปดาห์นี้ กลุ่มของ น.ส.สื่อกัญญา ธีระชาติธำรง ซึ่งเป็นชาวบ้าน ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร มีถิ่นที่อยู่อาศัยในพื้นที่การทำเหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนปัญหาสุขภาพ
โดยระบุว่า การทำเหมืองแร่ทองคำส่งผลให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ซึ่งที่ผ่านมา นายประจักษ์ วัฒนกุล นายแพทย์สาธารณสุข จ.พิจิตร ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลปกครอง พาชาวบ้านกว่า 40 คน มาเจาะเลือดหาสารไซยาไนด์, สารหนู, แมงกานีส ฯลฯ แล้ว แต่ชาวบ้านกลับไม่ยอมรับผลตรวจ โดยอ้างว่ามีการบิดเบือน
ซึ่งในเรื่องนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข ได้รับหนังสือร้องเรียนและได้ชี้แจงกับสื่อมวลชนว่า ได้สั่งให้ อสม.และ สาธารณสุข รวมถึงขอให้ผู้ว่าฯพิจิตร ไปแจ้งกับชาวบ้านทุกคน ใครที่คิดว่าได้รับผลกระทบ ก็มาพบกัน และได้ตรวจเลือด เพื่อดูผลว่ามีโลหะหนัก หรือ สารพิษ จริงอย่างคำร้องเรียนหรือไม่ ซึ่งถ้าพบจริงก็จะได้รักษาให้และน่าจะเป็นที่พอใจแก่ผู้ร้องเรียน
ส่วนคำครหาที่ว่า มีการบิดเบือนผลการตรวจนั้น รมว.สาธารณสุข ไม่เชื่อว่า มีการทำหรือเป็นไปได้ เพราะวิธีการตรวจเลือดดังกล่าว สสจ.และ รพ.พิจิตร เป็นผู้เจาะเลือด แต่ส่งไปยังห้องแล็บของ ม.มหิดล ซึ่งผลที่ได้ต้องส่งไปยังศาลปกครองด้วย จึงมั่นใจว่า ไม่มีใครกล้าเสี่ยงติดคุกกระทำอย่างที่ผู้ร้องเรียนอ้าง
รายงานข่าวจากจังหวัดพิจิตร แจ้งว่า ระหว่างที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข เดินทางมาลงพื้นที่พิจิตรสุดสัปดาห์นี้ กลุ่มของ น.ส.สื่อกัญญา ธีระชาติธำรง ซึ่งเป็นชาวบ้าน ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร มีถิ่นที่อยู่อาศัยในพื้นที่การทำเหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนปัญหาสุขภาพ
โดยระบุว่า การทำเหมืองแร่ทองคำส่งผลให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ซึ่งที่ผ่านมา นายประจักษ์ วัฒนกุล นายแพทย์สาธารณสุข จ.พิจิตร ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลปกครอง พาชาวบ้านกว่า 40 คน มาเจาะเลือดหาสารไซยาไนด์, สารหนู, แมงกานีส ฯลฯ แล้ว แต่ชาวบ้านกลับไม่ยอมรับผลตรวจ โดยอ้างว่ามีการบิดเบือน
ซึ่งในเรื่องนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข ได้รับหนังสือร้องเรียนและได้ชี้แจงกับสื่อมวลชนว่า ได้สั่งให้ อสม.และ สาธารณสุข รวมถึงขอให้ผู้ว่าฯพิจิตร ไปแจ้งกับชาวบ้านทุกคน ใครที่คิดว่าได้รับผลกระทบ ก็มาพบกัน และได้ตรวจเลือด เพื่อดูผลว่ามีโลหะหนัก หรือ สารพิษ จริงอย่างคำร้องเรียนหรือไม่ ซึ่งถ้าพบจริงก็จะได้รักษาให้และน่าจะเป็นที่พอใจแก่ผู้ร้องเรียน
ส่วนคำครหาที่ว่า มีการบิดเบือนผลการตรวจนั้น รมว.สาธารณสุข ไม่เชื่อว่า มีการทำหรือเป็นไปได้ เพราะวิธีการตรวจเลือดดังกล่าว สสจ.และ รพ.พิจิตร เป็นผู้เจาะเลือด แต่ส่งไปยังห้องแล็บของ ม.มหิดล ซึ่งผลที่ได้ต้องส่งไปยังศาลปกครองด้วย จึงมั่นใจว่า ไม่มีใครกล้าเสี่ยงติดคุกกระทำอย่างที่ผู้ร้องเรียนอ้าง